TFRS คืออะไร มาตรฐานที่สำคัญทางการเงิน

TFRS คืออะไร มาตรฐานที่สำคัญทางการเงิน

สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงของงานบัญชีคงจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันเป็นปกติสำหรับศัพท์คำนี้ TFRS มันดูแปลกตาไม่เบาเลย แต่ในงานด้านการบัญชีแล้วไม่รู้ไม่ได้เด็ดขาด เพราะใช้กันเยอะเลยไม่ว่าจะเป็นในบริษัททั่วไป หรือจะเป็นธุรกิจที่จด Vat แล้ว หรือจะเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วก็ตาม แล้ว TFRS คืออะไร ชวนทุกคนมาหาคำตอบไปพร้อมกัน มีความสำคัญทางด้านบัญชีแบบไหนบ้าง ใครจะเป็นผู้จัดทำ ถ้าพร้อมแล้วมาอ่านกันได้เลย

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    ทำความเข้าใจ TFRS คืออะไร ใช้ทำอะไรในด้านบัญชี

    คำว่า TFRS อ่านตามตัวเลย ทีเอฟอาเอส เพราะว่าเป็นตัวย่อที่มาจากคำว่า Thai Financial Reporting Standard เป็นตัวที่จะแสดงถึงมาตรฐานรายงานทางการเงินของประเทศไทยเรา จะเรียกว่าธุรกิจไหนที่อยู่ภายใต้มาตรฐานนี้ก็จะมีมาตรฐานระดับหนึ่งเลย ซึ่งจะอยู่ในการดูแลของสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ที่จัดทำ TFRS นี้ขึ้นมาจะเป็นคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานบัญชี และต้องเป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในด้านการเงิน การลงทุน การบัญชีโดยเฉพาะเลย ทั้งหมดจะมี 15 คน ซึ่งในนั้นก็จะมีทั้งสำนักงานสอบบัญชร ผู้ทำงานด้านบัญชี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การลงทุน หน่วยงานภาครัฐ ตลาดทุน และอาจารย์มหาลัย เป็นต้น จะแปลให้เข้าใจง่าย ๆ เลยคือ TFRS คือ มาตรฐานรายงานการเงิน นั่นเอง

    การจัดทำ TFRS มีกระบวนการทำอย่างไร

    ทุกปีเลย และจะต้องมีการทำอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา ผ่านการพิจารณา การสัมมนา การกรองมาอย่างดีแล้ว มาดูกันว่าในกระบวนการทำ TFRS นั้นมีอะไรบ้างดังนี้

    • การวิจัยติดตาม การศึกษาวิจัย

    ทางคณะกรรมการศึกษาจะต้องติดตาม IFRS ที่อยู่ในการทำ IASB ตัวย่อเยอะไปหมด ก็คือเป็นคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ได้ทำการดูเนื้อหาการร่าง IFRS รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการที่มีการใช้ TFRS ซึ่งจะดูทั้งผลกระทบต่อระบบงาน การทำรายงานการเงิน และอื่น ๆ ด้วย โดยจะทำการวิเคราะห์สรุปเนื้อหาผลที่มีการเปลี่ยนแปลงใน 1 เดือนหลังจากวันที่ส่งคอมเมนต์เลทเตอร์แล้ว

    • ทำการวางแผนจัดทำ TFRS

    ทุกอย่างจะต้องมีแผนเสมอขั้นตอนนี้ทางคณะกรรมการจะกำหนดมาตรฐานการบัญชีและวางแผนในการทำ TFRS ซึ่งก็จะพิจารณามาจากการทำ IFRS ของทาง IASB เหมือนกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการกำหนดมาตรฐานบัญชีและจะกล่าวถึงผลกระทบที่มีการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า 2 ปี เป็นอย่างน้อย จะได้ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีการเตรียมพร้อมรับมาตรฐานใหม่ พร้อมทั้งต้องมีการแจ้งในเว็บของทางสภาบัญชีด้วย

    • การทำมาตรฐานรายงานการเงิน

    ในส่วนของกระบวนการนี้คณะกรรมการจะกำหนดมาตรฐานการบัญชี และมีการยกร่างมาตรฐานรายงานการเงินแบบภาษาไทย เพราะว่าใน IFRS จะเป็นภาษาอังกฤษ แล้วก็เอาผลกระทบของการใช้ TFRS จากการศึกษาของอนุกรรมการติดตามมาตรฐานรายงานการเงินมาพิจารณาต่อ โดยเวลาที่จะร่างใหม่นั้น 2 เดือน เป็นอย่างน้อย นับจากวันที่ได้รับ IFRS มา

