รับปิดบริษัท-หจก

รับปิดบริษัท-หจก เริ่มต้น 14,900 บาท@พร้อมเครียร์จบทุกปัญหาภาษี จบทุกประเด็นกับสรรพากร | มาตรฐานผู้เชี่ยวชาญ©

ใช้บริการเรา“รับปิดบริษัท-หจก” ราคาเริ่มต้น 14,900 บาท เครียร์ทุกปัญหาทางภาษีที่ฝังรากลึก ไร้ข้อกังวล ไร้ข้อกังขาและจบสิ้นทุกปัญหาที่ตามมา เรารับประกัน | มาตรฐานผู้เชี่ยวชาญ©📌Station Accout – เรารับปิดบริษัทได้ปลอดภัยที่สุด™

ปิด ห จก
✔ สิ่งที่ท่านจะได้รับ
    Add a header to begin generating the table of contents

    จ้างผู้เชี่ยวชาญรับปิดบริษัท-หจกต้องเรา

    ในวงการคนทำธุรกิจ การที่บริษัททำอยู่นั้นจะต้องปิดตัวลงถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะกำไรขาดทุนนั้นมักเกิดขึ้นได้เสมอ อยู่ที่ว่าคุณจะรู้ตัวตอนไหนและจัดการอย่างไร แต่ก่อนที่จะทำการปิดและจ้างผู้เชี่ยวชาญ รับปิดบริษัท-หจก จะต้องรู้ก่อนว่าธุรกิจของมันมาถึงจุดที่ต้องเลิกแล้วจริง ๆ หรือไม่และหากว่าต้องปิดตัวลงจริง ๆ ต้องทำอย่างไร เราทำความเข้าใจในปัญหาที่เรากำลังจะเสนอพร้อม ๆ กัน

    14 สัญญาณที่ชี้ว่าธุรกิจเดินต่อไปไม่ไหว ต้องปิดตัว

    ก่อนที่เราจะไปดูในเรื่องของการจ้างสำนักงานบัญชีเรารับปิดบริษัท-หจก เราไปเช็คกันก่อนว่าธุรกิจของคุณนั้นถึงเวลาแล้วหรือยัง โดยจะต้องเช็คจาก 14 สัญญาณที่เรากำลังจะนำเสนอนี้ ต้องบอกก่อนเลยว่าหากพบความผิดปกติไวมากเท่าไหร่ จะทำให้บริษัทของคุณยุติได้แบบไม่มีหนี้สินมากกว่าเดิม ดังนี้

    •หลายปีที่ผ่านมาขาดทุนมาโดยตลอด ซึ่งตรงนี้จะสามารถทราบได้จากการดูงบกำไรขาดทุนของกิจการ หากพบว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปี หรือมากกว่านั้นขาดทุนติดต่อกันนั้นอาจเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก ส่อแววว่าธุรกิจของคุณอาจไม่สามารถไปต่อได้ในอนาคต

    •ไม่มีกำไรสะสม สิ่งนี้เป็นตัวแสดงถึงสถานะทางการเงินของธุรกิจ ในส่วนของผู้ถือหุ้นหากพบว่ากิจการที่ลงทุนทำไปนั้นไม่เกิดผลกำไรสะสม นั้นหมายถึงว่าตลอดระยะเวลาที่ดำเนินธุรกิจมาตลอดนั้นไม่มีอะไรงอกเงยและผู้ถือหุ้นเองก็ไม่ได้รับเงินปันผล แม้คุณะเถียงเราว่าธุรกิจไม่ได้ขาดทุนสะสม แต่หากมองในเรื่องของโอกาสและเวลา ควรทำอย่างอื่นคุ้มค่ากว่านั้นเอง

    •หมุนเงินไม่ทัน มาถึงข้อนี้ถือเป็นสัญญาณตัวสำคัญ เพราะเรื่องเงินหมุนเวียนหรือกระแสเงินสดเริ่มมีปัญหา ติดขัด มีการยืมเงินผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของอยู่บ่อย ๆ นั้นเป็นคำตอบว่าควรหยุด มิเช่นนั้นก็จะเข้าเนื้อ

    •หนี้สินล้น แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำธุรกิจก็ต้องมีบ้างที่มีหนี้สิน แต่ก็ควรอยู่ในลิมิตที่เหมาะสมและอย่าให้เกินสินทรัพย์ที่มี เพราะนี้จะเป็นสัญญานเตือนว่า ภาระจากหนี้สิน นี้บริษัทอาจจะรับไม่ไหว เช่น เมื่อปิดตัวไปและขายสินทรัพย์ก็ยังไม่พอใช้หนี้นั้นเอง

