ในการ “จดทะเบียนบริษัท” เป็นการกระทำที่ช่วยให้กิจการของนักลงทุนเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เพื่อให้กิจการที่กำลังดำเนินการมีความเป็นทางการมากขึ้น แต่หลายคนลืมตระหนักภาระที่ตามมาหลังจากจดทะเบียนบริษัท ซึ่งเต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนการจดทะเบียนที่ยุ่งยาก, การรวบรวมหลักฐานที่จำเป็นต่อการเปิดกิจการฯลฯ และอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้จดทะเบียนบริษัทจะต้องดำเนินการเกี่ยวข้องอยู่ตลอดการดำเนินงาน คือ ‘สรรพากร’ เนื่องจากสรรพากรเป็นหน่วยงานที่จัดการเรื่องภาษีโดยตรง ซึ่งบริษัททุกแห่งจำเป็นต้องเสียภาษีเมื่อเกิดรายได้ขึ้น แทบไม่มีข้อยกเว้น และรายละเอียดการเสียภาษีแบ่งออกเป็นหลายหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับรายได้และรายจ่ายแต่ละประเภทของบริษัท จนบางครั้งผู้จดทะเบียนบริษัทอาจจะหลงลืม จนอาจมีปัญหากับสรรพากรได้ ดังนั้น การเรียนรู้หน้าที่การทำงานของสรรพากร และหมวดหมู่ภาษีที่จำเป็นต้องชำระให้แก่สรรพากร จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาเอาไว้อย่างยิ่ง
ทำไมสรรพากรมักจับตามองการทำงานของผู้จดทะเบียนบริษัทอยู่เสมอ?
“สรรพากร” เรียกได้ว่าเป็นไม้เบื่อไม้เมาของสำหรับผู้จดทะเบียนบริษัทแทบทุกราย แม้ว่าจะเสียภาษีและส่งเอกสารได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายละเอียดมากแค่ไหน หรือไม่เคยปลอมแปลงบัญชีรายรับรายจ่ายของบริษัทเลย แต่สรรพากรก็มักจะตรวจสอบบริษัทอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการตรวจสอบสถานที่จริง และตรวจสอบจากข้อมูล พฤติกรรม การเคลื่อนไหวของบริษัท
ทำไมสรรพากรถึงต้องคอยจับตามองผู้จดทะเบียนบริษัท? เราจะมาพูดถึงหน้าที่ของพวกเขากันก่อน
สรรพากร มีหน้าที่โดยรวม คือ กำกับดูแลผู้เสียภาษี, ตรวจการปฏิบัติการของแต่ละบริษัท, ตรวจสอบภาษีอากร รวมถึงการติดตาม สำรวจแหล่งภาษี และดำเนินการเกี่ยวกับการเร่งรัดภาษีจากผู้จดทะเบียนบริษัท หรือหากให้พูดแบบเข้าใจง่ายก็คือ ตรวจสอบรายได้ของผู้จดทะเบียนบริษัททุกราย เพื่อเรียกภาษีที่พวกเขาจำเป็นต้องจ่ายนั่นเอง
แม้ว่านักธุรกิจบางราย อาจจะหลีกเลี่ยงสรรพากรด้วยการไม่จดทะเบียนบริษัท ไม่จดทะเบียนภาษี หรือปลอมแปลงบัญชีด้วยวิธีต่างๆ ที่ไม่มีหลักฐาน ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยตรง แต่สรรพากรมักจะคอยเป็นหูเป็นตา และมีขั้นตอนการตรวจสอบธุรกิจทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ และทำการตรวจสอบว่าธุรกิจดังกล่าวมีการจดทะเบียนบริษัทหรือมีการปลอมแปลงบัญชีเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งถ้าหากสรรพากรเล็งเห็นว่าอาจมีการทุจริตเกิดขึ้น พวกเขาก็สามารถดำเนินคดีกับเจ้าของธุรกิจดังกล่าว และเรียกคืนภาษีย้อนหลังตามกฏหมายได้
