ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนบริษัทก็คงจะเคยได้ยินหรืออาจจะเคยใช้ “อากรแสตมป์” มาบ้างแล้ว แต่ก็เชื่อว่าหลายคนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจว่ามีเอาไว้ใช้อย่างไรบ้าง เพื่ออะไรบ้าง ทำไมจึงต้องไปขอกับทางสรรพากรด้วยและอากรแสตมป์ไม่ได้มีไว้ใช้แค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น สามารถทำอะไรได้ตั้งเยอะ หน่วยงานต่าง ๆ จะมีการใช้อยู่เป็นประจำ เพราะว่าเอกสารบางอย่างหากไม่มีอากรแสตมป์จะถือว่าใช้ไม่ได้ บทความนี้ชวนทุกคนมาหาคำตอบกันว่าคืออะไรใช้อย่างไรบ้าง
ทำความรู้จักอากรแสตมป์คืออะไร ?
ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่าเอกสารอะไรก็ตามที่มีการใช้อากรแสตมป์นั้นจะใช้เป็นหลักฐานในนั้นศาลได้ทุกอย่าง ซึ่งจะมีเอกสารอะไรบ้างนั้นเดี่ยวค่อยไปทำความเข้าใจในหัวข้อถัดไป สำหรับอากรแสตมป์หรือตราสารกับการจ้างนั้นจะเป็นภาษีประเภทหนึ่งนั่นเองซึ่งตามประมวลรัษฎากรแล้วจัดเก็บในรูปแบบของดวงแสตมป์ ซึ่งการใช้งานคือจะใช้ในการปิดบนเอกสารที่ใช้ในราชการ ปิดบนหนังสือสัญญาต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดเก็บคือกรมสรรพากร นั่นเอง
เอกสารอะไรบ้างที่จะต้องใช้อากรแสตมป์ปิดบนเอกสารนั้น
ในการใช้อากรแสตมป์นั้นก็จะมีคนที่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนที่ทางกรมสรรพกรกำหนด เอกสารบางชนิดอาจมีค่าอากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายมากน้อยต่างกัน นอกจากนั้นก็จะต้องมีคนที่ต้องเสียอากรและก็ยังมีผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ด้วย บางกรณีก็เป็นคนเดียวกันและบางกรณีก็ต้องคนละคนตามแต่ละเอกสาร
เอกสารที่ใช้ในราชการนั้นปกติก็ต้องใช้อากรแสตมป์อยู่แล้วรวมถึงหนังสือสัญญาต่างๆ นานาด้วยเช่นกัน ในส่วนของเอกสารทั่วไปหากไม่มีการปิดอากรแสตมป์กรณีที่จะนำไปใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลจะทำไม่ได้ แต่ถ้าปิดแล้วก็จะนำไปใช้เป็นหลักฐานได้ตามกฎหมายเลย โดยมีตราสารที่กฎหมายบังคับอยู่ 28 รายการ มีเอกสารเกี่ยวกับอะไรบ้างดังนี้
1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ
ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาทหรือเศษของเงิน 1,000 บาทแห่งค่าเช่าหรือเงินกินเปล่าหรือทั้งสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า หากมีไม่มีกำหนดอายุการเช่าให้ถือว่ามีกำหนด 3 ปี หากมีการกำหนดการเช่าหรือครบกำหนด 3 ปีตามหมายเหตุก่อนนี้
แต่ผู้เช่ายังครองทรัพย์สินอยู่และให้ผู้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง ทั้งมิได้ทำสัญญาใหญ่ให้ถือว่าสัญญาเช่าเดิมนั้นได้เริ่มทำกันใหม่ โดยไม่มีกำหนดอายุการเช่าและต้องเสียอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถือว่าเริ่มทำสัญญาใหญ่ แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าหากเช่าทรัพย์สินเพื่อการทำนา ทำไร ทำสวน จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
ซึ่งในเอกสารเกี่ยวกับการเช่าที่ เช่าสิ่งปลูกสร้างในข้อนี้จะมีค่าอากรแสตมป์ที่ 1 บาท ผู้ที่ต้องเสียอากรคือ “ผู้ให้เช่า” ส่วนผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์คือ “ผู้เช่า”
2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก
สำหรับเอกสารในกรณนี้จะมีค่าอากรแสตมป์ที่ 1 บาทเช่นกัน ซึ่งโอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออกคิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสารแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาทหรือเศษของ 1,000 บาท ในกรณีที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรก็จะมี
โอนพันธบัตรของรัฐบาลไทย
โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ และใบรับรองหนี้ซึ่งสหกรณ์หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นผู้ออก
