งบการเงิน คืออะไรฉบับสำนักงานบัญชี

งบการเงิน คืออะไรฉบับสำนักงานบัญชี

สำนักงานบัญชีจะไม่รู้เรื่องงบการเงินคงไม่ได้ เพราะจะต้องทำการปิดงบให้กับลูกค้าอยู่ตลอด สำนักงานไหนทำไม่เป็น ทำไม่คล่องมีหวังไปไม่รอดแน่ ๆ เพราะเป็นความรู้หลัก ๆ ที่พนักงานบัญชีในสำนักงานจะต้องรู้เลย จะรู้แบบคลาดเคลื่อนก็ไม่ได้ ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ บทความนี้ชวนมาทบทวน มาทำความเข้าใจเรื่องงบการเงินกันอีกสักเล็กน้อย หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับหลายคน หรือการเป็นเจ้าของกิจการเองก็จำเป็นจะต้องรู้เรื่องนี้เช่นกัน จะได้ไม่ต้องโดนใครโกงได้ง่าย ๆ และมองภาพของกิจการตัวเองออกว่าจะไปต่อในทางไหนดี แผนรองรับคืออะไร มาติดตามพร้อมกันได้ที่ด้านล่างนี้ได้เลย

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    ทำความเข้าใจงบการเงินคืออะไร

    ทุกสำนักงานบัญชีต้องรู้และเข้าใจเรื่องนี้ งบการเงิน หรือ Financial Statement เป็นงบหรือรายงานทางการเงินและบัญชี ตัวนี้จะบ่งบอกถึงสถานการณ์ดำเนินงานที่ผ่านมาและผลประกอบการด้วย แต่ก็จะมีแบ่งย่อยออกไปเป็นหลายประเภท เป็นเหมือนองค์ประกอบหลักของงบการเงินในแต่ละองค์กรเลย จะขาดไปไม่ได้ มีดังนี้

    1. งบแสดงฐานะทางการเงิน จะเป็นตัวบ่งบอกว่าบริษัทนั้น ๆ สถานะทางการเงินเป็นแบบไหน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จะดูได้ว่ามีสินทรัพย์อะไรบ้าง หนี้สินมีไหม มีอะไรบ้าง ผู้ถือหุ้นเหลือเท่าไหร่หรือมีใครมาเพิ่มไหม ซึ่งจะต้องมีสินทรัพย์เท่ากับหนี้สินบวกกับผู้ถือหุ้นจะต้องเท่ากัน สิ่งเหล่านี้จะต้องแสดงในงบการเงินออกมาชัดเจน

    มาดูในส่วนของความหมายกันบ้างตัวสินทรัพย์นั้นจะเป็น ตัวที่ควบคุมกิจการอยู่ ก่อให้เกิดรายได้ เกิดประโยชน์ต่าง ๆ ต่อบริษัท เช่น สินค้า ที่ดิน เงินสด รายได้ค้างรับ หรือลูกหนี้ ก็จะแบ่งออกเป็นทั้งสินทรัพย์ที่หมุนเวียนได้ อย่างเงินสด กับสินค้าคงเหลือ ตัวที่หมุนเวียนไม่ได้ก็เป็นอะไรที่มีระยะเวลาการใช้ เกิน 1 ปี เช่น เครื่องจักร อสังหา ฯลฯ ต่าง ๆ เป็นต้น

    ในส่วนของหนี้สินก็จะเป็นอะไรที่เป็นภาระผู้พันมาจนถึงปัจจุบันเลย เป็นสิ่งที่ทำให้กิจการเสียผลประโยชน์ แน่นอนว่าหนี้สินก็ต้องแสดงในงบการเงินด้วยนะ เช่น เงินกู้ เจ้าหนี้ ค่าใช้จ่ายที่ค้าง เป็นต้น ก็แบ่งออกเป็นหนี้ระยะสั้น ที่ต้องจ่ายใน 1 ปี และระยะยาวที่เกิน 1 ปี ต่อไปส่วนของผู้ถือหุ้น ตัวนี้จะเป็นสิ่งที่เป็นของเจ้าของ ก็คือเป็นมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ หรือ ที่หักหนี้สินไปหมดแล้ว เช่น ทุน ที่ลงทุนในบริษัทตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ กำไร ขาดทุนสะสม ที่บริษัทหามาได้จนถึงปัจจุบัน

