ภาษีร้านขายยาที่ต้องรู้

ภาษีร้านขายยา

สังเกตไหมว่าร้านขายยาในประเทศเราเยอะมาก ๆ แต่คนที่จะเปิดร้านขายยาได้นั้นต้องเป็นเภสัชกร ไม่ใช่ว่าใครก็เปิดได้ หรือถ้าไม่ได้เป็นก็ต้องจ้างเภสัชมาจ่ายยา แต่ส่วนมากเภสัชกรเป็นคนเปิดเอง เป็นเจ้าของกิจการมันย่อมดีกว่าการเป็นพนักงานกินเงินเดือน และคนไทยเองก็ซื้อยากินเองกันสะดวกมากด้วย เรื่องของภาษีร้านขายยาก็เป็นสิ่งจำเป็นมากที่จะต้องรู้ หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังก้าวเข้ามาในธุรกิจนี้ เป็นธุรกิจที่ทำเงินได้ดีมาก ๆ และในทุกจังหวัดมีร้านขายยา จะเปิดที่ไหนหาทำเล หางบ และตั้งได้เลย เรื่องการจดทะเบียนการขออนุญาตเปิดก็ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายและภาษีอะไรที่เกี่ยวข้อง ภาษีไหนที่ต้องเสียก็ต้องทำให้ถูกด้วยเรามีรู้เรื่อง“ภาษีร้านขายยา”ไปพร้อมกันได้เลย

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    ภาษีร้านขายยามีแบบไหนบ้างที่เกี่ยวข้อง

    สิ่งหนึ่งที่ทุกคนจะต้องทำเหมือนกันคือ การยื่นภาษี การเสียภาษีหากรายได้ถึงเกณฑ์ ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็จะมีการยื่นภาษีที่ต่างกันออกไป สำหรับภาษีร้านขายยาเองก็มีหลายตัวมาเกี่ยวข้องใครที่จะทำธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายยา จะต้องเรียนรู้เรื่องภาษีเอาไว้ด้วย เพราะว่าหากพลาดอาจจะโดนย้อนหลังเหนื่อยเลย มาดูกันว่ามีภาษีอะไรที่เกี่ยวข้องบ้างจะได้วางแผนได้ถูกในอนาคต

    • สำหรับบุคคลที่มีรายได้ ก็ต้องเสียภาษีเป็นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเจ้าของร้านหรือผู้ประกอบการ ก็จะต้องยื่นแบบการเสียภาษี 2 ครั้ง/ปี โดยรอบแรกนั้นเป็น ภ.ง.ด.94 ช่วงเดือนกันยายน สำหรับเงินได้ช่วงมกราคม – มิถุนายน แล้วในครั้งต่อไปก็ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ในเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ช่วงมกราคม – ธันวาตม โดยให้หักภาษีที่จ่ายไปครั้งแรกในการคำนวณรอบที่สอง นี่ก็เป็นภาษีร้านขายยาที่นับว่าเกี่ยวข้อง เพราะว่าเจ้าของร้านเองก็เป็นบุคคลที่มีเงินได้เข้ามาก็ต้องยื่นแบบเหมือนกัน
    • ในส่วนของนิติบุคคลก็ต้องยื่นเช่นกัน เพราะว่าเป็นภาษีร้านขายยาจะต้องมีการจดทะเบียน ทำการยื่นแบบชำระภาษีต่อสรรพากรในเขตที่ร้านยานั้นตั้งอยู่ โดยจะมีการยื่นแบบ 2 ครั้ง/ปี ในครั้งที่ 1 นั้นเป็นครึ่งรอบบัญชี ให้ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด. 51 ใน 2 เดือนนับจากวันที่ครบ 6 เดือนของรอบบัญชี แล้วในตอนสิ้นรอบระยะบัญชี ก็ยื่นตาม ภ.ง.ด.50 ใน 150 วัน โดยให้นับจากวันสุดท้ายของรอบบัญชี ก็ให้หักภาษีครึ่งรอบที่จ่ายไปเสียในตอนที่คำนวณภาษีรอบหลังนี้
    • ต่อมาเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในธุรกิจร้านยานี้ก็จะมีการเรียกเก็บจากผู้ซื้อและออกใบกำกับภาษีให้เสมอเมื่อเราจำหน่ายสินค้าหรือตัวยาที่ขายไปนั่นเอง แล้วก็ยังต้องทำรายการสินค้า และทำรายงานภาษีขาย พร้อมกับยื่นแบบให้ถูกต้อง ซึ่งจะยื่นตามแบบ ภ.พ.30 ภายใน 15 วัน