สำหรับผู้ที่จะต้องเสียค่าอากรนั้นจะเป็น “ผู้โอน” และในส่วนของผู้ที่จะต้องขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้นก็คือ “ผู้รับโอน” ในการใช้เอกสารเหล่านี้จะต้องมีความละเอียดอย่างมากผิดพลาดแม้แต่จุดเดียวก็อาจเป็นปัญหาใหญ่ตามมาได้
3. เช่าซื้อทรัพย์สิน
ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาทหรือเศษของเงิน 1,000 บาทแห่งราคาทั้งหมด จะมีค่าอากรแสตมป์ที่ 1 บาท คนที่ต้องเสียค่าอากรคือ “ผู้ให้เช่า” และคนที่จะต้องขีดฆ่าคือ “ผู้เช่า” ในกรณีที่ยกเว้นไม่ต้องเสียค่าอากรนั้นจะเป็นการเช่าเพื่อทำเกษตร ทำไร่ ทำนา ทำสวน เป็นต้น
4. จ้างทำของ
ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาทหรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ หากในการทำสัญญาจ้างทำของไม่ทราบถึงจำนวนสินจ้างว่าเป็นราคาเท่าไหร่ ให้ประมาณจำนวนสินจ้างตามสมควรแล้วเสียอากรตามจำนวนสินจ้างที่ประมาณนั้น และถ้ามีการรับเงินสินค้าเป็นคราว ๆ และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียเพิ่มจนครบตามจำนวน
พอการจ้างทำของได้สิ้นสุดลงแล้วและปรากฏว่าได้เสียอากรเกินไป ให้ขอคืนตามมาตรา 122 ได้ และในการจ้างทำของนี้จะมีการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรคือสัญญาที่ทำขึ้นนอกประเทศไทยและการปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นมิได้ทำในประเทศไทย ในส่วนของค่าอากรแสตมป์ที่ต้องเสียจะอยู่ที่ 1 บาท ผู้ที่เสียคือ “ผู้รับจ้าง” ละผู้ที่ต้องขีดฆ่าอากรคือ “ผู้รับจ้าง”
5. กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาทหรือเศษของเงิน 2,000 บาทแห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี ค่าอากรตามลักษณะแห่งตราสารนี้เมื่อคำนวณแล้วถ้าเกิน 10,000 บาทให้เสีย 10,000 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียอากรก็ในกรณียืมเงินซึ่งสมาชิกกู้ยืมจากสหกรณ์หรือสหกรณ์กู้ยืมจากสหกรณ์หรือจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ.2529 เป็นต้นไป) โดยผู้ที่จะต้องเสียค่าอากรคือ “ผู้ให้กู้” ค่าอากรแสตมป์จะอยู่ที่ 1 บาท และผู้ที่จะต้องขีดฆ่าอากรคือ “ผู้กู้”
6. กรมธรรม์ประกันภัย
ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบประกันเลย แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องใช้อากรแสตมป์ทั้งนั้น
(ก) กรมธรรม์ประกันวินาศภัย ทุก 250 บาทหรือเศษของ 250 บาทแห่งเบี้ยประกันภัย
(ข) กรมธรรม์ประกันชีวิต ทุก 2,000 บาทหรือเศษของ 2,000 บาทแห่งจำนวนเงินที่เอาประกันภัย
(ประกาศคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 155) ใช้บังคับ 7 มิ.ย.2515 เป็นตันไป ข้อ 7 กำหนดให้ค่าอากรแสตมป์สำหรับตราสารกรมธรรม์ประกันชีวิต ถ้ามีจำนวนสูงกว่า 20 บาท ให้ลดเหลือ 20 บาท)
(ค) กรมธรรม์ประกันภัยอื่น ๆ ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งจำนวนเงินที่เอาประกัน
(ง) กรมธรรม์เงินปี ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาง แห่งต้นทุนเงินปีนั้น หรือถ้าไม่ปรากฏต้นทุนให้คิดทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่ง 33 1/3 เท่าของรายได้ประจำปี
(จ) กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยนำไปให้ผู้อื่นประกันอีกต่อหนึ่ง
(ฉ) บันทึกการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยเดิมยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
(ก) การประกันภัยสัตว์พาหนะซึ่งใช้ในการเกษตรกรรม
(ข) บันทึกประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัยชั่วคราวซึ่งรับรองจะออกกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริง แต่ถ้าผู้ทรงจะเรียกร้องเอาสิทธิอย่างอื่น นอกจากให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงแล้วต้องปิดแสตมป์เสียก่อน เช่นเดียวกับที่จะต้องปิดสำหรับประกันภัยตัวจริง
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป)
