วางแผนทางการเงินอย่างไร ให้เป็นระบบ

วางแผนทางการเงิน

ภายใต้ภาวะปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยอันส่งผลต่อความผันผวนของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งในแง่ของผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล เมื่อสภาพการเงินฝืดเคืองจึงเป็นสิ่งที่มีปัญหามากที่สุด ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยให้สภาพการเงินหมุนตัวได้คล่องขึ้นจึงต้องมีการ วางแผนทางการเงิน เอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาทางการเงินของประชากรได้ หากจะพูดให้จริงจังมากขึ้นก็เพื่อประกันความมั่นคงทางการเงินของประชากรไปถึงอนาคตได้ เรียกได้ว่าหากเราไม่มีการคิดวางแผนไว้ก่อนที่อนาคตอันใกล้จะมาถึง แน่นอนว่าคุณจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ แบบนี้ก็โทษใครไม่ได้แล้วล่ะ วันนี้เพื่อเป็นการรับมือกับปัญหาเราไปดูข้อมูลที่จะนำเสนอ

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    รู้ถึงความหมายของการ วางแผนทางการเงิน คืออะไร

    สิ่งที่เรียกว่าการ วางแผนทางการเงิน ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำมาช่วยควบคุมการใช้จ่ายของประชากรเพื่อให้การดำรงชีพเป็นไปด้วยความราบรื่น ไร้ปัญหาติดขัดและที่สำคัญมันคือการประกันความมั่นคงทางการเงินของคุณอีกด้วยไปจนถึงอนาคต ซึ่งเครื่องมือนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากคุณไม่มีการคิดคำนวณรายจ่ายกับรายรับของแต่ละบุคคล เมื่อมาหักลบรายจ่ายออกจากรายรับแล้วเงินส่วนที่เหลือจะต้องนำมาแบ่งสัดส่วนเพื่อแยกไว้เป็นเงินที่ต้องใช้ดำรงชีพในแต่ละวัน เงินสำหรับเก็บออม เงินสำหรับเวลาฉุกเฉิน เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันประชากรสามารถเป็นหนี้ได้ง่ายการและมักมีค่าใช้จ่ายเกินรายรับ การ วางแผนทางการเงิน จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีพของประชากรอย่างมาก

    ควรเริ่มวางแผนทางการเงินอย่างไรดี

    เมื่อได้เกริ่นไปตั้งแต่ต้นแล้วว่าการ วางแผนทางการเงิน เป็นเครื่องมือที่ช่วยควบคุมการใช้จ่ายของประชากร แต่ไม่ได้หมายความว่าประชากรทุกคนจะเข้าถึงเครื่องมือนี้ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้เราจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการ วางแผนทางการเงิน เอาไว้เสียตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่ประกันว่าความคล่องตัวทางการเงินของเราในช่วงชีวิตในเวลาถัดไปจะสามารถดำเนินไปด้วยความราบรื่นและเกิดปัญหาน้อยที่สุด โดยสามารถเริ่มต้น วางแผนทางการเงิน ได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ถือเป็นเรื่องยุ่งยาก ดังนี้