    1. รายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต อีกหนึ่งส่วนสำคัญของงบการเงินเลยจะต้องมีการตรวจสอบอย่างถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ นั่นคือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตนั่นเอง จะไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะมาแสดงความคิดเห็นหรือรับรองเอกสารนี้ และจะต้องมีความเชี่ยวชาญพร้อมกับจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพนี้ด้วย และต้องเป็นอิสระจากกิจการที่เข้าตรวจสอบ เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือจริง ๆ ของงบการเงินนั้น ๆ
    2. งบกำไรขาดทุน ในนี้จะมีรายการต่าง ๆ อยู่ ไม่ว่าจะเป็น กำไร ขาดทุน รายได้ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต้นทุนทางการเงิน ภาษี ของแต่ละรอบบัญชีอยู่ ตัวงบกำไรขาดทุนนี้เองก็จะบอกถึงประสิทธิภาพขององค์กรในปีนั้นได้ แต่จะไม่เหมือนงบแสดงสถานะทางการเงินนะ จะไม่มีคำว่า ณ จุดเวลา ซึ่งทางเจ้าของสามารถใช้ข้อมูลในงบการเงินตัวนี้ไปดูได้ว่ากิจการจะเป็นอย่างไรต่อ สำหรับงบกำไรขาดทุนนี้ก็จะมีเป็นฝั่งรายได้ รายจ่าย กำไรขาดทุนสุทธิในอันสุดท้าย ตัวนี้จะค่อนข้างอ่านเข้าใจง่าย และเราจะเห็นจากเอกสารนี้เลยบริษัทกำไรไหมหรือว่าขาดทุน
    3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับข้อนี้ก็จะแสดงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่กระทบต่อยอดของส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ต้นปียันท้ายปีนั่นเอง ดูได้ว่าเจ้าของนั้นลงทุนลงเงินไปแล้วมันงอกเงยขึ้นมาแค่ไหน จะมาในรูปแบบของ ผลกำไร มูลค่าหุ้นรวม หรือว่าขาดทุน ตัวนักลงทุนเองส่วนใหญ่จะดูข้อนี้เป็นหลักเลย เพราะเป็นเหมือนตัวที่ช่วยในการตัดสินใจว่าควรจะไปต่อหรือพอแค่นี้สำหรับองค์กรนี้แล้ว เพราะแบบนี้ใครจะเป็นนักลงทุนในอะไรก็อย่าลืมอ่านงบการเงินของกิจการนั้นให้ดีด้วย
    4. หมายเหตุประกอบงบการเงิน

    มาถึงงบการเงินในส่วนสุดท้ายกันแล้ว จะมองข้ามไปไม่ได้นะ เพราะว่าตรงหมายเหตุประกอบนี้จะบอกรายละเอียดต่าง ๆ ของส่วนแรกไว้ อย่างยอดเงินไหนที่มันก้อนใหญ่ ๆ ก็จะมีบอกตรงหมายเหตุนี้เองว่ามีอะไรในก้อนนั้น ๆ บ้าง บริษัทจะมีการอธิบายรายละเอียดนโยบายไว้ที่ส่วนนี้อีกด้วย รวมถึงการเผยอื่น ๆ ทางบัญชีของบริษัท ละเอียดเลยทีเดียวทั้ง เจ้าหนี้ ลูกค้า หนี้สิน และอื่น ๆ ฉะนั้นเวลาอ่านงบการเงินบริษัทก็อย่าได้มองข้ามข้อนี้ไปเลย

    พอจะเข้าใจเรื่องงบการเงินกันบ้างแล้ว ว่าหลัก ๆ ในเอกสารนั้นจำเป็นจะต้องมีอะไรบ้าง และทุกกิจการจะต้องมีการทำงบนี้เสมอ และท้ายปีมาก็จะต้องทำการปิดงบการเงินให้ถูกต้อง ไม่ใช่แค่เพื่อการส่งยื่นภาษีแต่ยังมีประโยชน์มากเวลาจะใช้วิเคราะห์ตัวองค์กรเองและนำไปวางแผนในการพัฒนาในปีต่อ ๆ ไปด้วย

    การปิดงบการเงินจะต้องทำอย่างไร

    บริษัทไหนก็ตามท้ายปีมาจะต้องมีการปิดงบการเงินเสมอ นั่นคือการทำรายงานผลการดำเนินงานของกิจการนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะต้องแสดงงบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น และ หมายเหตุงบการเงิน ตามที่กล่าวมาในข้างต้นแล้วนั่นเอง และเพื่อให้ง่ายตอนปิดงบนั้นนักบัญชีจะใช้โปรแกรมเข้ามาช่วย แต่ถ้าบริษัทไหนไม่มีนักบัญชีก็ต้องจ้างสำนักบัญชีให้จัดการเรื่องนี้ให้ สำหรับขั้นตอนปิดงบการเงินก็มีดังนี้