    • จัดสัมมนาเพื่อพิจารณาสร้างความเข้าใจ TFRS

    กระบวนการนี้ทางกรรมการจะกำหนดมาตรฐานบัญชีแล้วเอาร่างรายงานการเงินฉบับภาษาไทยลงในเว็บสภาวิชาชีพบัญชี ฯ แล้วจะมีการจัดทำสัมมนาเพื่อพิจารณาพร้อมทำความเข้าใจต่อไป และไม่ใช่แค่นั้นในสัมมนานี้ยังมีการรับฟังผลกระทบ ฟังความเห็นด้วย ว่าการนำ TFRS ไปใช้นั้นมีผลกระทบอะไรบ้าง โดยจะต้องจัดสัมมนาในระยะเวลาที่เพียงพอและเหมือนสมกับความยากง่ายของงานด้วย

    • กระบวนการนำเสนอร่างมาตรฐานฯ

    โดยจะต้องเสนอต่ออนุกรรมการกลั่นกรองมาตรฐานบัญชี และทางสภาวิชาชีพบัญชี และกรรมการดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีด้วย จะต้องนำเสมอให้ครบทุกชุดคณะกรรมการที่กล่าวมา จะได้ทำการพิจารณาเห็นชอบ ระยะเวลาการยื่นเสนออยู่ที่ 1 เดือนของแต่ละชุดกรรมการ และต้องมีการรายงานความคืบหน้าด้วย เป็นระยะ ไม่ใช่ยื่นไปเสนอแล้วจบเลย

    • หลังจากมาตรฐานได้รับการเผยแพร่

    พอมีการประกาศเผยแพร่รายงานทางการเงินประกาศลงราชกิจจานุเบกษาหลังจากนั้นทางคณะกรรมการเทคนิคจะทำคู่มืออธิบายมาตรฐานออกมา เพื่อเป็นการสรุปถึงการเปลี่ยนแปลง สรุปผลกระทบของ TFRS ว่าอะไรเปลี่ยนไปบ้าง

    เชื่อว่าหลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ก็ยังไม่เข้าถึง TFRS กันเท่าไหร่ อย่างที่กล่าวไปว่ามันเป็นเหมือนตัววัดมาตรฐานอย่างหนึ่งนั่นเอง ซึ่งมาตรฐานนี้จะใช้ในทางบัญชีและสำหรับดูมาตรฐานการรายงานการเงินของกิจการ ในปัจจุบันก็มีหลายฉบับที่มีการประกาศใช้แล้ว

    ปัจจุบัน TFRS ฉบับสำคัญที่ประกาศใช้มีอะไรบ้าง

    โดยในแต่ละฉบับก็จะมีวัตถุประสงค์ของตนเอง สำหรับเจ้าของกิจการที่อยากรู้ว่า TFRS มาตรฐานที่สำคัญทางการปัจจุบันมีฉบับไหนประกาศบ้าง มีดังนี้

    1. ฉบับ TFRS9 ตัวนี้จะเป็นมาตรฐานในการรายงานทางด้านการเงิน เรื่องของเครื่องมือทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็น ใบแจ้งหนี้ ใบวางบิล สัญญาการกู้เงิน หุ้นสามัญ พันธุบัตร เป็นต้น โดยวัตถุประสงค์หลักของ TFRS ฉบับที่ 9 นี้จะเป็นการกำหนดวิธีการปฏิบัติในทางบัญชี การวัดมูลค่าของทรัพย์ทางการเงิน วัดหนี้สิน การรับรู้รายการ และรายละเอียดสัญญาการซื้อขาย และยังเป็นฉบับที่กำหนดหลักการรายงานการเงิน ทรัพย์สิน หนี้สิน ทางการเงิน เพื่อเสนอข้อมูลที่น่าสนใจต่อผู้ใช้งบการเงินด้วย จะใช้ในการประเมินจำนวนเงินได้ ดูได้ทั้งจังหวะ เวลา กิจการเป็นแบบไหนเงินสดเป็นอย่างไร เพื่อให้ TFRS ฉบับที่ 9 สะท้อนผลการดำเนินงานแท้จริงจะมีการแบ่งออก 3 ส่วนนี้
    • จะเป็นตัวจัดประเภทรายการ วัดมูลค่าสินทรัพย์ หนี้สิน ต่าง ๆ ทางการเงิน
    • จะทำให้รู้ผลการขาดทุน จากการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน
    • ด้านการบัญชีจะเป็นการป้องกันความเสี่ยง

