สินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร มีอะไรบ้างมาลองอ่านกัน

สินทรัพย์หมุนเวียน

ในแต่ละกิจการนั้นจะมีสินทรัพย์ (Assets) ซึ่งก็จะมีทั้งเป็นแบบสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) และ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non – Current Assets ) ในส่วนของความหมายสินทรัพย์นั้นก็คือ เป็นทรัพยากรที่อยู่ในการควบคุมของบริษัทจำกัดหรือกิจการนั้น เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตนั่นเอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทแบบหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนนั่นเอง เราจะพามาทำความรู้จักกับ “สินทรัพย์หมุนเวียน” ว่าคืออะไร เพื่อความเข้าใจมากขึ้น คนที่ทำงานบัญชีหรือเป็นเจ้าของกิจการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจและคือจุดหมายที่หวัง

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    สินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร

    บริษัทไหนไม่มีคงจะประคองธุรกิจยากเลยเพราะว่าเป็นสินทรัพย์ที่จะต้องหมุนเวียนตามชื่อนั่นเอง สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึงสินทรัพย์ที่กิจการจะต้องมีเอาไว้หมุนเวียนเป็นปกติ เอาแบบง่าย ๆ เลยคือจะต้องเป็นสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ซึ่งก็จะแบ่งออกไปเป็น 10 ประเภท นอกจากเปลี่ยนเป็นเงินแล้วก็ยังรวมไปถึงเพื่อถือสินทรัพย์เพื่อการค้าระยะสั้นหรือคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้น

    10 ประเภทสินทรัพย์หมุนเวียนมีอะไรบ้าง

    ปกติแล้วเราก็จะเรียกสิ่งที่บริษัทครอบครองอยู่ว่าทรัพย์สินเป็นที่เข้าใจกัน แต่ว่าในทางบัญชีแล้วจะต้องเรียกสินทรัพย์ (Assets) ซึ่งบริษัทไหนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนสภาพคล่องสูงก็จะบ่งบอกสถานะทางการเงินของบริษัทได้ดีทีเดียว และสินทรัพย์เหล่านี้จะต้องเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปีด้วย ซึ่งก็มี 10 ประเภทตามดังนี้

    1. เงินสด (Cash)

    เป็นตัวที่จะทำให้สภาพคล่องดีกว่าสินทรัพย์ตัวเองแล้ว เพราะว่าเป็นตัวเงินสดอยู่แล้วไม่ต้องคอยเปลี่ยนอีก ซึ่งเราก็ดูในงบกระแสเงินสดได้เลย หากมีเยอะกว่าหนี้สินก็แปลว่ากิจการนั้น ๆ มีผลประกอบการดี บริหารได้ดี มีความเสถียรภาพนั่นเอง

    2. เงินฝาก (Bank deposit)

    จะเรียกว่าเป็นเงินสดก็คงใช่เพียงแต่ว่าเงินส่วนนี้ยังอยู่ในธนาคาร อยู่ตามบัญชีต่างๆ ของบริษัท ก็รวมทั้งเช็คด้วยแม้จะยังไม่ขึ้นเงินก็นับเหมือนกัน เหมือนเดิมกำหนดคือจะต้องเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในระยะเวลา 1 ปี

    3. เงินที่นำไปลงทุนชั่วคราว (Short Term Investment)

    จะเป็นสินทรัพย์อะไรก็ตามที่ทางบริษัทสร้างขึ้นหรือจัดหามาแล้วสร้างดอกผลจากสินทรัพย์นั้นได้ ซึ่งไม่ใช่สินค้าที่บริษัทผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่ายนะ คนละส่วนกันถึงจะถือว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งเป็นการใช้เงินลงทุนแบบชั่วคราวและสินทรัพย์นั้นก็ต้องเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วด้วย

    4. ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้า (Accounts Receivable)