    ทั้งหมดนี้เป็นภาษีที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการทำธุรกิจร้านยา คนที่เปิดร้านแบบนี้อยู่จะต้องจ่ายหรือยื่นแบบเสมอ จะไม่สามารถเลี่ยงได้เพราะถ้าเลี่ยงปัญหาตามมาภายหลังแน่นอน สำหรับเจ้าของกิจการที่จะต้องเสียภาษีนั้นก็จะเสียเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ นั่นคือ 1.8 ล้านบาท/ปีนั่นเอง แต่ถ้าไม่ถึงก็จะได้รับการยกเว้นเหมือนปกติ ซึ่งทั้งนี้ธุรกิจเองก็มีวิธีในการลดหย่อนภาษีอาจจะเป็นค่าสึกหรอ ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะทำให้ลดหย่อนได้ เราก็จ่ายน้อยลง ซึ่งภาษีร้านขายยานั้นเจ้าของกิจการเองก็จะต้องมีความรู้ด้านนี้เหมือนกันเพื่อให้ยื่นแบบได้ถูกและจ่ายได้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้แบบที่ถูกกฎหมาย

    อยากเปิดร้านขายยามีอะไรจำเป็นจะต้องบ้าง

    มันไม่ใช่ธุรกิจที่อยู่ ๆ อยากจะเปิดก็ทำได้ในทันทีเพราะว่าร้านขายยานั้นกฎหมายจะซับซ้อนพอสมควรและสิ่งที่จะต้องมีใบอนุญาตในการจำหน่ายด้วย ยังมีอีกหลายเรื่องนอกจากภาษีร้านขายยาที่จะต้องรู้ อย่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การขออนุญาตเปิดร้านขายยาแผนปัจจุบันตามกฎกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2556 และตามประกาศกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรม สถานที่ อุปกรณ์ ที่จะมีการจัดตั้งในเขตชุมชนตามแผนปัจจุบัน ซึ่งจะต้องเป็นไปตามกฎหมายเรื่องยาในปี พ.ศ. 2557

    ในด้านของทำเลนั้นไม่ใช่อยากจะเปิดตรงไหนก็ได้ ขนาดเท่าไหร่ก็ได้มันไม่ใช่ มันละเอียดพอ ๆ กับเรื่องภาษีร้านขายยาเลย ซึ่งถ้าเอาความเหมาะสมก็ควรจะต้องเป็นแหล่งที่เป็นชุมชน ย่านการค้า ธุรกิจ หมู่บ้าน ห้าง ฯลฯ ในส่วนขนาดนั้นก็จะต้องไม่น้อยไปกว่า 8 ตารางเมตร ตามที่กฎกระทรวงได้กำหนดเอาไว้ ในส่วนของประเภทยาก็จะมีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 โดยมีดังนี้

    • อย่างแรกเลยยาสามัญประจำเป็น ซึ่งจะเป็นยาที่บุคคลทั่วไปแบบเรา ๆ หาซื้อได้ทั่วไป ได้ผ่านการตรวจสอบพิจารณาแล้วว่าปลอดภัย เสี่ยงน้อย หาซื้อได้ง่ายสำหรับประเภทนี้ แทบทุกร้านขายยามีจำหน่ายหรือกระทั่งตามร้านสะดวกซื้อบางแห่ง
    • ต่อมาเป็นยาอันตราย ซึ่งประเภทนี้จะต้องเป็นร้านขายยาเท่านั้นที่จะจำหน่ายได้และจะต้องให้เภสัชกรเป็นคนจ่ายเท่านั้น และร้านยาที่ขายจะต้องเป็นแผนปัจจุบันด้วย
    • ในชนิดสุดท้ายจะเป็นยาควบคุมพิเศษ ซึ่งจะเป็นยาที่จะต้องนำใบสั่งยาจากแพทย์เท่านั้นมาใช้กำกับในการซื้อยาแบบพิเศษนี้ เนื่องจากยาประเภทนี้อันตราย และพิษสูง หาทานโดยไม่มีคำสั่งแพทย์

    โดยปกติคนเราก็ไม่ได้มานั่งแยกประเภทยา เว้นแต่คุณจะเป็นผู้ประกอบการร้านยาเรื่องนี้จะมองข้ามไม่ได้เลย เรื่องภาษีร้านขายยาว่าสำคัญแล้ว เรื่องประเภทยา การจ่ายยาก็สำคัญไม่แพ้กัน มันยังไม่จบเท่านั้น เรื่องของใบอนุญาตในการขายยาเป็นสิ่งที่จะต้องมี

