หากผู้ประกอบการบริษัทจำกัดและนักธุรกิจหลากอาชีพได้ติดตามข่าวเศรษฐกิจกันมาอย่างต่อเนื่องก็จะได้ยินคำศัพท์คุ้นหูที่มักนำมาใช้เสนอข่าวกันอยู่บ่อยๆ อย่างเช่นในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีเหตุการณ์โรคระบาดไวรัส COVID-19 อันส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการต่างๆ ในประเทศ โดยเฉพาะผลกระทบในภาคเศรษฐกิจที่เกิดการชะลอตัวมาระยะหนึ่งแล้ว และหากยังปล่อยให้มีภาวะเช่นนี้ดำเนินต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด อีกไม่นานอาจจะเกิดสภาวะ “เงินฝืด” ขึ้นในระบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจก็เป็นได้ ย่อมส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศเป็นอย่างมาก
ภาวะเงินฝืดเกิดจากอะไร
ผลกระทบของเงินฝืดในด้านต่างๆ
ไม่ว่าในช่วงเวลาใดก็ตามเมื่อเกิดภาวะเงินฝืดขึ้นมา เราจะมองเห็นผลกระทบที่วนเวียนเป็นห่วงโซ่เสมอ เพราะทันทีที่เกิดข้อผิดพลาดในระบบเศรษฐกิจของประเทศ วงล้อต่างๆ ที่คอยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเดินต่อก็จะได้รับผลกระทบไปพร้อมกันเพียงแค่ส่วนใดจะได้รับมากหรือน้อย แต่ในภาวะเงินฝืด ผลกระทบจะเกิดขึ้นวนไปมาใน 3 ส่วนที่สำคัญซึ่งต้องได้รับการแก้ไขให้ทันท่วงที ซึ่งผลกระทบจะเกิดขึ้นคือ
- ผลกระทบในภาคเศรษฐกิจ
การเกิดภาวะเงินฝืด จากการที่ประชากรมีอัตราการใช้เงินน้อยลงการจับจ่ายใช้สอยลดลงต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ผลผลิตที่ถูกผลิตออกมาจำหน่ายในตลาดมีปริมาณมากเกินความ หากมีสถานการณ์ที่ประชากรไม่ค่อยซื้อสินค้าต่อไปแบบนี้ทางผู้ผลิตก็ไม่สามารถผลิตสินค้ากลุ่มใหม่ออกมาได้ ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อไปยังสายการผลิตและลดการจ้างพนักงานลง ทำให้เกิดการว่างงานเป็นจำนวนมากและนำสู่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างเลี่ยงไม่ได้
- ผลกระทบในภาคการผลิต
สำหรับผลกระทบของภาคการผลิตที่เกิดภาวะเงินฝืด เห็นได้ชัดเจนเลยคือการขาดทุน เนื่องจากก่อนหน้าจะเกิดภาวะเงินฝืด สายการผลิตย่อมผลิตสินค้าหรือบริการออกมาสู่ท้องตลาดในปริมาณที่มากพอสมควรเพื่อรองรับความต้องการของประชาชน แต่เมื่อความต้องการซื้อสินค้าของประชากรลดลงผลผลิตที่ส่งออกมาแล้วก็จะเหลืออยู่จำนวนมากเป็นเหตุให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าลงมากกว่าที่จะเป็นเพื่อจะขายสินค้าเหล่านั้นให้หมด ในลำดับต่อมาผู้ผลิตก็จะมาพิจารณาเรื่องลดการซื้อวัตถุดิบและเลวร้ายที่สุดคือการลดการจ้างงานลูกจ้างสายการผลิตไป เมื่อมาถึงจุดนี้เศรษฐกิจจะเกิดการชะลอตัวโดยปริยายเพราะการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีปัญหา
- ผลกระทบในภาคประชาชน
เมื่อภาคการผลิตไม่มีการจ้างงานเพิ่มหรืออาจจะลดจำนวนลูกจ้างในสายการผลิตนั้นลง ผลกระทบก็จะวนมาสู่ประชากรซึ่งจะเกิดเป็นภาวะว่างงาน เพราะผู้ผลิตสินค้าและบริการไม่สามารถขายสินค้าได้มากเท่าเดิมเพราะความต้องการซื้อลดลง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องลดจำนวนลูกจ้างในสายการผลิตลงส่งผลให้ประชากรไม่มีงานทำ หรือคนที่ทำงานอยู่แล้วอาจจะต้องตกงานไป เพราะในภาวะเงินฝืด นั้นผู้ผลิตไม่สามารถทำกำไรได้เท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายหลายส่วนออกไปเพื่อให้กิจการของตนเองได้อยู่รอดต่อไป
การแก้ไขภาวะเงินฝืด
การแก้ไขภาวะเงินฝืด เป็นหน้าที่ที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบโดยตรงเพื่อเรียกความมั่นใจในการกล้ากลับมาใช้เงินของประชากรมากขึ้น เมื่อประชากรใช้เงินน้อยลงตัวเงินที่จะต้องหมุนเวียนในเศรษฐกิจก็ลดลง เพราะสาเหตุที่จะส่งผลต่อภาวะเงินฝืด เกิดจากความไม่มั่นใจที่จะใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติ หรือโรคระบาดที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นแนวทางการแก้ไขที่มักจะพบเห็นได้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
- การแก้ไขโดยอาศัยนโยบายทางการเงิน ซึ่งในการนี้ธนาคารจะเป็นผู้ออกนโยบายออกมาเพื่อช่วยกระตุ้นการอยากซื้อขายสินค้าเพิ่มขึ้น จะช่วยให้ระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ โดยแบ่งออกเป็นแนวทางย่อย ๆ คือ
– การลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคาร เพื่อขยายเครดิตของธนาคารทำให้มีเงินสำหรับการปล่อยกู้ให้มากขึ้น
