หนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการทำบัญชีงบดุลต่าง ๆ นั้นจะต้องมีการทำงบการเงินและยังจะต้องมีการ “ปิดงบการเงิน” ให้เรียบร้อยด้วย สำหรับคนที่ทำงานบัญชี เป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นนิติบุคคลยังไงก็ต้องรู้จัก เพราะเป็นการจัดทำบัญชีงบการเงินส่งแก่ทางสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หากไม่มีการปิดงบในแต่ละรอบบัญชีมันก็ไม่สมบูรณ์ หากไม่ส่งงบการเงินก็จะมีโทษปรับตามที่กฎหมายกำหนด มาทำความเข้าใจกันให้มากขึ้นกันได้เลย
การปิดงบการเงินคืออะไร ขั้นตอนเป็นแบบไหน
เป็นการทำงบการเงินปกติเลย ซึ่งก่อนจะปิดเราก็ต้องทำงบก่อน พอจัดการเรื่องงบการเงินเสร็จแล้วก็ให้ปิดงบการเงินตอนถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชี ย้ำว่ายังไงก็ต้องทำงบการเงินให้ดีเพราะจะต้องนำส่งแก่ทางกรมสรรพากร จะต้องยื่นกันทุกปีอยู่แล้ว ส่วนจะยื่นออนไลน์หรือไปที่สำนักงานเองก็ตามสะดวกเลย การทำงบการเงินจะแสดงให้เห็นข้อมูลทางการเงินของบริษัทว่าเป็นอย่างไร
ขั้นตอนการทำบัญชีเพื่อการปิดงบการเงินสมบูรณ์
มันไม่ใช่การทำเอกสารแผ่นเดียวหรือทำรายรับรายจ่ายแล้วจบ แต่ยังมีอีกหลายขั้นตอนมาก ๆ ที่จะทำให้ขั้นตอนการทำงบการเงินนั้นเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งเวลาทำบัญชีรวบรวมข้อมูลทางการเงินนั้นมีขั้นตอนการทำตามด้านล่างนี้
1. การระบุและวิเคราะห์ธุรกรรมทางธุรกิจ
เวลาทำบัญชีขั้นแรกนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลก่อน รวบรวมทุกอย่างมาให้พร้อมเพื่อนำเข้าสู่ระบบ และจะต้องเป็นข้อมูลที่ละเอียด ถูกต้องด้วย เพื่อให้ทำบัญชีได้ถูกตามจำนวนเงินจริง พร้อมทั้งให้จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วย
2. ทำบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน
อีกหนึ่งอย่างคือการทำสมุดรายวัน ซึ่งเป็นรูปแบบของการจดลงกระดาษหรือจดบันทึกนั่นเอง จะทำแบบออนไลน์ก็ได้เหมือนกัน ส่วนมากจะนิยมทำเป็นแบบบัญชีคู่จะช่วยเก็บข้อมูลได้ดีกว่า ซึ่งจะได้ข้อมูลทั้ง เดบิต-เครดิตเลย เห็นทั้งยอดขาย ยอดซื้อ การรับ จ่ายเงินสดต่าง ๆ ด้วย หากข้อมูลนี้ละเอียดเวลาปิดงบการเงินก็จะสะดวกเลยเหมือนกัน
3. การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท
เป็นการทำบัญชีแยกประเภทที่เป็นสมุดบัญชีที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงบัญชีที่เกิดขึ้นว่ามีการทำธุรกรรมอะไรบ้างในระยะเวลาที่ผ่านมา ยอดที่เหลือมีอะไรเท่าไหร่บ้าง ทั้งบัญชีเดบิต เครดิต ซึ่งจะมีการถ่ายโอนไปยังบัญชีเงินสดในบัญชีแยกประเภท จะทำให้คำนวณการเพิ่มลดของบัญชีเงินสดได้ ทำให้สรุปยอดได้
4. ทำงบทดลองก่อนการปรับปรุง
เป็นการทดสอบข้อมูลเดบิต เครดิต ว่าทั้งสองฝั่งนั้นเท่ากันไหม เพราะว่าเวลารวมยอดบัญชีทั้งหมดจะถูกแยกออกจากบัญชีแยกประเภทแล้วค่อยถูกนำมารวมในรายงานสรุปฉบับเดียว หากมีข้อผิดพลาดจะทำให้แก้ไขได้ง่าย ที่ต้องทดสองแบบนี้ก็เพื่อหาผลลัพธ์รวมจากบัญชีต่าง ๆ แต่ก็ยังเอามาเป็นข้อสรุปลงในบันทึกได้
5. ปรับปรุงรายการทางบัญชี
เป็นการเตรียมการเพื่อนำไปสู่การบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง ซึ่งบางทีเราก็จะพบว่ามีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแต่ว่ายังไม่มีในบันทึกในสมุดบัญชี รวมถึงการมีรายได้เข้าแต่ไม่มีบันทึกด้วย จะต้องปรับปรุงรายการบัญชีจะเป็นการเพิ่มเติมยอดได้ ซึ่งในการปรับปรุงนั้นก็จะพิจารณาก็มียอดค้างรับ ยอดค้างจ่าย การจ่ายล่วงหน้า การเสื่อมราคา และการตั้งสำรอง ปรับปรุงให้ดีในการปิดงบการเงินในขั้นตอนสุดท้ายจะได้ไม่มีปัญหา
6. ทำงบทดลองก่อนการปรับปรุง
อาจจะดูวุ่นวายหลายขั้นตอนสักหน่อยแต่ก็ต้องทำ สำหรับการทดลองหลังจากปรับปรุงรายการแล้ว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนสรุปงบทางการเงินสุดท้าย ซึ่งการทดลองหลังปรับปรุงนี้จะแสดงให้เห็นว่ายอดเดบิตก็ตรงกับเครดิตหรือไม่