    1. ประเมินพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองว่ามีรายรับกับรายจ่ายอย่างไร โดยวิธีที่จะสามารถทราบได้ชัดเจนที่สุดและมีประโยชน์ในระยะยาวคือการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อให้เห็นภาพการใช้เงินของตัวเองชัดขึ้น เมื่อมองเห็นรายรับ-รายจ่ายแล้วจะช่วยประเมินได้ว่ารายจ่ายส่วนใดจำเป็นมากหรือจำเป็นน้อย 
    2. จะต้องรู้จักการจัดลำดับความสำคัญของรายจ่ายที่มีอยู่เพื่อปรับสมดุลระหว่างรายรับกับรายจ่ายที่มี เพราะนอกเหนือจากรายจ่ายจำเป็นที่มีจำนวนตายตัวอยู่แล้ว โดยหากสังเกตตัวเองให้ดีจะทราบว่าเรามักจะเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายที่ควบคุมไม่ได้อยู่เสมอซึ่งสิ่งเหล่านั้นถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่มีความจำเป็นน้อย หากควบคุมรายจ่ายที่จำเป็นน้อยเหล่านี้ก็จะช่วยเพิ่มระดับรายรับได้
    3. คุณจะต้องรู้จักการแบ่งสัดส่วนรายรับของตัวเองโดยมีการตั้งเป้าหมายต่าง ๆ ให้ชัดเจน เช่น เงินสำหรับจ่ายค่าผ่อนบ้าน เงินสำหรับไปเที่ยว เงินสำหรับซื้อของขวัญชิ้นใหญ่ ซึ่งเงินที่ถูกแบ่งสัดส่วนแล้วจะต้องแยกออกจากเงินในส่วนที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันโดยไม่นำมาใช้ปะปนกัน
    4. เพิ่มรายรับให้ตัวเองด้วยการหาช่องทางรายรับอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรายได้ประจำ ซึ่งสามารถเพิ่มรายรับได้หลายรูปแบบตามกำลังที่สามารถทำได้หรือเลือกตามสภาวะการเงินของแต่ละบุคคล โดยจะมีการพูดถึงในลำดับถัดไป
    5. ด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น รูปแบบการใช้เงินแม้จะมีการวางแผนมาแล้วก็สามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเพื่อให้การ วางแผนทางการเงิน ของเราไม่ดูเครียดจนเกินไป 

    เพิ่มรายรับระยะยาวด้วยการออมเงิน

    นอกเหนือจากรายรับประจำแล้วการมีรายได้เสริมหรือช่องทางเพิ่มรายรับอื่น ๆ จึงเป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มเข้ามาในการ วางแผนทางการเงิน เพื่อช่วยรักษาสมดุลระหว่างรายรับกับรายจ่ายของแต่ละบุคคลให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่างกันเกินไป เพราะเมื่อรายจ่ายสูงกว่ารายรับก็จะมีผลกระทบทางการเงินอย่างการเป็นหนี้เพิ่มเข้ามา การเพิ่มรายได้ช่องทางอื่นเข้ามาจึงจำเป็นอย่างมากสำหรับการ วางแผนทางการเงิน ซึ่งมีช่องทางการเพิ่มรายรับที่น่าสนใจหลายรูปแบบโดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากการออมเงิน ซึ่งการออมเงินที่น่าสนใจและยังได้รับความนิยมมีดังนี้

    1. การฝากเงินประจำกับธนาคารเพื่อรับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ซึ่งสามารถเลือกระยะเวลาของการฝากได้ว่าต้องการฝากระยะสั้นหรือระยะยาว
    2. การซื้อสลากออมทรัพย์จากธนาคาร ถือเป็นการฝากเงินประเภทหนึ่งที่ได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเช่นกัน แต่ต่างกันที่สลากออมทรัพย์สามารถนำมาลุ้นรางวัลพิเศษได้ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำไรในการลงทุนลักษณะนี้ได้
    3. การนำเงินลงทุนในกองทุนต่าง ๆ เป็นการลักษณะการออมเงินเช่นกันโดยให้ผลตอบแทนมากกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าการฝากเงินหรือซื้อสลากออมทรัพย์ธนาคารเช่นกัน 

    รูปแบบการเพิ่มรายรับที่กล่าวถึงไปข้างต้นเป็นช่องทางการออมเงินที่อยู่ในความสนใจตลอด โดยเราสามารถเลือกการออมเงินจากข้อดีข้อเสียของรูปแบบนั้น ๆ ตามที่เราต้องการได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงก่อนเป็นสิ่งแรกขึ้นกำลังทรัพย์ที่เราสามารถนำไปลงทุนได้เสียก่อน เพราะการที่ลงทุนเกินตัวมักไม่เป็นผลดีสักเท่าไหร่ ดังนั้น การค่อย ๆ เป็นไปตามกำลังที่ตัวเองไหวจะเกิดประโยชน์มากกว่า

