ห้างหุ้นส่วนหมายถึงอะไร มีด้วยกันกี่ประเภทและหน้าที่สำคัญมีอะไรบ้าง

ห้างหุ้นส่วนหมายถึงอะไร

ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจความหมายนิติบุคที่เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วน” ผู้ที่จะเริ่มต้นจดเป็นนิติบุคคลหลายท่านอาจเกิดข้อสงสัยว่า ห้างหุ้นส่วน คืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง มีกี่ประเภทในบทความนี้เราจะพาผู้ที่สนใจกำลังสนใจศึกษาถึงนิติบุคคลประเภทนี้มาหาคำตอบกันในเนื้อหา

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    ความหมายของห้างหุ้นส่วน

    ห้างหุ้นส่วน คือ บุคคลที่เริ่มต้นทำธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาตกลงร่วมกันที่จะดำเนินธุรกิจ การที่องค์กรตั้งขึ้นมาเพื่อจะแสวงหากำไร บุคคลที่ร่วมกันก่อตั้งขึ้นมา สามารถจัดสรรและทำการตกลงกันตั้งแต่เริ่มต้นว่าใครจะลงทุนด้วยเงิน ใครจะลงทุนด้านทรัพย์สินหรือฝีมือแรงงาน ซึ่งต้องตกลงกันตั้งแต่เริ่มแรกเลย เพราะจุดที่สำคัญในการลงทุนและเมื่อตกลงกันทุกอย่างต้องตีราคาของสิ่งที่ลงทุนร่วมกันเป็น “จำนวนเงิน”

    ห้างหุ้นส่วนมีกี่ประเภท

    ทางกฎหมายห้างหุ้นส่วน สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้

    1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันก่อตั้งกิจการเป็นหุ้นส่วนประเภทเดียว หมายถึง หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด

    ง่ายๆ คือ หุ้นส่วนที่เริ่มก่อตั้งทุกคนจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด แต่ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้จะจดเป็นนิติบุคคลหรือจะไม่จดก็ได้ทางกฎหมาย ถ้าจดทะเบียนเราจะเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลในทางกฎหมาย

    2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ความหมายของห้างหุ้นส่วนจำกัดนี้สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

    • ห้างหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด หมายถึง รับผิดชอบหนี้ที่จะเกิดขึ้นในกิจการแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไปแต่จะไม่มีสิทธิ์ในการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่สามารถสอบถามถึงผลการดำเนินของกิจการได้
    • ห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด หมายถึง หากมีหนี้สินเกิดขึ้นจากการที่ประกอบกิจการหนี้สินที่เกิดขึ้นจะต้องร่วมกันรับผิดชอบร่วมกันทั้งหมด แต่มีสิทธิ์ที่จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วน

    หน้าที่ของห้างหุ้นส่วน

    หน้าที่สำคัญของห้างหุ้นส่วน ต้องจัดทำบัญชีตามกฎหมายพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีดังต่อไปนี้

    1. จัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้าและบัญชีประเภทอื่นๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยต้องเริ่มทำตั้งแต่วันที่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน

    หากไม่ทำห้างหุ้นส่วนจะมีความผิดอะไรบ้าง

    • ห้างหุ้นส่วน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท และจะปรับวันละ 1,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักบัญชี
    • หุ้นส่วนผู้จัดการ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท และจะปรับวันละ 1,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักบัญชี

    2. ต้องมีผู้ทำบัญชีในการจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วน

    ผู้ทำบัญชีในที่นี้จะต้องมีคุณสมบัติการทำบัญชีไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาบัญชีหรือเทียบเท่า ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีทุนจดทะเบียนของกิจการไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถใช้ผู้ที่จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ได้ ซึ่งสำนักงานบัญชีจะมีระบบที่รองรับในการจัดทำได้ดีเยี่ยม

    หากไม่มีสำนักงานบัญชีผู้รับทำบัญชีห้างหุ้นส่วน จะมีความผิดอะไรบ้าง

    • ห้างหุ้นส่วน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    • หุ้นส่วนผู้จัดการ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

    3. ต้องส่งมอบเอกสารที่ใช้ลงบันทึกบัญชี คือ การบันทึกเอกสารหรือหนังสือใดๆ ให้แก่ผู้ทำบัญชี เพื่อให้นักบัญชีสามารถแสดงผลการดำเนินงานของกิจการ ฐานะทางการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเงินตามความเป็นจริง

    หากไม่ดำเนินการห้างหุ้นส่วนจะมีความผิดอะไรบ้าง

    • ห้างหุ้นส่วน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    • หุ้นส่วนผู้จัดการ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

    4. ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับตั้งแต่วันเริ่มทำบัญชีและปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน เว้นแต่ได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนรอบปีบัญชีจากสารวัตรบัญชีหรือสารวัตรใหญ่บัญชีละอาจปิดก่อนรอบ 12 เดือนก็ได้

    หากไม่ดำเนินการห้างหุ้นส่วนจะมีความผิดอะไรบ้าง

    • ห้างหุ้นส่วน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    • หุ้นส่วนผู้จัดการ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

    5. ต้องจัดทำงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และงบการเงินเปลี่ยนเทียบกับปีก่อน

    หากไม่ดำเนินการห้างหุ้นส่วนจะมีความผิดอะไรบ้าง

    • ห้างหุ้นส่วน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
    • ห้างหุ้นส่วนผู้จัดการ ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

    “ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาติตรวจสอบและแสดงความเห็น”

    หากไม่ดำเนินการห้างหุ้นส่วนจะมีความผิดอะไรบ้าง

    • ห้างหุ้นส่วน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
    • ห้างหุ้นส่วนผู้จัดการ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

    ยกเว้น ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาททรัพย์สินและรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท 

    ไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงิน

    6. เมื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินแล้วต้องนำส่งงบการเงิน ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์(DBD-e-filing) ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 5 เดือน

    หากไม่ดำเนินการห้างหุ้นส่วนจะมีความผิดอะไรบ้าง

    • ห้างหุ้นส่วนปรับไม่เกิน 50,000 บาท
    • ห้างหุ้นส่วนผู้จัดการปรับไม่เกิน 50,000 บาท

    7. ต้องเก็บรักษาเอกสารที่ลงบัญชีไว้ที่สักนักงานใหญ่ เป็นสถานที่ที่ใช้ทำงานอยู่ประจำหลักหรือเอาไว้เก็บสินค้า ต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันปิดบัญชีวันปิดบัญชีแต่หากสูญหายต้องแจ้งสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบว่าสูญหาย

    หากไม่ดำเนินการห้างหุ้นส่วนจะมีความผิดอะไรบ้าง

    • ห้างหุ้นส่วน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
    • ห้างหุ้นส่วนผู้จัดการ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

    บทสรุป

    เนื้อหาในเรื่องของกิจการห้างหุ้นส่วนนี้เราได้นำความรู้ที่เกี่ยวข้องและความหมายของห้างหุ้นส่วน มาแจกแจงให้
    ผู้ประกอบการและผู้ที่กำลังศึกษาได้อ่านทำความเข้าใจหวังให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้มีความรู้ที่จะดำเนินกิจการให้สำเร็จดั่งใจหวังทุกท่านตลอดไป📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนหจก.ดีที่สุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ

    Leave a Comment