สำหรับค่าอากรแสตมป์นั้นจะอยู่ที่ 1 บาทเหมือนกันทุกกรมธรรม์ เป็นกึ่งอัตราซึ่งเรียกเก็บสำหรับกรมธรรม์เดิม ส่วนผู้ที่ต้องจ่ายคือ “ผู้รับประกันภัย” และผู้ที่ต้องขีดฆ่านั้นคือ “ผู้รับประกันภัย”
7. ใบมอบอำนาจ
ใบตั้งตัวแทนซึ่งมิได้กระทำในรูปลักษณะตราสารสัญญา รวมทั้งใบตั้งอนุญาโตตุลาการ
(ก)มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคน การทำการครั้งเดียว (ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท)
(ข)มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว (ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท)
(ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ (ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท)
สำหรับคนที่ต้องจ่ายค่าอากรณ์แสตมป์คือ “ผู้มอบอำนาจ” คนที่ขีดฆ่าอากรคือ “ผู้รับมอบอำนาจ”
หมายเหตุ ถ้าผู้มอบอำนาจมีหลายคน แต่มิได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องคิดตามรายตัวบุคคลผู้มอบคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่งตามมาตรา 108
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
(1) ใบแต่งทนายและใบมอบอำนาจซึ่งทนายความให้แก่เสมียนของตนเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล
(2) ใบมอบอำนาจให้โอนหรือให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวด้วยสัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์หาหนะ
(3) ใบมอบอำนาจให้รับเงินหรือสิ่งของแทน
(4) ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบและใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์
8. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
(ก)มอบฉันทะสำหรับการประชุมครั้งเดียว (ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท)
(ข)มอบฉันทะสำหรับการประชุมกว่าครั้งเดียว (ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท)
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) สำหรับผู้ที่จ่ายค่าอากรคือ “ผู้มอบฉันทะ” ผู้ที่ขีดฆ่าอากรคือ “ผู้มอบฉันทะ” เช่นกัน
9. (1) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน
(2) ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน
ค่าอากรแสตมป์ฉบับละ 3 บาท ส่วนผู้ที่ต้องจ่ายของ (1) นั้นจะเป็น “ผู้สั่งจ่าย” คนขีดฆ่าอากรคือ “ผู้สั่งจ่าย” ในส่วนของ (2) นั้นผู้ที่ต้องจ่ายและขีดฆ่าก็คือ “ผู้ออกตั๋ว” ยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ ถ้าตั๋วออกเป็นสำหรับและฉบับแรกในสำรับนั้นปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ฉบับอื่น ๆ ไม่ต้องปิดอีก แต่ต้องสลักหลังฉบับนั้น ๆ ไว้ว่า ได้เสียอากรแล้ว (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป)
10. บิลออฟเลดิง
หากออกเป็นใบรับให้ปิดแสตมป์ตามอันตราทุกฉบับ โดยค่าอากรจะอยู่ที่ 2 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์และผู้ที่ต้องขีดฆ่าคือ “ผู้กระทำตราสาร”
11. (1) ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใด ๆ
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) อัตราค่าอากรอยู่ที่ 5 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายนั้นเป็น “ผู้ทรงตราสาร” และคนที่ขีดฆ่าก็คนเดียวกันเลย
(2) พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย ทุกจำนวนเงิน 100 บาท หรือเศษของ 100 บาท
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ค่าอากรแสตมป์จะอยู่ที่ 1 บาท ค่อนข้างถูกกว่า (1) แต่ว่าคนที่ต้องจ่ายนั้นก็เป็นผู้ทรงตราสารแน่นอนว่าคนขีดฆ่าก็เหมือนกัน
ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของสหกรณ์
12. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค
ฉบับละ 3 บาท ผู้ที่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์คือผู้สั่งจ่ายและคนที่ต้องขีดฆ่าอากรก็เป็นผู้สั่งจ่ายเช่นเดิม
