หากพูดถึงเรื่องของการนับ เชื่อว่าหลายคนคงจะคิดถึงการนับจำนวนแบบ 1 2 3 เป็นตัวเลขเรียงกันไปเป็นลำดับแบบนี้จริงไหม แต่ว่าถ้าในทางคณิตศาสตร์นั้น “หลักการนับ”ยังมีอีก ยังมีการนับเหตุการณ์ด้วย ซึ่งมันก็จะเป็นเกี่ยวกับพวกหลักการบวก การคูณ ความน่าจะเป็น จะออกมาเป็นแบบไหนบทความนี้อยากจะชวนทุกคนมาเรียนรู้และหาคำตอบไปพร้อมกัน ไม่จำเป็นจะต้องไปนั่งเรียนใหม่ก็รู้เรื่องได้ เพียงแต่จะต้องค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปทีละน้อยเท่านั้นเอง มาดูกันเลยว่าหลักการนับแต่ละแบบนั้นมีหลักการอะไรบ้าง
หลักการนับเบื้องต้นมีแบบไหนบ้างง่ายหรือยากแค่ไหน
ซึ่งในหลักการนับเบื้องต้นนี้ก็จะมาว่าด้วยเรื่องของหลักการบวกและหลักการคูณ การเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ และทฤษฎีบททวินาม เป็นต้น แต่ละอย่างคืออะไรบ้างมีดังนี้
- หลักการนับด้วยหลักการบวก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้การนับนั้นรวดเร็วขึ้น ปกติเวลาเราจะนับอะไร นับจำนวนก็จะค่อย ๆ นับไปทีละลำดับไป จบครบ แต่ถ้าหากจำนวนมันเยอะบางทีก็อาจจะยากและกินเวลาลองมาใช้หลักการนับด้วยการบวกดู โดยวิธีคือก็ง่าย ๆ เลย คือจะเอาผลรวมของจำนวนทุกอย่างออกมาเป็นสูตรนี้ n1 + n2+… = nn แบบนี้ไปเรื่อย ๆ นั่นเอง เอาแบบให้เห็นภาพของหลักการนับเบื้องต้นแบบนี้คือ มีขนมปัง 2 ชิ้น ขนมเค้ก 3 ชิ้น และ ขนมเยลลี่ 1 ชิ้น คำถามคือ มีขนมให้เลือกกินทั้งหมดกี่ชิ้น ซึ่งวิธีการนับก็จะเป็น ขนมปัง 2 เค้ก 3 เยลลี่ 1 เป็น 2 + 3 + 1 = 6 ชิ้น นั่นเอง มันก็ง่าย ๆ แบบนี้เลย
- หลักการนับด้วยหลักการคูณ สำหรับวิธีนี้ก็อาจจะยากขึ้นมาเล็กน้อย หากการทำงานนี้มันค่อนข้างจะหลายขั้นตอนหน่อย การทำงานด้วยหลักการนี้คือ ผลคูณของจำนวนวิธีการทำงานทุกขั้นตอน สูตรก็แบบนี้ n1 x n2 x … x nn แบบนี้ไปเรื่อย ๆ เลย ตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น มีขนมปัง 2 ชิ้น ขนมเค้ก 3 ชิ้น ขนมเยลลี่ 1 ชิ้น หากวันนี้เลือกกิน 2 ชิ้น โดยถ้ากินชิ้นแรกไปแล้ว จะกินชิ้นที่ 2 ต่อ จะมีวิธีในการกินขนมวันนี้กี่วิธี อย่างแรกเลยขนมทั้งหมดมี 6 ชิ้น วิธีแรกจะเลือกกินชิ้นไหนก่อนก็ได้ มี 6 ชิ้น ส่วนต่อไปชิ้นที่ 2 จะเริ่มจากชิ้นไหนก็ได้ จะเหลือ 5 ชิ้น วิธีการหาก็เอา 6 x 5 = 30 วิธี เป็นต้น
