ในเรื่องการทำบัญชี ธุรกิจองค์กร สิ่งที่สำคัญแทบเหนือสิ่งอื่นใดนั้นคือเรื่องของ “ภาษี” ในการใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องยนต์ ฯลฯ สิ่งที่เราจ่ายไปทุกอย่างมีการบวกเพิ่มของภาษีหมด บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเนื้อหาในเรื่องของภาษีกัน
ความหมายของภาษีคืออะไร
ภาษี(Tax) คือ เงินตราหรือทรัพย์ที่ประชาชนต้องนำส่งให้กับรัฐหรือสถาบันที่มีหน้าที่เทียบเท่ากับรัฐทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำเงินตราหรือทรัพย์ที่เก็บได้จากประชาชนมาใช้ในการบำรุงผลักดันและสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งภาษีเหล่านี้จะถูกนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในระบบราชการ สาธารณูปโภคทั้งหมดในประเทศชาติเพราะเป็นรายได้หลักจากรัฐที่จะนำมาพัฒนาให้ประชาชนอยู่กันในประเทศอย่างภาสุข
ในความหมายของภาษีเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1. ภาษีทางตรง คือ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงไม่สามารถผลักภาระไปให้กับบุคคลอื่นอาทิ ภาษีเงินได้บุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น
2. ภาษีทางอ้อม คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแต่ไม่ต้องรับภาระ สามารถที่จะผลักภาระภาษีนี้ไปให้กับบุคคลอื่น ซึ่งเรามักจะเรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น
ประเภทรายได้ที่สำคัญของรัฐบาลแยกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ
1. กรมสรรพากร
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
- อากรแสตมป์
- ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
- ภาษีอากรอื่นๆและรายได้อื่น
2. กรมสรรพสามิต
- ภาษียาสูบ
- ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
- ภาษีสุราและค่าผลประโยชน์
- ภาษีเบียร์
- ภาษีรถยนต์
- ภาษีรายได้อื่นๆ เช่น ภาษีไฟ ภาษีแก้ว เครื่องหอมเครื่องสำอาง เป็นต้น
3. กรมศุลกากร
- อากรขาเข้า
- อากรขาออก
ประวัติในการจัดเก็บภาษี
ศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในยุคสมัยสุโขทัย คาดว่าการจัดเก็บภาษีอากรเป็นวิวัฒนาการของการก่อสร้างราชอาณาจักรไทยในยุคแรกๆ ซึ่งสมัยนั้นต้องมีการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการรบแต่ละครั้งเมื่อชนะก็จะต้องเอาทรัพย์สินผู้คนและให้ประเทศผู้พ่ายแพ้ส่งเครื่องบรรณาการมอบให้ ลักษณะดังกล่าวนี้คือนำรายได้นอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นรูปแบบการจัดเก็บภาษีประเภทหนึ่ง ต่อทาก็มีการพัฒนาเป็นเงินตราใช้แลกเปลี่ยนในราชาอาณาจักร
ที่มา : หนังสือที่ระลึกในการเปิดอาคารกรมสรรพากร
โครงสร้างของภาษีอากร
ในกฎหมายภาษีอากร แบ่งโครงสร้างได้ 6 ข้อหลัก
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร แบ่งได้เป็น บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
2. ฐานภาษีอากร คือ มูลเหตุที่ต้องเสียภาษี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับกฎหมายที่กำหนดไว้ เช่น
2.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฐานภาษี คือเงินได้สุทธิ
2.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษี คือ มูลค่าการใช้จ่าย
3. อัตราภาษีอากร คือ ร้อยละที่จัดเก็บภาษี แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
3.1 ภาษีแบบบคงที่ คือ ฐานภาษีเปลี่ยนแต่อัตราภาษีคงที่
– ภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราร้อยละ 20 ของฐานกำไรสุทธิ (ไม่ใช่อัตราลด)
– ภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราร้อยละ 7 ของมูลค่าการบริโภค
3.2 อัตราภาษีแบบก้าวหน้า เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฐานภาษีเงินได้สุทธิ (ตาราง)
เงินได้สุทธิตั้งแต่ (บาท) | เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุด | อัตราภาษีร้อยละ | ภาษีในแต่ละขั้นเงินได้ | ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น |
---|---|---|---|---|
0-150,000 | 150,000 | 5 | ยกเว้น | 0 |
150,001-300,000 | 150,000 | 5 | 7,500 | 7,500 |
300,001-500,000 | 200,000 | 10 | 20,000 | 27,500 |
500,001-750,000 | 250,000 | 15 | 37,500 | 65,000 |
750,001-1,000,000 | 250,000 | 20 | 50,000 | 115,000 |
1,000,001-2,000,000 | 1,000,000 | 25 | 250,000 | 365,000 |
2,000,001-4,000,000 | 2,000,000 | 30 | 600,000 | 965,000 |
2,000,001-4,000,000 | 35 |
3.3 อัตราภาษีแบบถดถอย คือ ฐานภาษีเพิ่มขั้นอัตราลดลง เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ซึ่งจัดเก็บภาษีที่ดิน อัตราภาษีลักษณะนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะไม่สอดคล้องกับความเป็นธรรมทางภาษี
ตัวอย่าง
ช่วงเงินได้สุทธิ(บาท) | อัตราภาษี(ร้อยละ) |
1-50000 50001-200000 200001-500000 ฯลฯ | 20 10 5 ฯลฯ |
4. การประเมินจัดเก็บภาษีอากร แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
- ประเมินตนเอง ซึ่งต้องประเมินตนเองและยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี
- ประเมินล่วงหน้า เรียกว่า ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
5. การอุทธรณ์ภาษีอากร กรณีมีข้อพิพาทระหว่างผู้เสียภาษีและผู้จัดเก็บภาษี สามารถใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ภาษีเพื่อขอพิจารณาใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
6. เบี้ยปรับ เงินเพิ่มและโทษ ผู้ที่ไม่ชำระภาษีกับสรรพากร ชำระไม่ครบ ไม่ตรงเวลา ตามกฎหมายระบุต้องชำระเบี้ยปรับ หรือรับโทษตามกฎหมายที่กำหนดไว้
ประโยชน์ของภาษี
เมื่อประชาชนจ่ายภาษีให้ภาครัฐบาล เงินภาษีเหล่านี้จะถูกใช้ในการพัฒนาประเทศ เพราะรัฐเองก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหลักเพื่อประชาชน
- สร้างความปลอดภัยให้กับภาคประชาชน
- อำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน โรงพยาบาล ฯลฯ
- สวัสดิการค่าเล่าเรียน
- สร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
- ผลักดันส่งเสริมนวัตกรรมใหม่
บทสรุป
เรื่องของภาษีเป็นสิ่งสำคัญมากไม่ว่ารัฐหรือประชาชนเพราะภาษีที่เราร่วมกันช่วยจ่ายให้กับรัฐสุดท้ายก็จะส่งผลย้อนกลับมาที่ตัวเราเอง ญาติผู้ใหญ่ หรือลูกหลานของเรา ถ้าประชาชนทุกๆคนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ก็จะสามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความมั่งคั่งอันสูงสุด📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™