หลายคนจะรู้ว่าในไทยเรามีสิทธิหนึ่งที่คนไทยหลายคนนั้นได้รับอยู่แต่อาจจะน้อยคนนักที่รู้ว่าจะต้องใช้ยังไงถึงจะคุ้มกับสิทธิ์ที่มีนั้น นั่นคือว่าด้วยเรื่องของภาษีหากจะเอาแบบละเอียดยิบคงยาวหลายกิโลเลย สำหรับบทความนี้จะมาพูดเฉพาะเรื่อง″ภาษีชาวต่างชาติ″ว่าคืออะไร มีอะไรบ้าง เพราะเงินภาษีนั้นจำเป็นมาก ๆ ต่อการพัฒนาประเภทและในทุกประเทศล้วนจะต้องใช้ภาษีกันทั้งนั้น อย่างคนในประเทศไทยเรา ทำงาน มีรายได้ก็ต้องจ่ายภาษีเข้าประเทศเป็นปกติ และในส่วนของชาวต่างชาติเองก็มีเรื่องภาษีเช่นกัน จะเป็นต่างชาติประเภทศไหนที่เข้ามาหารายได้ในไทยก็ต้องมีการจ่ายภาษีตามที่กฎหมายไทยได้กำหนดเอาไว้ มาทำความเข้าใจเรื่องภาษีชาวต่างชาติกันเลยว่ามีอะไรบ้างกันนะ
ภาษีชาวต่างชาติมีอะไรบ้าง ทำงานในไทยต้องเสียภาษีไหม
ตามกฎหมายของไทยแล้วการเรียกเก็บภาษีก็จะมีจาก 2 แหล่ง สำหรับกรณีของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็จะนับจากแหล่งที่มาเงินได้ และอีกแหล่งก็จะเป็นจากถิ่นที่อยู่ มาเรียนรู้ทั้ง 2 แหล่งกันหน่อยว่าเป็นภาษีชาวต่างชาติแบบไหน
- ภาษีที่มาจากแหล่งเงินได้ หมายถึง มีเงินได้จากประเทศไหนอำนาจก็ย่อมเป็นไปตามกฎหมายของการเก็บภาษีจากบุคคลนั้น ซึ่งจะมีเงื่อนไขย่อยลงไปอีก 4 กรณีด้วยกัน
- ภาษีชาวต่างชาติที่ทำงานในไทย ก็สำหรับชาวต่างชาติที่ทำงานในไทยเราก็รับเงินจากในประเทศนี้ ก็ต้องเสียภาษี แต่ว่ามันก็มีเงื่อนไขอยู่หากอยู่ในเกณฑ์ที่จะถูกยกเว้นการจ่ายภาษีได้ก็ยังไม่ต้องจ่ายเช่นกัน แต่ไม่ว่าอย่างไรชาวต่างชาติที่มีรายได้ก็ต้องยื่นภาษี ในส่วนของการยกเว้นก็ต่อเมื่อเข้าเกณฑ์อนุสัญญาภาษีซ้อนนั่นเอง
- ในกรณีที่มีกิจการในไทย หรือชาวต่างชาติที่ประกอบกิจการในประเทศนี้ก็แน่นอนว่าจะต้องมีการยื่นภาษีเช่นกันนะ เอาแบบเข้าใจง่าย ๆ คือ ถ้าหากมาทำร้านอะไรสักอย่าง มีรายได้เข้ากิจการ ก็ยื่นภาษีบุคคลธรรมดาแบบนั้นเลย เป็นอีกหนึ่งภาษีชาวต่างชาติที่ต้องยื่นถ้าเข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียก็ย่อมต้องจ่ายภาษีตามกฎหมาย
- ภาษีชาวต่างชาติที่ได้มาจากเงินได้จากกิจการหรือนายจ้างที่อยู่ในไทย คนจ้างเป็นคนไทย ต่อให้จะรับเงินที่ประเทศไหนถ้ารับจากคนไทยก็ต้องนำรายได้จำนวนนั้นไปยื่นภาษีชาวต่างชาติแบบบุคคลธรรมดาของไทยเหมือนกัน แต่ก็จะแยกย่อยลงไปอีกเป็น 2 กรณีด้วยกัน
- สำหรับชาวต่างชาติที่ทำงานให้กับบริษัทของไทยเพียงอย่างเดียวนั้น ก็จะได้เสียภาษีเหมือน ๆ กับคนไทยที่ทำงานปกติเลย
- สำหรับชาวต่างชาติที่ทำงานให้ทั้งบริษัทของไทยและต่างประเทศด้วย แบบนี้ก็ต้องดูเป็นกรณีไปเช่นกันคือดูว่า บริษัทที่เป็นของต่างประเทศเกี่ยวกับบริษัทอะไรในไทยไหม แล้วเงินได้นั้นมาไทยไหม ซึ่งก็จะมีการแยกออกไปอีกตามนี้