    •ยอดขายลดลง การทำธุรกิจมีบ้างที่ยอดขายจะขึ้น ๆ ลง ๆ ถือเป็นเรื่องปกติก็ตาม แต่ก็ใช่ว่าจะละเลยได้ ควรจะทราบถึงสาเหตุที่ยอดขายลง

    •ส่วนแบ่งการตลาดลดน้อยลง แม้ว่ายอดขายในตอนนี้ของคุณยังมีอยู่ แต่ก็อย่าได้ชะล่าใจ เพราะหากพบว่าคู่แข่งเติบโตมากกว่า สิ่งนี้ถือว่าน่ากลัวไม่น้อย ก่อนที่จะสู้เขาไม่ได้ควรรีบเร่งทำการตลาดเพื่อเรียกลูกค้ากลับมาให้สูงขึ้น ลองสังเกตจากเรื่องง่าย ๆ เช่น ในตลาดมีสินค้ากลุ่มเดียวกันกับเรา ซึ่งคุณจะต้องดูว่าลูกค้าแวะร้านเราเท่าไหร่ คู่แข่งเท่าไหร่ต่อวัน

    •มีคู่แข่งเพิ่มขึ้น สำหรับเรื่องนี้มีความน่ากลัวไม่แพ้ส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยลง เพราะนี้อาจทำให้ธุรกิจของคุณปิดตัวลงได้ เพราะธุรกิจทุกวันนี้เข้าง่าย ล้มง่าย แต่อยู่ยาก คู่แข่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ฉะนั้นการทำธุรกิจหากยังอยากอยู่บนสังเวียนการทำธุรกิจจะต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ หากะล่าใจคุณก็อาจจะต้องปิดตัวลง

    •ลูกค้าเก่าหายไป ลูกค้าเก่าหรือลูกค้าประจำถือเป็นสิ่งที่สะท้อนว่าธุรกิจของคุณนั้นเป็นที่พึงพอใจ จนเกิดการซื้อซ้ำ แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งเขาหายไปนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้คุณพัฒนาตัวเองและกลับมาถามตัวเองว่าบกพร่องอะไร และควรพัฒนาอย่างไร ในส่วนของลูกค้าใหม่ คุณก็จะต้องหาทางเรียกให้เขามาใช้บริการ

    •สินค้าโดนเคลมเรื่องคุณภาพ หากพบว่ามีลูกค้าร้องเรียนเรื่องปัญหาคุณภาพของสินค้า จริงอยู่ว่าธุรกิจของคุณอาจรับเคลม แต่หากพบปัญหานี้อยู่บ่อยครั้ง ไม่เป็นผลดีต่อธุรกิจของคุณอย่างแน่นอน เพราะสินค้าของคุณขาดคุณภาพ ควรแก้ไขเพื่อยุติปัญหา

    •เทคโนโลยีล้าสมัยกว่าคู่แข่งหรือไม่ทันสมัย เราขอพูดในแง่ของการติดต่อสื่อสาร หากธุรกิจของคุณไม่มีการพัฒนาในส่วนนี้เลย อาจทำให้เสียโอกาสเข้าถึงลูกค้า เช่น การติดต่อผ่านไลน์ เป็นช่องทางที่สามารถส่งเอกสาร ภาพถ่ายได้สะดวก รวดเร็วกว่า แต่หากคุณยืนยันที่จะส่งแฟกซ์ แน่นอนจะทำให้ล่าช้าและไม่เข้ากับยุคสมัย

    •สินค้าในสต๊อกค้างเยอะ การที่สต๊อกสินค้าไว้เยอะ ๆ อาจทำให้เรื่องต้นทุนลดลง แต่หากขาดการจัดการระบายสินค้าออกไป อาจทำให้สินค้าใกล้หมดอายุ ซึ่งแม้จะเถียงว่าก็นำมาเลขาย ก็ไม่ผิดแต่ไม่ใช่เรื่องดีสักเท่าไหร่ ผู้บริโภคหรือลูกค้าเองก็ต้องการของสดใหม่ เก็บไว้ได้นานไม่แพ้กัน หากไม่อยากต้องปิดกิจการอย่าลืมเช็คสต็อกสินค้า