    แทบจะทุกกิจการจะมีลูกหนี้การค้า ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้มีสัญญาจะชำระหนี้ให้กับบริษัทในระยะเวลาใกล้ ๆ เป็นการให้เครดิตลูกค้า และสัดส่วนของลูกค้าแบบนี้ก็จะต้องไม่เกินกว่าเงินสด หากปล่อยเครดิตไปเยอะก็อาจจะเสี่ยงทำให้เงินบริษัทจมได้ ซึ่งพอเราปล่อยเครดิตไปแล้วก็จะต้องพยายามเก็บหนี้ให้ได้ เพราะกิจการจะต้องนำเงินไปหมุนเวียนต่อ

    5. ตั๋วรับเงิน (Notes Receivable)

    สำหรับข้อนี้จะเป็นสัญญาที่จะได้รับเงิน ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดว่าสัญญาจะเป็นแบบไหน เช่น สัญญาซื้อ – ขาย สัญญากู้ยืม แต่ว่าสิ่งสำคัญคือจะต้องมีกำหนดชัดเจนถึงวันที่รับการจ่ายเงินสดให้กับบริษัท แน่นอนว่าต้องไม่เกิน 1 ปีในกำหนดชำระถึงจะเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนนั่นเอง

    6. เงินให้กู้ยืมระยะสั้น (Short Term Loan)

    ไม่มีอะไรที่เข้าใจยากสำหรับข้อนี้ก็หมายถึงเงินที่บริษัทให้คนอื่นยืมนั่นเอง แต่และจะต้องมีกำหนดในการชำระชัดเจน ระบุวันที่ให้เรียบร้อยต้องไม่เกิน 12 เดือนด้วยนะ

    7. สินค้าคงคลัง (Inventory )

    ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตหรือทำกำไรแบบไหนก็นับหมด เพราะว่าสินค้าคงคลังนั้นก็จะหมายถึงว่ารายได้ของกิจการที่จะต้องมีในอนาคตนั่นเอง แต่ว่าก็ให้ระวังอย่าให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมเยอะ เพราะถ้าคงคลังมากไปก็บ่งบอกถึงปัญหาแล้ว หมายถึงการขายไม่ได้ ต้นทุนจม เงินจม สภาพคล่องของบริษัทก็ไม่มีนั่นเอง

    8. วัสดุสำนักงาน (Supplies)

    แม้ว่าจะไม่ได้เป็นตัวที่ทำกำไรให้กับบริษัทโดยตรง แต่ก็เป็นพวกอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่าง ๆ ที่ก็ต้องใช้ และใช้แล้วหมดไปใน 1 ปี ยกตัวอย่างเช่น ปากกา กระดาษ เครื่องเขียน วัสดุ อุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนแฝงของกิจการ จะต้องบริหารให้ดีอย่าให้มีเยอะจนเกินไป

    9. รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue)

    เป็นรายได้ของกิจการที่ยังไม่ได้รับมา แต่ว่าจะต้องได้รับอย่างแน่นอนเพียงแต่ไม่ใช่ตอนนี้เท่านั้นเอง เลยเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนได้

    10. ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses)

    สำหรับข้อนี้จะหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ออกไปในตอนนี้แล้วก็จะได้ประโยชน์ในอนาคต อธิบายให้เข้าใจให้ง่ายกว่านี้คือ จ่ายแล้ว แต่ยังไม่เกิดผลนั่นเอง เลยต้องเรียกว่าค่าใช้จ่ายล่วงหน้า เช่น ค่าประกัน เป็นต้น

    สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนคืออะไร

    เข้าใจสินทรัพย์หมุนเวียนกันไปแล้วแบบง่าย ๆ คือเป็นสินทรัพย์ที่จะต้องแปลงเป็นเงินสดได้ในระยะเวลา 1 ปี เพื่อสภาพคล่องของธุรกิจ ต่อไปก็มาในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน  (Non – Current Assets) ซึ่งจะเป็นทรัพยากรที่มีในกิจการ แล้วครอบครองใช้ในเชิงเศรษฐกิจนานกว่า 1 รอบระยะเวลาการดำเนินงาน ซึ่งก็จะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ สินทรัพย์ที่มีตัวตน  (Tangible Assets) และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)