ซึ่งการเรียกคืนภาษีย้อนหลัง เรียกได้ว่าเรียกเก็บจนอ่วม เพราะนอกจากสรรพากรจะเรียกเก็บภาษีที่บริษัทควรจะเสียตามปกติแล้ว เมื่อเกิดการทุจริตขึ้น สรรพากรจะทำการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง รวมถึงค่าปรับ จึงทำให้ผู้จดทะเบียนบริษัทจำนวนมากเลือกที่จะจดทะเบียนภาษี และเสียภาษีอย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะจดทะเบียนบริษัทและลงทะเบียนเสียภาษีอย่างถูกต้อง และไม่มีการปลอมแปลงบัญชีแล้ว เจ้าของธุรกิจมักจะมีปัญหาจุกจิกที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับสรรพากรอยู่เสมอ
ในช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจ สรรพากรมักเรียกเจ้าของธุรกิจเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับข้อมูลการดำเนินงานของบริษัท แม้ในบางกรณี ธุรกิจยังไม่มีรายได้หรืองบประมาณในการทำงาน ซึ่งนั่นหมายความพวกเขายังไม่ต้องเสียภาษี แต่สรรพากรก็ต้องตรวจสอบเพื่อประเมินและหาทางป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น
และนักธุรกิจอาจจะลืมจดทะเบียนภาษี ลืมส่งภาษีบางอย่างไป หรือลืมบันทึกรายได้และรายจ่ายบางอย่างไป เนื่องจากการจดทะเบียนบริษัท จำเป็นต้องส่งภาษีและแสดงค่าใช้จ่ายของบริษัทหลากหลายหมวด ไม่ว่าจะเป็น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมถึงภาษีที่เกิดจากค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าโฆษณา, ค่าบริการ, ค่าขนส่ง, ค่าซ่อมแซม เป็นต้น
สรรพากร ตรวจสอบบริษัทที่เข้าข่ายทุจริตด้วยวิธีใด? ธนาคารเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่?
ผู้จดทะเบียนบริษัทจำนวนมาก มักเข้าใจผิดว่าสรรพากรสามารถตรวจสอบความผิดปกติของการเดินบัญชีจากการรายงานข้อมูลจากธนาคาร หรือการตรวจสอบว่าบริษัทนั้นๆ ไม่เสียภาษีเลย หรือเสียภาษีน้อยเกินกว่าที่ควรจะเป็น แต่ความจริงแล้ว สรรพากรมิได้พบข้อผิดปกติของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของบริษัทจากการรายงานของธนาคาร แต่สรรพากรจะใช้การประเมินโดยพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของบริษัทโดยตรง โดยการประเมินของสรรพากร มี 3 ข้อ ดังนี้
- ประเมินสถานะผู้ประกอบการ คือ การนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบพฤติกรรมของบริษัททั้งหมด มาประเมินและวิเคราะห์ซ้ำอีกครั้ง เพื่อหาสิ่งผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น
- วิเคราะห์พฤติกรรมความเสี่ยงของการดำเนินกิจการแต่ละประเภท หรือ Data Analytics โดยทางสรรพากรจะเปรียบเทียบบริษัทนั้นๆ กับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยวิธีประเมินวิธีนี้ เป็นวิธีที่แม่นยำอย่างมาก เนื่องจากจะสามารถค้นหาความผิดปกติของบริษัทที่ทุจริตได้อย่างชัดเจน
- ประมวลผลความเสี่ยง หรือ Risk Based Audit โดยสรรพากรจะมีเกณฑ์กำหนดความเสี่ยงของแต่ละบริษัทจำนวน 151 เกณฑ์
ดังนั้น จดทะเบียนบริษัทจะไม่ส่งข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับการธุรกรรมของบริษัทเลยก็ตาม หรือส่งรายงานบันทึกธุรกรรมให้แก่สรรพากรอย่างถูกต้องแล้ว แต่สรรพากรก็สามารถตรวจสอบบริษัทเพิ่มเติมเพื่อหาความผิดปกติได้ ด้วยการประเมินทั้ง 3 ข้อในข้างต้น