- หลักการนับแบบการเรียงสับเปลี่ยน สำหรับวิธีการนี้หลายคนอาจจะรู้สึกไม่คุ้นชินและดูไม่ง่ายสักเท่าไหร่ เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันตอนนี้เลย มันก็เป็นหลักการนับเบื้องต้นอย่างหนึ่งแค่มันไม่ค่อยได้ถูกใช้ในชีวิตประจำวันเราเท่านั้นเอง หลายคนจะถนัดใช้วิธีการบวกกับคูณมากกว่า มาดูกันว่าการเรียงแบบสับเปลี่ยนนี้มีวิธีการอย่างไร ซึ่งมันก็จะต่อมาจากการคูณ
หลักการนับแบบนี้เริ่มจาก เรามีของอยู่ n อย่าง ที่ต่างกันหมดเลย แล้วเราอยากจะเอาของ r ชิ้น จากของที่มีอยู่นั้นมาเรียงลำดับ วิธีการก็จะเป็นแบบนี้ ขั้นที่ 1 เลือกของชิ้นที่ 1 มาวางเลยจะเป็นอันไหนก็ได้จากจำนวน n ชิ้นที่เรามี ต่อไปตอนที่ 2 ก็เลือกชิ้นที่ 2 มาวาง ก็เลือกมาจากชิ้นที่เหลือจากการวางชิ้นที่ 1 มี n – 1 ไปถึงขั้นตอนที่ r เลือกชิ้นที่ r ของชิ้นที่เหลือจากการวางชิ้นที่ r – 1 มี n – r + 1 ชิ้น แบบนี้ จริง ๆ มันก็อาจจะดูไม่ง่ายเลยนะ ก็จะเป็น =nx(n-1)x(n-2)x…x(n-r+1) หรือจะเขียนว่า n! ก็ได้ ซึ่งมันก็คือ n นั่นแหละ เรียกสิ่งนี้ว่าแฟกทอเรียล
- หลักการนับแบบการจัดหมู่ แบบนี้ก็ค่อนข้างง่ายคือเป็นการจัดหมู่ หรือจัดเป็นกลุ่ม ๆ ของสิ่งต่าง ๆ เลย เป็นการไม่ได้คำนึงว่าจะลำดับอะไรถึงอะไร แต่จะเป็นการจัดหมู่เลย เป็นอีกหนึ่งหลักการนับเบื้องต้นที่ง่าย ๆ เลย สำหรับสูตรของการจัดหมู่สิ่งของที่ต่างกันทั้งหมดนั้นก็จะเป็น สิ่งของ n ชิ้น ที่ไม่เหมือนกันเลย และต้องการจะเอามา r ชิ้น เราก็จะมีจำนวนวิธีในการจัดหมู่แบบนี้
C n,r = (n r) = n!
(n-r)!r!
สำหรับคนที่ไม่ได้มาทางสายคณิตศาสตร์ก็อาจจะไม่ชินเลยกับหลักการนับอะไรแบบนี้ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นว่ามันทำงานอย่างไร ลองดูตัวอย่างนี้ มีไอติม 6 รส แล้วเราอยากจะสั่ง 2 รส เราจะสั่งได้ทั้งหมด 4 วิธี วิธีในการหาคำตอบจากหลักการนับแบบนี้คือ (62) = 6!/(6-2)!2! = 15 วิธี นั่นเอง
- หลักการนับแบบทฤษฎีบททวินาม ก็อยากจะบอกว่ามันมีอะไรที่น่าทึ่งขนาดนี้เลยหรือสำหรับการนับ ไม่ได้มีแค่ หนึ่ง สอง สาม สี่ ไปเรื่อย ๆ ยิ่งการนับแบบทฤษฎีบททวินามนี่แทบจะร้องเลยว่า มันคืออะไร? แต่ไหน ๆ ก็พูดถึงแล้วก็มาดูกันหน่อยว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง สูตรจะเป็น
(X + Y)n = (n 0)Xn + (n1)xn-1y+…+(n n)yn
ซึ่งจะเป็นการกระจายของจำนวน x บวก Y ยกกำลัง n เมื่อ x และ Y เป็นจำนวนจริง และ n เป็นจำนวนเต็ม + ก็เอา X หรือ Y ของสูตรใน()แรกนั้น คูณกับ X หรือ Y ของ () ต่อไป จนถึง () ที่ n ก็จะได้ 1 พจน์ ก็ทำไปเรื่อย ๆ เลยจนมันครบนั่นเอง