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป)
13. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) ค่าอากรแสตมป์ฉบับละ 5 บาท ผู้จ่ายและผู้ขีดฆ่าคือ “ผู้รับฝาก” เลย คนเดียวกัน
14. เลตเตอร์ออฟเครดิต
(ก)ออกในประเทศ (ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท) ผู้ที่ต้องจ่ายคือ ผู้ออกตราสารและผู้ที่ขีดฆ่าอากรก็เป็นคนเดียวกัน
– เงินต่ำกว่า 10,000 บาท
– เงินตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป
(ข) ออกในต่างประเทศและให้ชำระเงินในประเทศไทย (ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท) ผู้ที่ต้องจ่ายคือ ผู้ออกตราสารและผู้ที่ขีดฆ่าอากรก็เป็นผู้ออกตราสารเหมือนเดิม
คราวละ
หมายเหตุ
ตราสารเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกในประเทศไทย และให้ชำระเงินในต่างประเทศ ต้องทำสำเนาเก็บไว้ในประเทศไทย ส่วนการเสียอากรให้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เฉพาะในฉบับสำเนาดังกล่าวนั้น (ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท) ผู้ที่ต้องจ่ายคือ ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทยและผู้ที่ขีดฆ่าอากรก็เป็นคนเดียวกันเลย (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป)
15. เช็คสำหรับผู้เดินทาง
(ก)ออกในประเทศ ฉบับละ 3 บาท
(ข) ออกในต่างประเทศ แต่ให้ชำระในประเทศไทย ฉบับละ 3 บาท
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) ซึ่งผู้ที่ต้องจ่ายและขีดฆ่าอากรแสตมป์ก็คือ “ผู้ออกเช็ค ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย”
16. ใบรับของ
ซึ่งออกให้เนื่องในกิจการรับขนสินค้าโดยทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ คือตราสารซึ่งลงลายมือชื่อพนักงานหรือนายสินค้าของยานพาหนะรับขนส่ง ซึ่งออกรับของดังระบุไว้ในใบรับนั้น เมื่อไม่ได้ออกบิลออฟเลดิง ฉบับละ 1 บาท ผู้ต้องจ่ายคือ ผู้ออกใบรับส่วนผู้ที่ต้องขีดฆ่าก็จะเป็นผู้ออกใบรับเหมือนเดิม
หมายเหตุ ถ้าออกเป็นสำรับให้ปิดแสตมป์ตามอัตราทุกฉบับ (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป)
17. จำนำ
จำนวนหนี้ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท และถ้าการจำนำมิได้จำกัดจำนวนหนี้ไว้ ซึ่งอัตราค่าอากรนั้นจะอยู่ที่ 1 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “ผู้รับจำนำ” ส่วนผู้ที่ต้องขีดฆ่าก็คือ “ผู้รับจำนำ” เหมือนเดิม
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
(ก) ตั๋วจำนำของโรงรับจำนำที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
(ข) จำนำอันเกี่ยวกับกู้ยืมซึ่งได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วตามข้อ 5
18. ค้ำประกัน
ก)สำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ (ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท)
(ข) สำหรับจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท (ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท)
(ค) สำหรับจำนวนเงินเกิน 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท (ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท)
(ง) สำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไป (ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท)
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
(ก) ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมหรือยืมเพื่อการบริโภคหรือการเกษตรกรรม
(ข) ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืม
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) สำหรับในทุกข้อตั้งแต่ ก – ง นั้นผู้ที่ต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์คือ “ผู้ค้ำประกัน” และผู้ที่ต้องขีดฆ่าก็จะเป็น “ผู้ค้ำประกัน” เช่นเดิม
19. ใบรับของคลังสินค้า