    ซึ่งสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนี้จะมีอะไรบ้างยกตัวอย่างเช่น ที่ดิน อาคาร เงินลงทุนระยะยาว พวกอุปกรณ์บางอย่าง รวมถึงสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนด้วย ซึ่งสินทรัพย์ประเภทนี้ไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนเป็นเงินสดภายใน 1 ปีก็ได้ ค่อนข้างจะเป็นสินทรัพย์ที่มีความถาวร ไม่ได้ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินมากนัก เพราะไม่ได้จะนำมาแปรเป็นเงินสดใช้หมุนเวียน

    อายุของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนี้มีการใช้งานนานกว่า 1 ปีได้ สภาพคล่องต่ำ อีกหนึ่งข้อแตกต่างกันที่เห็นชัด ๆ เลยของสินทรัพย์หมุนเวียนกับสินทรัพย์ถาวรคือ แบบไม่หมุนเวียนหรือถาวรนั้นจะเน้นการใช้แหล่งเงินทุนระยะยาวกว่า ซึ่งแบบหมุนเวียนก็ระยะสั้นนั่นเอง ในสัดส่วนของสินทรัพย์ถาวรนั้นก็บอกถึงสภาพคล่องได้แต่ว่ามันก็ไม่ใช่ทั้งหมด ถ้าเป็นแบบหมุนเวียนจะบอกสภาพคล่องได้ดีกว่า

    ความสำคัญของสินทรัพย์หมุนเวียน

    สำคัญอย่างมากทั้งต่อตัวบริษัทเองและนักลงทุนด้วย สำหรับด้านของกิจการแล้วหากมีสินทรัพย์หมุนเวียนในสัดส่วนที่เหมาะสมจะทำให้นักลงทุนมองเห็นผลประกอบการและสถานะของบริษัทว่าน่าลงทุนไหม โดยเฉพาะบริษัทใหม่ ๆ ยิ่งถ้าเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วนักลงทุนยิ่งดูละเอียดมากขึ้น เพราะว่าสินทรัพย์ตัวนี้บอกถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านต้นทุนและกำไรได้ ซึ่งก็จะรวมไปถึงหนี้สินของบริษัทด้วย

    หากการหมุนเวียนของสินทรัพย์ของกิจการนั้นติดขัด ทำให้เงินไปจมกองอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งใน 10 ประเภทที่กล่าวมานั้น จะทำให้สภาพคล่องมีปัญหาอย่างมาก เงินหมุนไม่มีเพียงพอที่จะใช้ในกิจการ ปัญหามากมายตามมา นักลงทุนอาจจะหายตามไปด้วยเพราะมองไม่เห็นการก้าวหน้าของบริษัท

    บทสรุป

    หากคุณเป็นเจ้าของกิจการอย่าลืมบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนให้ดี อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมสภาพคล่องดีอะไรมันก็ดี โดยเฉพาะกระแสเงินสดที่หมุนในบริษัทนั้นจะต้องคล่องตลอด ทุกอย่างจะต้องแปรเป็นเงินสดได้ใน 1 ปี ไม่ว่าจะเป็น เงินสด เงินฝาก เงินให้กู้ สินค้าคงคลัง เงินลงทุนชั่วคราว วัสดุสำนักงาน ลูกหนี้การค้า รายได้ค้างรับ ตั๋วรับเงิน และ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า โดยเฉพาะเกี่ยวกับสินค้าคงคลังกับลูกค้าการค้า หากขายสินค้าไม่ออก หากเก็บหนี้ไม่ได้ ก็เท่ากับว่าเงินของบริษัทจมหายไปตรงนั้นแล้ว ซึ่งก็คิดเป็นต้นทุนเหมือนกัน ฉะนั้นจะต้องบริหารในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนให้ดีไม่แพ้ด้านอื่นเลย เพื่อให้กิจการเติบโตไปได้ต่อไป📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