    รู้เท่าทันการเป็นหนี้อย่างเข้าใจ

    ก่อนหน้านี้ได้พูดถึงช่องทางของรายรับไปแล้วสำหรับการ วางแผนทางการเงิน โดยในลำดับต่อมาจะมาพูดถึงรายจ่ายประเภทหนึ่งที่เราเรียกกันว่า หนี้สิน โดยสาเหตุของการเป็นหนี้ก็เนื่องมาจากความต้องการซื้อทรัพย์สินราคาสูงของบุคคลแต่ไม่ได้มีเงินก้อนใหญ่ที่จะซื้อทรัพย์สินเหล่านั้นมาในทีเดียว จึงจำเป็นต้องซื้อสินค้าใด ๆ ด้วยระบบผ่อนจ่าย และเราสามารถจัดการกับหนี้ที่มีอยู่ให้มีผลกระทบกับรายรับของเราน้อยที่สุด ดังนี้

    1. ควรจะมีหนี้สินเพียง 40% ของรายได้ทั้งหมดที่มี ก่อนที่จะสร้างหนี้ใหม่เพิ่มต้องประเมินว่าความต้องการนั้นมีความจำเป็นมากน้อยต่อการดำรงชีวิตของเราอย่างไร
    2. ควรมีวินัยในการชำระหนี้และหากมีความจำเป็นที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งควรเจรจาหาทางออกในการปลดหนี้ร่วมกับเจ้าหนี้
    3. ไม่สร้างหนี้เพิ่มโดยไม่จำเป็น หรือก่อนจะมีหนี้สินก้อนใหม่จะต้องแน่ใจว่าสามารถจ่ายได้ตามระยะเวลาที่กำหนดและไม่ทำให้เกิดผลกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน

    การวางแผนทางการเงิน มีความสำคัญอย่างไร

    1. เพื่อประเมินสถานการณ์การเงินของตนเอง ซึ่งสามารถประเมินได้ง่ายๆ โดยการเริ่มจดบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อให้มองเห็นว่าในปัจจุบันพฤติกรรมการใช้เงินของบุคคลเป็นอย่างไร 
    2. เพื่อเพิ่มรายรับและตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เมื่อเริ่มประเมินพฤติกรรมการใช้เงินแล้วจะมองเห็นรายจ่ายทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นของตนเอง เพื่อนำไปสู่การ วางแผนทางการเงิน ให้ทันท่วงที โดยเริ่มจากลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและเพิ่มช่องทางที่จะหารายรับเพิ่ม
    3. เพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคต เมื่อมีรายรับเข้ามานอกจากสัดส่วนรายจ่ายจำเป็นที่ต้องจ่ายเป็นประจำอยู่แล้ว ควรแบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนหรือไปเก็บออมในรูปแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ เช่น การฝากเงินประจำ การซื้อสลากออมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งเงินในส่วนที่นำไปออมเพื่อเพิ่มผลกำไรจะเป็นสิ่งช่วยรับประกันความมั่นคงในอนาคตได้

    บทสรุป

    การดำรงชีวิตของประชากรในยุคปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การ วางแผนทางการเงิน อย่างจริงจัง เพราะพฤติกรรมการใช้เงินก็จะเปลี่ยนแปลงไปปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีความผกผันอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ประชากรจึงสามารถเป็นหนี้ได้ง่ายเป็นเหตุให้รายจ่ายเกินกำลังของรายรับโดยไม่จำเป็น แต่หากมีการจัดการรายรับรายจ่ายของตนเองให้เป็นระบบจะช่วยให้เกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิตระยะยาวได้ และทำให้เกิดวินัยในการใช้เงินอย่างระมัดระวังส่งผลให้มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีอยู่เสมอ📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