- เป็นบริษัทต่างประเทศที่ไม่ได้มีส่วนใดเกี่ยวกับบริษัทไหนในไทยเลย อย่างเช่น ไม่ใช่บริษัทในเครือ ไม่มีความเกี่ยวพันธุ์อะไรกับที่ไหน แต่ก็มีการเอาเงินได้เข้ามาในไทยในช่วงปีภาษีแน่นอนว่าก็ต้องมีการนำมาคิดคำนวณด้วย เพื่อเสียภาษีชาวต่างชาติแบบบุคคลธรรมดาในไทยนั่นเอง
- อีกกรณีคือเป็นบริษัทต่างประเทศแต่ว่าเกี่ยวกับบางบริษัทไหนไทย อาจจะเป็นในเครือ บริษัทแม่ หรือเกี่ยวพันธุ์กันแบบไหนก็ตาม กฎหมายได้ระบุไว้แล้ว หากมีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) ไม่ว่าจะเป็น เงินโบนัส เงินเดือน ที่มาจากบริษัทนั้น ๆ ก็จะต้องมีการยื่นภาษีนะ
โดยจะต้องยื่นเป็นแบบบุคคลธรรมดา โดยต้องเอาเงินได้ที่มาจากทั้งไทยและต่างประเทศมารวมกัน จากนั้นคิดคำนวณภาษีเงินได้พึงประเมิน เพื่อเสียภาษีชาวต่างชาติบุคคลธรรมดาในไทย เว้นแต่ว่าเงินได้นั้นไม่เกี่ยวข้องกับงานในบริษัทอะไรของไทยจริง ๆ
- รายได้ที่มาจากทรัพย์สินอะไรก็ตามที่อยู่ในไทย แบบนี้ก็ถือว่าเกิดในประเทศไทยนั่นเอง ต่อให้เจ้าของทรัพย์จะเป็นใครก็ตาม จะคนไทย คนต่างประเทศ ก็คิดเป็นเงินได้ในไทยอยู่ดีเพราะอยู่ในไทย อาจจะเป็นเงินค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็น แน่นอนว่าจะต้องนำมาคำนวณภาษีนะ
- การคิดคำนวณเงินได้โดยดูจากถิ่นที่อยู่ ก็จะดูว่าเข้ากรณีเหล่านี้ไหม คือ มีเงินได้จากการทำงานที่ต่างประเทศ หรือมาจากบริษัท กิจการ ร้าน อื่น ๆ ที่อยู่ในต่างประเทศ หรือเงินได้มาจากทรัพย์สินที่ต่างประเทศ เงื่อนไขนั้นก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร พอมีเงินได้แล้วและมีการนำเข้ามาในไทยของปีภาษี หรือเป็นผู้ที่อยู่ในไทยรวมกันแล้ว 180 วันในปีภาษี จะเป็นคนไทย คนต่างชาติก็นับแบบนี้ แต่ถ้าหากมันไม่มีอะไรเข้าเงื่อนไขเลยก็ไม่ต้องเสียภาษีชาวต่างชาติ
จริง ๆ เรื่องของภาษีมันก็ละเอียดอ่อนไม่น้อยเลยไม่ว่าจะเป็นสำหรับชาวไทยเองหรือจะเป็นเรื่องภาษีชาวต่างชาติ ก็ต้องทำความเข้าใจให้ดีเสมอ เพื่อจะได้ยื่นได้อย่างถูกต้องและเสียภาษีได้อย่างถูกกฎหมาย และหากมีอะไรลดหย่อนได้ก็ค่อยไปว่ากันอีกที เพราะว่าแต่ละคนก็ใช้สิทธิ์การลดหย่อนแตกต่างกันออกไป
เกณฑ์การเสียภาษีชาวต่างชาติเป็นอย่างไร
อย่างแรกเลยหากเป็นต่างชาติที่มีรายได้ตามมาตรา 40 (1) ก็จะให้ยื่นเป็น ภ.ง.ด. 91 หากมีการเข้าเงื่อนไขที่กำหนด คือ จะต้องไม่มีคู่สมรสที่มีเงินได้ในปีภาษีล่วงหน้ามา เกิน 5 หมื่น หรือ มีคู่สมรสมีเงินได้ในปีภาษีล่วงหน้ารวมกันเกิน 1 แสน ก็จะต้องยื่นภาษีภายในเดือน มี.ค. ของปีต่อไป เป็นแบบบุคลธรรมดา
