ปีนี้คุณยื่นภาษีแล้วหรือยัง บุคคลธรรมดาหรือจดทะเบียนนิติบุคคล ที่มีรายได้เข้ามาจะต้องขอยื่นภาษีกับทางสรรพากรตามกฎหมาย ซึ่ง “การยื่นภาษี” นั้นไม่ใช่ทุกคนที่ยื่นแล้วจะได้เสียภาษีเลย หากมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็ไม่ได้เสียแถมยังมีโอกาสได้เงินคืนอีกด้วย เพราะนอกจากเสียแล้วเรายังทำเรื่องขอคืนภาษีได้อีกด้วยนะ หากคุณมีรายได้แต่ไม่ยื่นภาษีเลย ถ้ารายได้เยอะหากโดนภาษีย้อนหลังจะเป็นความวุ่นระดับหนึ่งเลยทีเดียว ฉะนั้นมาทำความเข้าใจเรื่องภาษีและทำให้ถูกต้องตามกฎหมายกันดีกว่า
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร
การเสียภาษีนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคนจริง ๆ ต่อให้มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีแต่ก็จะต้องยื่นภาษีอยู่ดี การยื่นภาษีนั้นเป็นการแสดงรายได้ของเราที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาผ่านมาในปีภาษีและจะยื่นภาษีกันเพียงปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมกราคาตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของทุกปีเลย และปัจจุบันสามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ถึง 8 เมษายน ของทุกปีแล้ว แต่ว่าบางกรณีก็ต้องยื่นภาษีครึ่งปีและกลางปีก็มี
การยื่นภาษีเงินได้ประจำปี
การยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปีคืออะไร ?
จะแตกต่างจากการยื่นปีละครั้ง สำหรับใครที่จะต้องยื่นภาษีครึ่งปีจะมีช่วงครึ่งปีแรกที่จะต้องยื่น โดยการยื่นภาษีครึ่งปีนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีรายได้ประเภทที่ 5 (ค่าเช่า) ประเภทที่ 6 (รายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ) ประเภทที่ 7 (ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ) และประเภทที่ 8 (เงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถจัดให้เข้ากับประเภทที่ 1 – 7 ได้) ซึ่งทั้งหมดรวมกันแล้วเกิน 60,000 บาทเท่านั้นถึงจะยื่นภาษีกลางปี
ซึ่งเงินได้ทั้งหมดในครึ่งปีแรกนั้นจะคิดตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน แล้วก็ให้ยื่นภาษีครึ่งปีในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายนในปีเดียวกันเลย ซึ่งก็สามารถมีค่าลดหย่อนภาษีได้ปกติเลย หากคิดว่ารายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแน่ ๆ ก็หาทำอะไรที่เอามาลดหย่อนได้ก็ทำให้เราเสียภาษีน้อยลง แต่พอยื่นภาษีครึ่งปีไปแล้วพอถึงท้ายปีก็ยังคงต้องมีการยื่นภาษีประจำปีอยู่เหมือนเดิม โดยจะต้องสรุปเงินได้ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี ไม่ใช่เฉพาะครึ่งปีหลัง ก็เอาง่าย ๆ คือยื่น 2 ครั้งนั่นเอง
ทำอย่างไรให้เสียภาษีน้อยลง ?