    •ความสัมพันธ์คนในองค์กรไม่ดีเท่าไหร่นัก เรื่องนี้ก็มีความสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของงาน ซึ่งผู้ประกอบจะต้องใส่ใจและสังเกตถึงความผิดปกตินี้ ยิ่งหากใครที่เปิดกิจการแล้วมีพนักงานไม่กี่คน เมื่อเกิดความสัมพันธ์ด้านลบส่งผลต่องานอย่างแน่นอน อย่างเช่น พนักงานฝ่ายขายไม่พอใจหัวหน้า ทำให้ไม่อยากขาย แน่นอนยอดขายจะต้องตก ส่งผลอย่างมากทีเดียว ควรรีบปัญหานี้หากไม่อยากต้องเป็นปัญหาใหญ่ลุกลาม

    •มีการทุจริตเกิดขึ้นในบริษัท ถือเป็นสิ่งที่องค์กรหรือบริษัทไม่ควรปล่อยไว้ หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานจะทำให้เป็นปัญหาในที่สุด

    •พนักงานเริ่มลาออก เรื่องนี้ผู้ประกอบการจะต้องสังเกตให้ดี ๆ ว่าพนักงานที่ทำงานดี ขัยน อดทน ทำไมถึงลาออกกัน ไม่ใช่แค่งานเยอะ แต่อาจเพราะระบบจัดการไม่มีประสิทธิภาพ ไร้ซึ่งการดูแล รวมถึงสวัสดิการ หากอค์กรขาดคนที่มีคุณสมบัติอย่างที่เราว่า องค์กรหรือบริษัทอาจจะมีปัญหา

    จดทะเบียนเลิกบริษัท-หจก

    •จัดทำหนังสือประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อให้ทุกคนได้ลงมติพิเศษว่าจะมีการบริษัท ซึ่งจะมีการส่งเอกสารไปแจ้งอย่างน้อยก่อน 14 วัน สามารถส่งได้ทั้งไปรษณีย์หรืออีเมล์ให้แก่ผู้ถือหุ้นและแจ้งประชาสัมพันธ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ครั้ง เราาผู้รับปิดบริษัทดำเนินการให้

    •เมื่อมีการส่งหนังสือไปแล้วจะต้องเริ่มการจัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่ได้ลงมติพิเศษให้เลิกในที่ประชุม

    •จะต้องดำเนินเรื่องไปประกาศหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้ง และหากมีหนี้คงค้างจะต้องส่งหนังสือบอกกล่าวเจ้าหนี้ ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ได้มีการลงมติเลิกบริษัทซึ่งสำนักงานบัญชีรับปิดบริษัทเป็นผู้จัดทำ

    •ทางผู้ประกอบการจะต้องมีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ตรงจุดนี้เราผู้รับปิดบริษัทจัดทำเพื่อดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกการเปิดทำการหรือเลิกกิจการบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วันนับจากวันที่มีการลงมติเลิกบริษัท

    ความสำคัญของการจ้างเรา รับปิดบริษัท-หจก

    การที่บริษัทจะปิดตัวลงไม่ใช่แค่การติดป้ายประกาศหรือประตูเท่านั้น แต่หมายถึงการดำเนินการทางกฎหมายต่างๆ ทั้งในเรื่องของภาษี การทำงบการเงิน หนี้สินที่ธุรกิจมี สินทรัพย์เหล่านี้จะปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้ควรจะดำเนินการให้เรียบร้อย หากผู้ประกอบไม่สะดวกหรือไม่มีความชำนาญด้านนี้ ควรจ้างสำนักงานบัญชีรับปิดบริษัท เหตุผลที่ต้องจ้างก็เพราะเรื่องรายละเอียดมีมากมาย หากไม่มีความชำนาญอาจเกิดความผิดพลาดได้ เราไปดูกันว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่บริษัทหรือกิจการต้องเครียร์

    เราเป็นผู้ทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัทและจดชำระบัญชี

    •เราผู้รับปิดบริษัท-หจก จะทำหน้าที่ทำงบการเงินชุดสุดท้ายของการเลิกบริษัทหรือจะเป็นวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก โดยตรวจสอบโดยให้ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่าถูกต้อง

    •ให้ดำเนินการนัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีการอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ โดยจะต้องมีการนำเรื่องนี้ไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 7 วัน ก่อนที่จะมีการเริ่มประชุมและสามารถเลือกได้ว่าจะส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบไปยังตัวผู้ถือหุ้น

    •ในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นครั้งนี้ เพื่อลงมติเพื่ออนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการและอนุมัติการชำระบัญชีทั้งหมด

    •หลังจากที่มีการดำเนินการจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีแล้ว หากคำนวณแล้วพบว่ามียอดเงินคงเหลือให้คืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่มีการลงเงินตามจำนวนถือหุ้นหรือตามข้อบังคับที่ได้มีการกำหนด

    •ให้ดำเนินการอีกครั้งในการออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี

    •เริ่มต้นการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชี

    •ผู้ชำระบัญชีจะต้องเป็นผู้จัดการทำหนังสือคำขอจดทะเบียนเพื่อชำระบัญชีและยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 14 วันนับจากที่ผู้ถือหุ้นมีมติเสร็จการชำระบัญชี

    ดำเนินการส่งภาษีให้ครบถ้วน พร้อมแจ้งเลิกกิจการกับสรรพากร

    การจะปิดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนอย่างที่บอกไปไม่ใช่แค่การปิดประตูเท่านั้นและไม่เพียงแจ้งเลิกกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยเท่านั้น สิ่งที่จะต้องทำในลำดับต่อมาคือ การเช็คว่าส่งภาษีต่างๆ ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่และในส่วนที่หากใครมีการดำเนินจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว ก็อย่าลืมไปแจ้งเลิกกิจการกับกรมสรรพากร

    รับปิดบริษัท-หจกพร้อมมาตรฐาน สรุปภาษี 4 รูปแบบ

    1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม แนะนำว่าจะต้องแจ้งเลิกกิจการที่สรรพากร ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้มีการดำเนินการจดทะเบียนเลิกต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พร้อมกับต้องยื่นเอสารดำเนินกิจการแบบ ภ.พ.30 ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับ “หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษี” จากกรมสรรพากร

    2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล ทางเราผู้รับปิดบริษัท จะต้องเตรียมเอกสารในการดำเนินกิจการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมงบการเงิน ณ วันจดทะเบียนเลิกกิจการภายใน 150 วัน นับจากวันที่จดทะเบียนเลิกบริษัท

    3.ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จะต้องดำเนินการยื่นเอกสารดำนเนินกิจการแบบ ภ.ง.ด.3, 53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปจากวันที่จดทะเบียนเลิกให้ครบถ้วน เช่น การหัก ณ ที่จ่าย ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี เป็นต้น

    4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องยื่นเอกสารในการดำเนินกิจการแบบ ภธ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากวันที่เลิกบริษัทหรือกิจการในกรณีที่มีบัญชีดอกเบี้ยค้างรับ หรือดอกเบี้ยในงบการเงิน

    จากรายละเอียดแต่ละข้อจะเห็นว่ามีความยุ่งยากและมีความละเอียดพอสมควร สำนักงานบัญชีเรารับปิดบริษัท-หจก มีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อความถูกต้องแม่นยำ | มาตรฐานผู้เชี่ยวชาญ©

    ทำไมลูกค้าส่วนใหญ่ในประเทศเลือกให้เรา
    รับปิดบริษัท-หจกให้

    ปิด บริษัท ค่า ใช้ จ่าย

    เครียร์จบทุกประเด็นภาษีกับสรรพากร

    ช่วยชี้แจ้งปัญหาข้อกังขา

    วางแผนเครียร์ปัญหาเอกสารและบัญชี

    วิธี ปิด บริษัท

    รับปิดบริษัทตามมาตรฐานทางบัญชี

    ปิด ห จก ใช้ เงิน เท่า ไหร่

    ให้การรับประกันการเคลียร์ปัญหา

    การันตีโดยนักวิชาชีพบัญชี

    คำถามที่พบบ่อย

    คำถามที่พบบ่อย (การปิดบริษัท-หจก)

    • จำนวนผู้ร่วมก่อตั้งหรือผู้ร่วมทุน ซึ่งในการเริ่มต้นจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนนั้น จะต้องมีจำนวนผู้ก่อตั้งหรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป แต่หากเราจะจดทะเบียนเป็นบริษัทจะต้องมีผู้ร่วมทุนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป ถ้าลองมองเทียบกันในเรื่องของจำนวนผู้เริ่มก่อตั้งแล้วก็จะทำให้เรามองเห็นภาพง่าย ๆ ว่าห้างหุ้นส่วนสามารถจัดตั้งได้ง่ายกว่าบริษัท
    • เรื่องของความรับผิดชอบ อย่างที่ชื่อการจดแจ้งแสดงไว้นั่นก็คือ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งคำว่าจำกัดนั้นก็มาจากการที่จำกัดความรับผิดชอบตามทุนจดทะเบียนของเรานั่นเอง ในส่วนของบริษัทจะจำกัดความรับผิดชอบให้กับทุกคนที่เป็นหุ้นส่วนหากมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจจะรับผิดชอบตามเปอร์เซ็นต์หุ้นที่แต่ละคนได้ถือไว้ ในทางกลับกันถ้าเป็นการจดทะเบียนแบบห้างหุ้นส่วนจะต้องมีคนหนึ่งในหุ้นส่วนทั้งหมดเป็นคนถือหุ้นส่วนผู้จัดการ ที่จะต้องรับผิดชอบไม่จำกัดจำนวน นั่นหมายความว่าคนที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะมีความเสี่ยงกว่าหุ้นส่วนคนอื่น ซึ่งแตกต่างจากบริษัทจำกัดที่ทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบเท่ากัน
    • ราคาค่าธรรมเนียมในการจัดตั้ง อย่างที่เราได้ทราบกันไปในข้างต้นแล้วว่า การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามารถจัดตั้งได้ง่ายกว่าบริษัทและมีราคาค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าเช่นกัน แต่ต้องยอมรับความเสี่ยงในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