สำหรับหลักการนับเบื้องต้นนี้ใครอยากจะนับแบบไหน ถนัดการใช้แบบใดก็ตามสะดวกกันเลย ส่วนใครที่เป็นสายสอน สายคณิตศาสตร์มันก็อาจจะจำเป็นต้องรู้ทั้งหมดทุกหลักการนะ จะได้ใช้ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันอีกเรื่องหนึ่ง เอาเป็นความรู้เอาไว้ก่อน
หลักการนับแบบใช้แผนภาพต้นไม้
อีกอย่างหนึ่งที่หลายคนให้ความสนใจคือแผนภาพต้นไม้หรือจะเรียกว่าเป็นไดอะแกรมต้นไม้ ต้นไม้วิเคราะห์ จะเรียกอะไรก็ตามสะดวกเลย มันอันเดียวกัน เป็นเครื่องมือหรือหลักการอย่างหนึ่งในการนับทางคณิตศาสตร์ ที่เรียกว่าต้นไม้เพราะว่ามันจะมีเป็นแตกกิ่งก้านสาขาออกไป ซึ่งความน่าสนใจของแผนภาพต้นไม้มีหลายอย่างเลย แต่แน่นอนว่าข้อเสียก็มีเหมือนกัน มาดูก่อนว่าข้อดีมีอะไรบ้าง
- เป็นหลักการง่าย ๆ ในการที่จะเข้าใจแผนภาพ เพราะอธิบายค่อนข้างละเอียดเลย
- เวลาจะเตรียมข้อมูลประมวลผลอะไรสักอย่างใช้แผนภาพต้นไม้ จะทำงานง่ายกว่า
- เวลาจะแก้ไขข้อมูลอะไรในแผนภาพต้นไม้ก็ง่าย ปรับขนาดข้อมูลได้สะดวก
สำหรับข้อจำกัดมันก็มีนะสำหรับหลักการนับแบบนี้คือมันอาจไม่เหมาะสำหรับการใช้ทำค่าบางอย่าง บางกรณีมันก็ดูซับซ้อนไป ไปเลือกวิธีอื่น ๆ ที่มันใช้งานง่ายกว่า
หลักการนับเริ่มเรียนได้ตั้งแต่ช่วงไหน
ในการเรียนการสอนนั้นเรื่องของหลักการนับเบื้องต้นก็มีกันตั้งแต่ระดับมัธยมปลาย และในบางโรงเรียนอาจจะมีหลักสูตรที่สอนเร็วกว่านี้ หรือใครที่สนใจด้านคณิตศาสตร์โดยเฉพาะเลย หาเรียนกับคอร์สสอนพิเศษต่าง ๆ ได้ เพราะจะสอนเจาะจงแบบเข้าใจเฉพาะเรื่องไปเลย เวลาไม่เข้าใจอะไรตรงไหนเราสามารถสอบถามกับครูผู้สอนได้ทันที ในทุกโรงเรียนที่มีสายวิทย์คณิตก็ย่อมมีการสอนหลักการนับนี้อยู่แล้ว เว้นแต่ถ้าเป็นสายภาษาก็จะไม่เจอเรื่องเหล่านี้เลย แต่ถ้ามีความสนใจพิเศษเฉพาะก็หาความรู้เพิ่มเติมกันได้ เดี๋ยวข้อในโลกอินเตอร์เน็ตมันกว้างข้อมูลมีเพียบ
บทสรุป
มาถึงตรงนี้แล้วสรุปให้สักนิดหลักการนับเบื้องต้นแบบง่าย ๆ เลยจะมีเป็น การบวก การคูณ การจัดหมู่ การเรียงสับเปลี่ยน การแบบทฤษฎีบททวินาม และแผนภาพต้นไม้ ซึ่งแต่ละหลักการจะมีวิธีการในการใช้งานในแบบของตัวเอง ความง่าย ความยากก็อยู่ที่ว่าใครเข้าใจแค่ไหน ส่วนตัวก็คิดว่าแบบวิธีการบวกง่ายมากที่สุดแล้ว รองลงมาก็คงเป็นการคูณ การจัดหมู่ แล้วคุณคิดว่าหลักการนับแบบไหนที่ง่ายที่สุด? ก็ลองตอบตัวเองดู จริง ๆ เรื่องของคณิตศาสตร์ถ้าเราเอาใจใส่สักหน่อยมันก็น่าสนุกไม่น้อยเลย แต่เราก็มักจะมองมันเป็นเรื่องยาก จริง ๆ มันก็แค่ต้องจำสูตรบ้างเล็กน้อย อาศัยความเข้าใจนิดหน่อยเท่านั้นเองเราก็อยู่กับคณิตศาสตร์ได้สนุกมากขึ้นแล้ว📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนหจก.ดีที่สุด™