การยื่นภาษีนั้นทุกคนจะต้องทำ ส่วนใครจะได้เสียไหมนั้นก็ขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละคนด้วย สำหรับคนที่วางแผนภาษีแล้วเห็นว่ายังไงก็ต้องได้เสียแน่ ๆ จะทำอย่างไรให้เสียน้อยลงก็จะต้องหาทางลดหย่อนภาษีจากสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมาตรการในการลดหย่อนในแต่ละปีมีอะไรบ้างก็หาดูได้ทั่วไปเลย เช่น การบริจาค การกู้ซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย การบริจาคให้พรรคการมอง การซื้อกองทุนรวม RMF การเสียประกันสังคม การซื้อประกันบางตัวเป็นต้น นอกจากนั้นเราอาจจะได้เงินคืนอีกด้วย หากมีการขอคืนเงินภาษี
การขอคืนเงินภาษี
หลายคนก็คงจะวิ่งวุ่นไม่เบาสำหรับเรื่องของการยื่นภาษีแต่ก็อย่าลืมการขอเงินคืนภาษีด้วย หากเป็นเงินที่เราถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไป ซึ่งในการทำงานต่าง ๆ บางงานจะมีการเสียภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วเรียบร้อย ซึ่งเงินส่วนนี้เราสามารถขอคืนได้ แล้วจะทำอย่างไรให้ได้เงินคืน จะต้องทำการยื่นเรื่องให้ถูกขั้นตอนด้วย ซึ่งเราจะต้องเตรียมให้พร้อมทุกอย่างตามขั้นตอน
ขั้นตอนการขอเงินคืนภาษี
1. การเตรียมเอกสารสำหรับขอเงินคืน จะต้องมีเอกสารดังนี้
- หนังสือรับรองเงินเดือนและการหักภาษีหรือใบทวิ 50 ที่บริษัทออกให้
- เอกสารลดหย่อนต่าง ๆ ที่คุณมี เช่น ประกันชีวิต เอกสารรับรองบุตร กองทุนรวม ฯลฯ
2. ทำการยื่นภาษีตามช่องทางที่สะดวก เลือกได้ตามดังนี้
- การยื่นภาษีด้วยตนเอง ที่กรมสรรพากร โดยเอาเอกสารต่าง ๆ ที่จะแสดงรายได้และเอกสารการลดหย่อน เอกสารการขอเงินคืนภาษีไปด้วย
- ยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งยื่นได้ในเว็บไซต์ https://epit.rd.go.th/publish/index.php และดาวโหลดแบบฟอร์มเอกสาร
- ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชั่นที่ให้บริการในการยื่นภาษี
หลังจากการยื่นภาษีและขอเงินคืนภาษีแล้ว เราก็จะต้องรอให้เจ้าหน้าที่ทำตามขั้นตอนเพื่อคืนเงินให้กับเรา ซึ่งทางกรรมสรรพากรจะตรวจสอบและอนุมัติเงินคืนภาษีให้และคืนให้ตามช่องทางที่เราเลือก ว่าจะรับเงินคืนช่องทางไหน หากทางสรรพากรจ่ายคืนเงินให้ช้าเรามีสุทธิได้รับเงินคืนภาษีพร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 1% ต่อเดือนจนถึงวันที่ลงในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงิน โดยจะมีการคำนวณดอกเบี้ยในเดือนที่ 4 เป็นต้นไป
ช่องทางในการรับเงินคืนภาษีมีอะไรบ้าง ?
หมดเวลายื่นภาษีแล้วยื่นขอเงินคืนภาษีได้ไหม ?
หากไม่ยื่นภาษีจะได้ไหม ?
ยังคงต้องยืนยันอีกครั้งว่าการยื่นภาษีและการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคน แต่ถ้าหากไม่ยื่นภาษีก็ได้ หากคุณอยู่ในเงื่อนไขเหล่านี้
- มีรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียวตลอดปีได้ไม่เกิน 120,000 บาท เฉลี่ยตกเดือนละ 10,000 บาท
- มีรายได้ทางอื่นตลอดปีไม่ถึง 60,000 บาท หรือเดือนละ 5,000 บาท
- สมรสแล้วตามกฎหมายแต่รายได้รวมกัน 2 คนตลอดปีไม่เกิน 220,000 บาทหรือเดือนละ 18,333.33 บาท
- สมรสตามกฎหมายแล้วแต่รายได้รวมกันทั้งปีไม่เกิน 120,000 หรือตกเดือนละ 10,000 บาท
- มีรายได้จากดอกเบี้ยธนาคาร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยพันธบัตร ส่วนต่าง discount bond, มีกำไรจากการขายตราสารหนี้ เงินปันผลของบริษัทแล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายเลย
- รายได้จากเงินปันผลจากกองทุนรวมแล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย
- รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดกหรือมีคนให้มา แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้าย
- รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นที่ไม่ได้มุ่งหากำไร แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้าย
บทสรุป
ในแต่ละปีอย่าลืมทำการยื่นภาษีให้เรียบร้อย หากมีเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่ายจากการทำงานต่าง ๆ อย่าลืมที่จะทำเรื่องขอเงินคืนภาษีไปพร้อมกันเลย และสิ่งที่สำคัญคือตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีจะเป็นการแบ่งเบาภาระภาษีให้เราได้ไม่มากก็น้อย หากไม่ต้องการให้การยื่นภาษีของคุณแต่ละครั้งเกิดปัญหาการวางแผนภาษีอยู่เสมอจะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น และวิธีการวางแผนภาษีนั้นทุกคนสามารถทำเองได้หรือจะหาผู้ช่วยวางแผนก็ตามสะดวกเลย📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™