    • ทำการรวบรวมเอกสารรายได้ รายจ่าย เอกสารการค้าต่าง ๆ ซึ่งตลอดระยะเวลานั้นจะต้องเก็บเอกสารทางการเงินบริษัทเอาไว้เสมอ และแยก หรือเรียงตามวันที่ก็ได้ แล้วแต่ว่าจะจัดไว้แบบไหน เวลาจะดึงมาใช้งานจะสะดวก
    • จะต้องทำบัญชีแยกประเภท โดยบันทึกรายการค้าต่าง ๆ แยกออกเป็นหมวดหมู่ รวบรวมไว้ทั้งหมด แล้วจัดลำดับผังบัญชีให้เรียบร้อย
    • การทำงบทดลองตัวนี้จะทำให้เราเห็นตัวยอดคงเหลือในแต่ละบัญชี และเป็นการดูว่าตัวเลขถูกไหม
    • ทำการปรับปรุงบัญชีค้างจ่าย ค้างรับ ค่าเสื่อมราคา ลงยังบัญชีที่ค้างให้เสร็จ จะเป็นตัวดอกเบี้ย ค่าเสื่อมจะยิ่งขาดไปไม่ได้เลย
    • ให้ทำการปิดบัญชีสินค้าคงเหลือเข้ายังบัญชีต้นทุนสินค้าขาย แล้วก็เอายอดค่าใช้จ่ายนั้น ๆ ที่เกี่ยวกับสินค้าคงเหลือไปยังบัญชีต้นทุนสินค้าขายให้เรียบร้อย
    • ทำการเปิดบัญชีรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนสินค้าขาย เข้ายังงบกำไรขาดทุนให้เรียบร้อย เป็นการหายอดกำไรขาดทุน เราจะเห็นว่าบริษัทมีกำไรไหมจากส่วนนี้
    • งบแสดงฐานะทางการเงิน สำหรับข้อสุดท้ายนี้จะทำให้เห็นยอดคงเหลือของบริษัทว่ามีเงินสดเท่าไหร่ มีลูกหนี้ไหม สินค้าที่จะขายมีเยอะน้อยแค่ไหน แล้วหนี้อะไรบ้างที่ยังไม่ได้จ่าย เป็นต้น งบการเงินนี้สำคัญมาก ๆ จะไม่ใช้ก็คงปิดงบไม่ได้แน่นอน

    พอได้ข้อมูลตามที่กล่าวมาครบหมดแล้ว ต่อไปก็ยกให้เป็นหน้าที่ของนักบัญชีโดยตรงเลย และบริษัทควรจะใช้นักบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น และต้องมีความน่าเชื่อถือด้วย ถ้าเป็นไปได้เจ้าของกิจการเองก็ควรจะต้องรู้เรื่องบัญชีและภาษีเช่นกัน ต้องดูงบการเงินเป็นเพื่อทำให้ลดความเสี่ยงที่อาจจะโดนช่อโกงไปได้ และยังตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารต่าง ๆ ได้อีกด้วย

    บทสรุป

    งบการเงิน เป็นส่วนที่จะแสดงทุกอย่างของกิจการออกมาว่าเป็นแบบไหน และไม่ใช่แค่สำนักบัญชีเท่านั้นที่จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องนี้ เจ้าของกิจการเองก็ต้องรู้เช่นกัน ใครเป็นเจ้าของกิจการจะแค่ลงทุนอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะว่ามันเสี่ยงจะไปไม่รอดได้นะ และถ้ากิจการไหนอยากจะลดปัญหาในการจ้างพนักงานบัญชีมาทำให้ การเลือกสำนักงานบัญชีที่มีความน่าเชื่อถือ มีความเชี่ยวชาญสูงมาช่วยจัดการปิดงบ ดูงบการเงินให้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย และถ้าใครอยากจะเปิดสำนักงานบัญชีเองยิ่งต้องมีความรู้เรื่องนี้อย่างถ่องแท้เลย จะได้มีหลายบริษัทเข้ามาใช้การเยอะ ๆ และบทความนี้ก็เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้นให้ทุกคนศึกษาเพิ่มอย่างละเอียดเพื่อนำไปใช้ในกิจการของจริง และขอให้กิจการทุกคนรุ่งเรือง กำไรงาม📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