    สำหรับผู้ที่จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนแล้ว ข้อควรระวังที่พึงต้องทราบก็คือทุนจดทะเบียน แม้ว่าท่านจะทำการจดทะเบียนบริษัทมานานแล้วหรือกำลังจะจดทะเบียน เรื่องของทุนจดทะเบียนก็ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความสับสนกันอยู่ สำหรับผู้ประกอบการแล้วเรื่องที่ควรจะทราบอันดับแรกก็คือ ผู้ประกอบการต้องมีเงินทุนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับจดทะเบียนอยู่ก่อนมากกว่าเงินจดทะเบียน 25% โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัททั่วไปจะนิยมจดทะเบียนบริษัทกันอยู่ที่  1 ล้านบาท ซึ่งก็ทำให้หลายคนเกิดคำถามสงสัยขึ้นมาว่าทำไมผู้ประกอบการจึงนิยมจดทะเบียนกันอยู่ที่เรทราคานี้ ซึ่งหากถามว่าบริษัทที่จะทำการจดทะเบียนนั้นสามารถจดเพิ่มขึ้นหรือน้อยกว่านี้ได้หรือไม่  คำตอบคือสามารถทำได้แต่หากมองในมุมกลับกันจะพบว่าเวลาที่บริษัทเราต้องการทำธุรกิจซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนสินค้าขึ้นมาและจำเป็นต้องมีการทำสัญญาซื้อขายในเรทราคาที่สูงขึ้น แน่นอนว่าความน่าเชื่อถือขององค์กรคุณจากเงินทุนการจดทะเบียนบริษัทนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเกิดความราบรื่น ทั้งยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทเพื่อให้คู่ค้าของเราเกิดความมั่นใจในการที่จะมาทำธุรกิจด้วยกับเรานั่นเอง

    เนื่องจากประเทศไทยเองก็ได้มีกฎหมายเพื่อควบคุมธุรกิจของชาวต่างชาติที่จะมาทำธุรกิจในไทย เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวต่างชาติเข้ามาหาประโยชน์ในไทยมากจนเกินไป ดังนั้นในการจดทะเบียนหากมีชาวต่างชาติร่วมทำธุรกิจด้วยจะยังสามารถจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนได้ไหม คำตอบก็คือสามารถทำได้แต่ผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหุ้นอยู่ในการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนไม่เกิน 49 % หรือน้อยกว่าครึ่งนึงของทั้งหมดนั่นเอง ถามว่าทำไมรัฐจึงต้องมีมาตรการนี้ออกมาให้คุณลองนึกถึงทัวร์ศูนย์เหรียญที่เดินทางมาโดยไกด์ของต่างชาติ รถของต่างชาติ และโรงแรมร้านค้าเป็นของเขาหมด ซึ่งนั่นทำให้รายได้และภาษีไม่ได้เข้าสู่ประเทศเลยแม้แต่บาทเดียว ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการแสวงกำไรจากต่างชาติจนเกินไปการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีชาวต่างชาติจึงต้องมีการควบคุมการถือหุ้นด้วยนั่นเองและในการที่เราจะดำเนินธุรกิจใด ๆ สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเลยนั่นก็คือเรื่องภาษีนั่นเอง ชาวต่างขาติที่จะเข้ามาทำธุรกิจในประเทศของเราก็มีความจำเป็นที่จะต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับคนไทย

    ไว้ใจสำนักงานบัญชีของเรา เป็นผู้รับปิดบริษัท-หจกให้ ด้วยประสบการณ์และมาตรฐานนักวิชาชีพบัญชีที่เรามีรองรับให้กับธุรกิจท่าน การันตีต่อความถูกต้อง “หมดทุกความกังวลต่อการโดนตรวจสอบ เมื่อคุณเลือกเรา”