ค่าอากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายของเอกสารใบรักของคลังสินค้าจะอยู่ที่ 1 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “นายคลังสินค้า” ผู้ที่ขีดฆ่าก็เป็น “นายคลังสินค้า” เหมือนกัน
20. คำสั่งให้ส่งมอบของ
ตราสารซึ่งบุคคลผู้ปรากฏชื่อในตราสารนั้น หรือซึ่งบุคคลผู้นั้นตราชื่อไว้ หรือผู้ทรงมีสิทธิที่จะรับมอบสินค้าอันอยู่ในอู่ หรือเมืองท่า หรือคลังสินค้าซึ่งรับเก็บหรือรับฝากโดยเรียกเก็บค่าเช่าหรือรับสินค้าอันอยู่ที่ท่าสินค้าโดยที่เจ้าของลงลายมือชื่อ
หรือมีผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนในเมื่อขายหรือโอนทรัพย์สินอันปรากฎในตราสารนั้น (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป) ค่าอากรแสตมป์อยู่ที่ 1 บาท ผู้ต้องจ่ายคือผู้ออกคำสั่ง ผู้ที่ต้องขีดฆ่าก็เป็นผู้ออกคำสั่ง
21. ตัวแทน
(ก) มอบอำนาจเฉพาะการ ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “ตัวการ” ผู้ที่ต้องขีดฆ่าอากรคือ “ตัวการ”
(ข) มอบอำนาจทั่วไป ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “ตัวการ” ผู้ที่ต้องขีดฆ่าคือ “ตัวการ”
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
การตั้งตัวแทนในกรณีสหกรณ์เป็นตัวการ (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป)
22. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
(ก) ในกรณีซึ่งพิพาทกันด้วยจำนวนเงินหรือราคาทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “อนุญาโตตุลาการ” ผู้ที่ต้องขีดฆ่าคือ “อนุญาโตตุลาการ”
(ข) ในกรณีอื่นซึ่งไม่กล่าวถึงจำนวนเงินหรือราคา ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “อนุญาโตตุลาการ” ผู้ที่ต้องขีดฆ่าคือ “อนุญาโตตุลาการ”
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป)
23. คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร
ตราสารซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับต้นฉบับ หรือต้นสัญญาและผู้กระทำตราสารได้ลงลายมือชื่อไว้ อย่างเดียวกับต้นฉบับ
(ก) ถ้าต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท ค่าอากรอยู่ที่ 1 บาท
(ข) ถ้าเกิน 5 บาท ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
สำหรับคนที่ต้องจ่ายนั้น (1) ถ้าไม่มีบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สัญญาคนที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับเป็นผู้เสีย (2) ถ้ามีบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สัญญาบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งนั้นต้องเป็นผู้เสียอากร ส่วนผู้ขีดฆ่าก็เป็นคนเดียวกันกับต้นฉบับเลย
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
ถ้าฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นสหกรณ์ (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป)
24. หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
มีค่าอากรแสตมป์ที่ 200 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “ผู้เริ่มก่อการ” สำหรับผู้ที่ขีดฆ่านั้นจะเป็น “ผู้เริ่มก่อการ” เช่นเดิม
25. ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
มีค่าอากรแสตมป์ที่ 200 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “กรรมการ” ผู้ที่ต้องขีดฆ่าอากรก็เป็น “กรรมการ” เช่นกัน
26. ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจำกัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน
มีค่าอากรแสตมป์ที่ 50 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “กรรมการ” ส่วนผู้ที่ต้องขีดฆ่าคือ “กรรมการ” เช่นกัน
27. หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน
(ก) หนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน มีค่าอากรแสตมป์ 100 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “ผู้เป็นหุ้นส่วน” ผู้ที่ต้องขีดฆ่าคือ “ผู้เป็นหุ้นส่วน” เช่นกัน