ต่อมาเป็นกรณีที่เป็นชาวต่างชาติที่มารายได้จากทางอื่นตาม มาตรา 40 (2) ก็คือจะไม่ใช่เงินเดือน เงินโบนัสอะไรเหล่านี้ เป็นรายได้แหล่งอื่น เงื่อนไขก็จะเป็น ไม่มีคู่สมรสที่มีเงินได้ในปีภาษีล่วงหน้าเกิน 3 หมื่น หรือ มีคู่สมรสที่มีเงินได้ในปีภาษีล่วงหน้ารวมกันเกิน 6 หมื่น ก็ต้องยื่นภาษีเหมือนกัน
ภาษีชาวต่างชาติสามารถลดหย่อนได้หรือไม่
คนไทยเรายังไม่ชอบการเสียภาษีเยอะ ๆ เลย แม้ว่ามันจะเป็นเงินเข้าไปช่วยพัฒนาประเทศก็ตาม แต่มันก็หมายถึงเงินเข้าเราจะลดลงด้วย สำหรับภาษีชาวต่างชาติเองก็คงไม่ต่างกัน การมีอะไรที่จะมาช่วยแบ่งเบาภาระภาษีนี้ได้คงจะดีไม่น้อย แน่นอนว่ามีหลายกรณีด้วยกันที่นำมาใช้ในการลดหย่อนภาษี เช่น หากแต่งงานแล้วคู่สมรสไม่มีรายได้ก็ลดหย่อนได้ที่ 6 หมื่นบาท ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 6 หมื่นบาทต่อปี บุตร 3 หมื่นบาทต่อคน แต่ว่าได้สูงสุดไม่เกิน 3 คนนะ และ หากมีค่าลดหย่อนจากแหล่งอื่นก็นำมาใช้ได้ อย่าง กองทุน ประกันชีวิต เป็นต้น
จริง ๆ ก็ไม่ค่อยจะต่างกับของคนไทยเท่าไหร่ ยังดีกว่าไม่มีอะไรมาช่วยเลย ประหยัดเงินในการจ่ายภาษีไปได้ตั้งเยอะ สำหรับการยื่นภาษีชาวต่างชาติแบบ ภ.ง.ด. 90/91 นั้น จะต้องยื่นภายใน 31 มี.ค. ของปีต่อไปนะห้ามลืมเด็ดขาด โดยให้ยื่นกับทางกรมสรรพากรประเทศไทย จะต้องนำแบบแสดงรายได้มายื่นอย่างถูกต้อง ว่าที่ผ่านมาปีก่อนนี้มีเงินได้มาจากแหล่งไหน เท่าไหร่ เข้าเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีหรือไม่ทางกรมสรรพากรจะมีเงื่อนไขอยู่ สำหรับคนที่มีรายได้เยอะมาก ๆ การหาวิธีที่มาช่วยในการลดหย่อยถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่ควรมองข้ามเลย ลองเลือกสักทางที่ตนเองถนัดและสามารถทำได้ ดีกว่าการจ่ายเต็มอยู่แล้ว
บทสรุป
สำหรับคนต่างชาติเองหากมีเงินได้ที่อยู่ในประเทศไทย หรือทำอะไรที่ก่อให้เกิดเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต่าง ๆ ในไทย ก็ย่อมต้องยื่นภาษีเช่นกัน ภาษีชาวต่างชาติที่ทำงานในไทยหรือบริษัทในเครือก็ตามจะต้องศึกษาเอา เพราะว่าภาษีย้อนหลังมันทำให้หลายคนหนาวสั่นไม่น้อยเลยนะ ใครที่อยู่ในไทยเกิน 180 วันแล้วในปีภาษี ก็นับว่าเป็นถิ่นที่อยู่ รายได้ทั้งหมดจะต้องถูกนำมาคำนวณ แต่ถ้าหากไม่ได้อยู่ไทยถึง 180 วัน แต่ก็ยังมีเงินได้ที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ในประเทศไทยจะต้องนำรายได้จากส่วนนี้มาคำนวณ จะไม่ใช่การนำรายได้ทั้งหมดมาคำนวนภาษีเหมือนแบบแรกนั่นเอง เป็นข้อสรุปง่าย ๆ ของภาษีชาวต่างชาติ ใครที่มีคนรู้จักเป็นชาวต่างชาติหากเขาจะทำงานในไทย หรือหาเงินได้จากแหล่งต่าง ๆ ในไทยอย่าลืมให้เขาศึกษาเรื่องภาษีของไทยให้ดีด้วยนะ📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™