และประเภทบริษัทที่เสี่ยงต่อการถูกสรรพากรตรวจสอบมากที่สุด คือ บริษัทที่รับชำระเงินสดมากกว่าการชำระเงินประเภทอื่น (การชำระเงินประเภทอื่น เช่น การโอนผ่านบัญชีธนาคาร) เนื่องจากการชำระเงินด้วยเงินสด สามารถกระทำการทุจริตได้ง่าย เพราะไม่มีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่าผู้บริโภคชำระเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่
นอกจากการประเมินหลัก 3 ข้อในข้างต้น ซึ่งมีความแม่นยำสูงแล้ว รองอธิบดีกรมสรรพากรได้ออกมาเปิดเผยวิธีการทำงานของสรรพากร ว่าใช้หลักเกณฑ์อะไรเพิ่มเติมในการประเมินบริษัทที่อาจจะเข้าข่ายธุรกิจ โดยหลักเกณฑ์การประเมินอย่างเป็นทางการของสรรพากรนั้นมีทั้งหมด 10 ข้อ และจากการประเมินด้วยหลักเกณฑ์นี้ พบว่า มีจำนวนบริษัทที่เข้าข่ายทุจริตโดยเบื้องต้นมากกว่า 26,000 แห่ง ซึ่งบริษัทที่พบล้วนเป็นบริษัทที่ผู้ประกอบการเดินทางไปยังสรรพากรเพื่อพูดคุยและแก้ไขด้วยตัวเอง ยังไม่รวมถึงบริษัทที่จงใจทุจริต และยังคงปิดบังรายได้ที่แท้จริงอยู่
หลักเกณฑ์การประเมินอย่างเป็นทางการของสรรพากร 10 ข้อ มีดังนี้
- ผู้ประกอบการโดยมากจะให้ผู้บริโภคชำระค่าใช้จ่ายด้วยเงินสดเป็นหลัก ไม่ผ่านขั้นตอนการทำธุรกรรมโดยสถาบันการเงินใดๆ
- รายการสินค้าคงเหลือไม่ตรงกับความเป็นจริงไม่ว่าขาดหรือเกิน ไม่มีการบันทึกรายได้ตามข้อมูลจริง
- ไม่มีทรัพย์สิน หรือ มีทรัพย์สินมากจนผิดปกติ ซึ่งทั้ง 2 กรณีเกิดขึ้นได้หากมีการทุจริต หรือปลอมแปลงบัญชีรายรับรายจ่าย
- ผลประกอบการขาดทุน แม้ว่าจะได้รับเงินกู้ยืมแล้วก็ตาม และไม่สามารถชี้แจงการใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน
- บัญชีของบริษัทขาดทุนสะสมเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่า เหตุใดบริษัทดังกล่าวจึงไม่นำเงินที่ได้รับการกู้ยืมจากกรรมการมาใช้ในการลงทุน ส่อให้เห็นถึงความผิดปกติอย่างชัดเจน
- บันทึกรายได้ไม่ตรงตามความเป็นจริง
- บันทึกรายการธุรกรรมไม่ครบถ้วน เช่น รายได้ต่ำ แต่มีเงินมากพอที่จะให้กรรมการกู้ยืม
- มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น แต่รายได้ของผลประกอบการลดลง
- ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เมื่อเทียบกับรายได้ หรือกำไรสุทธิ
- การสร้างรายรับรายจ่ายอันเป็นเท็จ
บทสรุป
ดังนั้น ผู้จดทะเบียนบริษัทควรศึกษาข้อมูลการเสียภาษี และดำเนินการด้านธุรกรรมโดยเน้นการให้ผู้บริโภคชำระเงินผ่านช่องทางธนาคารที่มีหลักฐานครบถ้วน สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความสบายใจทั้งผู้บริโภค สรรพากร และสำหรับผู้จดทะเบียนบริษัท เอง เพราะนอกจากทุกฝ่ายจะสามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงแล้ว หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น หรือถูกตรวจสอบย้อนหลัง ผู้จดทะเบียนบริษัท ก็สามารถเรียกเก็บหลักฐานการชำระเงินทั้งหมดของผู้บริโภค เพื่อยื่นเป็นหลักฐานให้แก่สรรพากรได้📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™