(ข) หนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วน มีค่าอากรแสตมป์ 50 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “ผู้เป็นหุ้นส่วน” ผู้ที่ต้องขีดฆ่าคือ “ผู้เป็นหุ้นส่วน” เช่นกัน
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป)
28. ใบรับ
เฉพาะตามที่ระบุต่อไปนี้
(ก) ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล
(ข) ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย
(ค) ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ ทั้งนี้เฉพาะยางพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ
มีค่าอากรแสตมป์ 100 บาท ผู้ที่ต้องจ่ายคือ “ผู้ออกใบรับ” ผู้ที่ต้องขีดฆ่าคือ “ผู้ออกใบรับ” เช่นกัน
ถ้าใบรับตาม (ก)(ข) หรือ (ค) มีจำนวนเงินตั้งแต่ 200 บาท ขึ้นไปทุก 200 บาทหรือเศษของ 200 บาท (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป)
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
ใบรับ สำหรับจำนวนเงินที่ผู้รับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ใช้บังคับ 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป)
(ยกเลิกโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ.2529 เป็นต้นไป)
(ยกเลิกโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ.2529 เป็นต้นไป)
หาซื้ออากรแสตมป์ได้ที่ไหน
แม้ว่าเราจะเรียกอากรแสตมป์ว่า “แสตมป์” แต่ว่าเราจะไปขอซื้อจากที่ทำการไปรษณีย์เขาไม่มีขายให้หรอกนะ เพราะว่ามีให้ที่เดียวคือ “กรมสรรพากร” และราคาค่าอากรแสตมป์นั้นก็ขึ้นอยู่กับเอกสารแต่ละชนิดที่เราต้องการนำอากรไปปิด และแน่นอนว่าไม่ใช่ดวงตราไปรษณียากรด้วยคนละอย่างกันเลย ใครจะส่งจดหมาย ส่งพัสดุจะใช้อากรแสตมป์แทนไม่ได้เด็ดขาด
คนที่จัดพิมพ์อากรแสตมป์ออกมาไม่ใช่กรมสรรพากร เนื่องจากทางกรมสรรพากรนั้นทำหน้าที่ในการรับผิดชอบดูแลเท่านั้น แม้ว่ามันจะเป็นภาษีแต่ผู้ที่พิมพ์นั้นคือโรงพิมพ์ธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทยต่างหาก ซึ่งคุณภาพการพิมพ์นั้นก็เหมือนกับการพิมพ์ธนบัตรเลยนั่นเอง
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรจะเที่ยวเกี่ยวกับ อส. 4 นั้น เราจะต้องติดต่อที่สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น อย่างพื้นที่ที่คู่สัญญานั้นอยู่ที่ไหนก็ต้องติดต่อกรมสรรพากรที่นั่น เพราะทางกรมสรรพากรจะให้บริการนอกพื้นที่ของคู่สัญญาไม่ได้ และเมื่อเรามีตัวสัญญาต้นฉบับ 1 ชุดแล้วก็อย่าลืมเตรียมคู่ฉบับของสัญญาไว้ด้วย 1 ชุด และทำสำเนาของสัญญาเพื่อให้เจ้าหน้าที่สรรพากรเก็บไว้อีก 1 ชุดด้วย ทั้งหมดก็จะมี 3 ชุดนั่นเอง
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ทำเพื่อจุดประสงค์ใด ?
ซึ่งเราก็ทราบกันดีว่าจะต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาทของทุกจำนวนเงิน 1,000 บาทหรือเศษของ 1,000 บาท แล้วก็มีคนจ่ายค่าอากรแสตมป์และคนที่ขีดฆ่าอากรด้วย ซึ่งเหตุผลของการขีดฆ่านั้นไม่มีอะไรซับซ้อนเลย นั่นทำอากรแสตมป์นั้นชัดเจนว่าถูกใช้ไปแล้วจะนำไปใช้ซ้ำอีกไม่ได้ อาจจะขีดแล้วเซ็นชื่อ ขีดคล่อม ลงวันที่ปิดไปบนแสตมป์ไปเลยก็ได้ หากไม่ทำแบบนี้ก็เสี่ยงจะโดนนำกลับไปใช้ได้ ซึ่งการขีดฆ่านั้นตามกฎหมายก็บังคับว่าจะต้องทำอยู่แล้ว ส่วนใครที่ขีดฆ่าอากรได้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละเอกสาร แต่ว่านอกจากจะติดอากรแสตมป์แล้วเราอาจจะเลือกชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ก็ทำได้ แต่ก็ต้องดูเงื่อนไขด้วยว่าแบบไหนถึงจะเสียเป็นตัวเงินได้นะ
บทสรุป
ทั้งหมดที่กล่าวมา 28 ข้อนั้นก็บ่งบอกถึงเอกสารทั้ง 28 รายการ ที่จะต้องใช้อากรแสตมป์ ซึ่งจะต้องขอซื้อกับทางกรมสรรพากร ส่วนค่าอากรจะเท่าไหร่นั้นก็ตามที่ระบุไว้ตามข้างต้นเลย ซึ่งราคาไม่ได้สูงอะไร เอกสารไหนที่มีอากรแสตมป์ยังใช้เป็นหลักฐานแสดงในชั้นศาลได้ด้วยแม้จะเป็นเอกสารทั่วไปที่ไม่ใช่เอกสารทางราชการก็ตาม📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™