    เปิดร้านขายยาจะต้องมีใบอนุญาตที่ถูกต้อง

    แม้ว่าบทความนี้จะเป็นเรื่องภาษีร้านขายยาแต่ไหน ๆ ก็พูดมาถึงกฎหมายหลายอย่างแล้ว ก็จะพูดถึง 4 ประเภทของใบอนุญาต ซึ่งร้านขายยาจะต้องมี อยู่ที่ว่าจะเปิดแบบประเภทไหนบ้าง อย่างแรกเลยเป็นใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน และแบบที่ 2 จะเป็นใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ สำหรับแบบที่ 3 ใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะ ยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ และแบบสุดท้ายจะเป็นใบอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบัน อยู่ที่ว่าจะจดทะเบียนแบบไหน ถ้าจะเอาแบบส่วนมากที่เห็นนั้น ร้านยาส่วนมากก็จะเลือกจดทะเบียนขออนุญาตในแบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 หากคุณจะเปิดร้านก็พิจารณาให้ดีว่าแบบไหนถึงจะเหมาะที่สุดและตอบโจทย์การทำธุรกิจของคุณมากที่สุด

    สุดท้ายแล้วร้านยาจะขาดอะไรไปไม่ได้นั่นคือ เภสัชกร ซึ่งจะต้องเป็นเภสัชกรชั้น 1 ถ้าไม่มีเภสัชเสียสักคนไม่มีทางที่ร้านยานั้นจะเกิดขึ้นได้ เพราะตามกฎกระทรวงฯ ได้กำหนดเอาไว้แล้ว และยาบางชนิดที่จำหน่ายจะต้องมีลายเซ็นของเภสัชกำกับไว้เสมอถึงจะขายได้ และทุกครั้งที่ขายยาเภสัชจะต้องมีการเขียนฉลากการใช้ยาที่ถูกต้องไว้ที่บรรจุภัณฑ์ของยาทุกครั้ง เพื่อให้ผู้ซื้อไปนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง

    ภาษีร้านขายยาที่ต้องรู้เพิ่มเติมหากมีการนำเข้าสินค้าเกี่ยวกับร้านยา

    ยังมีภาษีร้านขายยาอีกอย่างที่จะมองข้ามไม่ได้เลยนั่นคือภาษีศุลกากร สำหรับข้อนี้จะได้เสียในกรณีที่มีการนำเข้า อุปกรณ์ วัสดุ เครื่องมือ หรืออื่น ๆ ที่นำเข้ามาจำหน่ายในร้านขายยา ซึ่งจะต้องมีการยื่นใบขนสินค้าให้ถูกหลัก จะยื่นออนไลน์ให้กับทางศุลกากรก็ได้ อีกภาษีคือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อให้ไม่จดทะเบียนหรือไม่ก็ตาม ยังไงก็ต้องเสียอยู่ดี ตรงส่วนนี้จะถูกเรียกที่ร้อยละ 7 จากผู้ขายนั่นเอง ซึ่งจะต้องมีการออกใบกำกับภาษีให้ทุกครั้งเพื่อใช้ในการคิดภาษีในแต่ละครั้ง หากร้านขายยาของคุณจะมีการจ้างพนักงาน จ้างลูกจ้าง ก็จะมีภาษี หัก ณ ที่จ่าย มาเกี่ยวข้องด้วย อย่าลืมทำรายงานตรงส่วนนี้ด้วย ยังไม่พอหากพื้นที่ตั้งร้านขายยานั้นเช่าทำธุรกิจ ภาษีร้านขายยาอีกอย่างคือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แต่ถ้าเป็นผู้ให้เช่าก็จะต้องเสียภาษีเงินเพราะมีรายได้จากค่าเช่าและมีค่าอากรแสตมป์ตามูลค่าสัญญาด้วย

    บทสรุป

    อยากจะเป็นผู้ประกอบการร้านยาหรือคุณเองเป็นเภสัชกรอยากจะเปิดเอง การศึกษาด้านภาษีร้านขายยาจะต้องทำก่อน รวมถึงข้อกำหนดกฎหมายอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องด้วย แล้วภาษีที่เกี่ยวข้องนั้นไม่ได้มีแค่ตัวเอง ในฐานะเจ้าของที่ได้รับเงินอาจจะเป็นเงินเดือนยังคงต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา หารายได้ต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาท แล้วยังมีภาษีอย่างอื่นที่เกี่ยวโดยตรงกับตัวร้านยาด้วย ก่อนเปิดร้าน วางแผนให้ดี ศึกษาให้ละเอียด เตรียมทุกอย่างให้ มีใบอนุญาตให้ครบ มีเภสัชพร้อมสำหรับการทำงานในกรณีที่คุณเองไม่ได้เป็นเภสัชก็จะต้องหาเภสัชเก่ง ๆ มา 1 คน ถึงจะเป็นร้ายขายยาโดยสมบูรณ์ ธุรกิจขายยานั้นกำไรงาม ถือเป็นของหนึ่งกิจการที่ได้รับความนิยมและกลุ่มคนมีตลอดแน่นอนเพราะคนเจ็บป่วยบ่อยและนิยมซื้อยากินเองกันก็เยอะ ถ้าพร้อมจะลงสนามนี้แล้วลุยได้เลย📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