7. งบการเงิน
พอทำการปรับปรุงข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ครบหมดแล้ว ต่อไปก็เป็นการทำงบการเงินอย่างเป็นขั้นตอนท้ายสุดของระบบบัญชี แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นการปิดงบการเงิน ซึ่งในงบการเงินก็จะมีขั้นตอนและส่วนประกอบเป็น งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบการแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบแสดงฐานะทางการเงิน งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นต้น
8. รายการปิดบัญชี
เป็นการทำบัญชีกำไรขาดทุนหรือบัญชีชั่วคราว ก็คืออย่างบัญชีรายได้นั้นจะมีการปิดบัญชีซึ่งจะนำไปสู่การทำบัญชีในรอบใหม่ และนำไปสู่การสรุปยอดรวมด้วยและจัดทำบัญชีเงินทุนให้เหมาะสม ซึ่งก็ต้องพิจารณาว่าจะปิดบัญชีนั้นเฉพาะกำไรขาดทุนหรือว่าบัญชีอื่นด้วย
9. การดำเนินการหลังปิดงบบัญชีทดลอง
เป็นอย่างสุดท้ายที่จะทำในงานบัญชีคือการปิดงบบัญชีทดลอง แน่นอนว่ายังอยู่ในขั้นตอนการทดลองเหมือนเดิม เป็นการทำเปรียบเทียบเดบิต เครดิต โดยบัญชีกำไรขาดทุนจะสามารถปิดงบได้โดยทันที ขณะที่การเตรียมปิดงบบัญชีทดลองซึ่งมันก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชี
10. การกลับรายการทางบัญชี
จะเป็นการทางเลือกสำหรับทำบัญชีใหม่ เป็นการเตรียมสำหรับเริ่มต้นรอบบัญชีใหม่นั่นเอง เพราะบัญชีแต่ละรอบนั้นพอปิดงบการเงินเสร็จแล้วก็จบ จะต้องเริ่มใหม่อีกครั้งนั่นเอง ซึ่งวิธีการกลับรายการทางบัญชีนั้นก็จะเกี่ยวทั้งกับรายได้ค้างรับ ค้างจ่าย รับล่วงหน้า จ่ายล่วงหน้า แต่การบันทึกจะกลับกันทั้งหมดจากที่เคยทำไว้ตอนสิ้นงวดก่อนนี้
การปิดงบการเงินจำเป็นอย่างไร
- ทำให้เจ้าของกิจการเห็นตัวเลขข้อมูลฐานะการเงินของบริษัทตัวเอง
- ทำให้นำข้อมูลที่ได้นำไปสู่การวางแผนในการพัฒนาธุรกิจได้
- การทำบัญชี ทำงบการเงินของบริษัทครบถ้วนสมบูรณ์
- นำข้อมูลทางบัญชีการเงินส่งทางกรมสรรพากรได้อย่างถูกต้อง
- ปิดงบการเงินเสร็จก็ทำให้รู้ว่ารอบบัญชีนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว
หากคุณเป็นเจ้าของกิจการขั้นตอนการทำบัญชีก็จำเป็นจะต้องรู้ แม้ว่าจะเป็นบริษัทที่จ้างพนักงานบัญชีมาเป็นคนช่วยทำงานก็ตาม เราจะได้มองเห็นสถานะทางการเงินของตัวเองได้และทำให้รู้ว่าจะต้องปรับเปลี่ยนหรือพัฒนากิจการของตัวเองไปในทิศทางไหนดี
ทำความรู้จักงบการเงินคืออะไร
บทสรุป
สรุปแล้วในการทำบัญชีงบการเงินนั้นสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมาก ในแต่ละรอบบัญชีจะต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบและปิดงบการเงินให้สมบูรณ์เพื่อที่จะได้นำยื่นส่งข้อมูลแก่ทางกรมสรรพากรได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งปกติจะต้องยื่นเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว งบการเงินนั้นพอถึงกำหนดสิ้นรอบบัญชีก็ต้องปิดไป แสดงฐานะการเงินให้ถูกต้อง หากทำเองไม่ถนัดนักปัจจุบันนี้ก็มีสำนักงานบัญชีให้เลือกใช้ จะทำให้การทำบัญชีและปิดงบการเงินสะดวกมากขึ้น
หากคุณเป็นเจ้าของกิจการไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มหรือทำมานานแล้วอย่าลืมทำระบบบัญชีของกิจการตนเองให้เรียบร้อย หากบัญชีไม่ดีก็จะยากมากที่จะรู้ถึงข้อมูลและสถานะทางการเงินของกิจการ แล้วยังส่งผลไปให้ระบบอื่น ๆ มีปัญหาไปด้วย บางกิจการต้องเลิกไปบางทีอาจเป็นเพราะไม่ทำบัญชีให้ดีก็ได้รวมไปถึงการบริหารการเงินไม่ได้ดี แต่มันก็อาจจะเกี่ยวกับปัจจัยอื่นด้วยเหมือนกัน แต่เอาเป็นว่าบัญชี งบการเงินสำคัญมาก ในแต่ละรอบบัญชีทำให้ครบแล้วปิดงบการเงินทุกครั้งพร้อมยื่นส่งแก่ทางเจ้าหน้าทุกปีตามหน้าที่จะดีต่อกิจการเอง📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™