– ซื้อหลักทรัพย์ หรือพันธบัตรในท้องตลาด จุดประสงค์คือการกระจายเงินจากธนาคารกลางไปสู่มือประชากรมากขึ้น ซึ่งจะเป็นไปลักษณะของการเพิ่มปริมาณการลงทุน
– การขยายเครดิตของธนาคารพาณิชย์ โดยขยายวงเงินสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์สามารถทำได้ หรือเป็นไปในลักษณะของการปล่อยกู้เพื่อนำไปลงทุนในกิจการต่างๆ ก็ได้
- การแก้ไขโดยอาศัยนโยบายการคลัง ซึ่งจะเป็นส่วนรับผิดชอบของรัฐบาลที่จะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อนำมาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มระดับราคาสินค้าให้มากขึ้นเหมือนกับนโยบายการเงิน เพียงแต่เงินที่จะต้องนำออกมาใช้เป็นงบประมาณในกองคลัง ซึ่งมีแนวทางที่จะนำมาแก้ไข ดังนี้
– รัฐบาลจะต้องเพิ่มการใช้จ่ายของตนเองให้มากขึ้นโดยการจัดสรรงบประมาณไปในลักษณะของการขาดดุล
– การสร้างหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นการขอกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมาเพื่อลงทุนในประเทศ เพื่อทำให้มีปริมาณเงินในประเทศเพิ่มขึ้น
– การลดภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยแนวทางการลดภาษีจะทำให้ประชากรรู้สึกว่ามีรายได้เพิ่มขึ้น และมีเงินเหลือพอที่จะนำไปซื้อสินค้าและบริการ แต่ในการลดภาษีต่างๆ อาจจะต้องพิจารณามากกว่าข้ออื่นเพราะการลดภาษีจะทำให้เกิดผลกระทบต่อรายได้ของรัฐนั่นเอง
– การขยายระยะเวลาในการผ่อนสินค้า ซึ่งจะเป็นผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องมาผ่อนสินค้าแต่ละงวดลดลงเพราะมีระยะการชำระคืนเพิ่มขึ้น และประชากรจะมีเงินเหลือจากส่วนต่างที่เหลือจากจ่ายค่าผ่อนสินค้า ทำให้สามารถนำเงินส่วนนั้นมาใช้ในการซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงสามารถนำไปลงทุนในส่วนต่างๆ ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นได้
แนวโน้มการเข้าสู่ภาวะเงินฝืดของประเทศไทย
ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ที่เริ่มการระบาดของไวรัส COVID-19 ยาวนานมาถึงปลายปี 2566 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพักงานของลูกจ้างและในธุรกิจหลายประเภทต้องพักกิจการไป รวมถึงผู้คนออดมาใช้จ่ายน้อยลงกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด ก็ได้มีคำถามเกิดขึ้นว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด แล้วหรือยัง แต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาให้ข้อมูลว่า สภาวะเศรษฐกิจของไทยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ยังไม่ใช่สัญญาณของภาวะเงินฝืด โดยประเมินจากการเช็คลิสต์เงื่อนไขของปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเงินฝืด 4 ข้อ ดังนี้
– ราคาสินค้าและบริการโดยรวมปรับลดลงต่อเนื่อง
– ราคาสินค้าและบริการปรับลดลงกระจายไปเกือบทุกประเภทสินค้า
– เงินเฟ้อคาดการณ์ลดลงต่ำกว่าเป้าหมายนโยบายการเงิน
– เศรษฐกิจและการจ้างงานชะลอลงยาวนาน
เมื่อทราบดังนั้นแล้ว อาจจะวางใจได้ประมาณหนึ่งว่าประเทศไทยยังไม่ได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่กำลังแย่ แต่ก็ยังเป็นสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดนิ่งนอนใจไม่ได้ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นจะได้เข้าแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ซึ่งในจุดนี้รัฐบาลจำเป็นต้องเตรียมแผนรับมือเหตุการณ์ไม่คาดฝันเอาไว้เพื่อให้รับผลกระทบน้อยที่สุดอีกด้วย
บทสรุป
จะเห็นได้ว่าในการดำเนินกิจการต่างๆ ภายในประเทศรวมถึงการขับเคลื่อนให้ประเทศไปต่อหรือล้มเหลว ระบบเศรษฐกิจมีความสำคัญอย่างมาก เพราะหากขาดระบบนี้ไปก็เปรียบเสมือนประเทศขาดแขนขาที่นำพาให้ก้าวไปข้างหน้าได้ ฉะนั้น เราจึงจะพบความตื่นตะหนกต่อภาวะต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอยู่เสมอ ซึ่งในปัจจุบันเราอาจจะกำลังเสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ก็เป็นได้ หากระบบเศรษฐกิจในประเทศกำลังหดตัวลงอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถฟื้นตัวได้เช่นนี้ ดังนั้น เมื่อมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาภาวะเงินฝืด ผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องรีบวางนโยบายเพื่อแก้ไขอย่างทันท่วงที เพราะเป็นภาวะที่ไม่พึงประสงค์ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ฉะนั้น ปัญหานี้รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากเช่นกัน📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™