    ซึ่งฉบับนี้จะเป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในอดีตด้วย โดยพิจารณาจากอดีต ปัจจุบันเป็นแบบไหน และจะทำให้คาดการณ์อนาคนได้ว่าเป็นแนวทางอย่างไร

    1. ฉบับ TFRS15 หรือจะเรียกว่า มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 ก็ได้ ซึ่งฉบับนี้จะเป็นเรื่องรายได้ จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า สำหรับฉบับนี้ก็มีที่มามาตรฐานเดียวกับ Convergen Project เป็นความร่วมมือของ FASB กับ IASB ซึ่งหลักการสำคัญของ TFRS ฉบับที่ 15 นี้จะเป็นเรื่องของการกำหนดให้ธุรกิจรับรู้รายได้ที่แสดงการส่งมอบทั้งสินค้าและบริการ ที่สัญญาให้ลูกค้าเป็นจำนวนเงิน ซึ่งขั้นตอนในการรับรู้จะมีดังต่อไปนี้
    • ระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า
    • ระบุภาระที่ต้องทำในสัญญา
    • กำหนดราคาของรายการให้เรียบร้อย
    • ปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องทำในสัญญา
    • รับรู้รายได้

    สำหรับกิจการที่จะได้รับผลโดยตรงสำหรับ TFRS ฉบับที่ 15 จะเป็นกิจการที่มีรายการขายค่อนข้างซับซ้อน ขายพ่วง อย่างธุรกิจเกี่ยวกับโทรศัพท์ที่มีการขายสัญญานอินเตอร์เน็ตพ่วงด้วย หรือขายแพ็คเก็จต่าง ๆ ธุรกิจคมนาคม ธุรกิจเทคโนโลยีที่ขายพวกระบบต่าง ๆ เป็นต้น

    1. ฉบับ TFRS16 สำหรับฉบับนี้จะเป็นเรื่องมาตรฐานรายงานการเงินเกี่ยวกับสัญญาเช่า โดยหลัก ๆ จะเป็นเรื่องการวัดมูลค่า การแสดงรายการ การรับรู้รายการ และการเปิดเผยข้อมูลสัญญาเช่า จะมีวิธีแนะนำแบบเดียวกับผู้เช่าเลยและกำหนดให้ต้องรับรู้สินทรัพย์ หนี้สิน สำหรับสัญญาเช่าทุกสัญญาเช่ามากกว่า 12 เดือน ยกเว้นแต่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของสัญญาเช่าที่ มูลค่าน้อย ด้านผู้เช่า TFRS ฉบับที่ 16 จะรับรู้สินทรัพย์ สิทธิการใช้สินทรัพย์อ้างอิงที่เช่าและหนี้สินด้วยตามสัญญาเช่า และทางผู้เช่ายังต้องจัดประเภทสัญญาเช่า ให้เป็นสัญญาเช่าดำเนินงานหรือเช่าเงินทุน

    นักบัญชีกับ TFRS สำคัญต่อกันอย่างไร

    การบัญชีมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินอยู่แล้ว และ TFRS ก็เป็นมาตรฐานรายงานทางการเงินที่สอดคล้องกัน มาดูกันว่าความสำคัญอะไรบ้างที่มาตรฐานนี้จะเข้ากันและเกี่ยวกับนักบัญชีมีดังนี้

    • ในด้านธุรกิจ TFRS สำคัญอย่างมาก เป็นตัวหนึ่งที่รวมธุรกิจแต่ละวันเลยว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การจ่าย และธุรกรรมแบบต่าง ๆ แถมยังเป็นตัวที่ควบคุมกิจการให้อยู่ในแบบงบการเงินที่นักลงทุนและเกี่ยวข้องได้อ่านง่าย ๆ ว่ากิจการนี้เป็นแบบไหน เป็นรายงานทางการเงินธุรกิจที่ละเอียดอย่างมาก
    • การใช้มาตรฐาน TFRS ยังทำให้เห็นความโปร่งใสของธุรกิจ สรรพากรก็ตรวจได้ง่าย และในนั้นยังมีเนื้อแท้รายงานไว้ชัดเจน งบการเงินชัดมาก
    • เป็นตัวกำหนดแนวทางการรับรู้ การวัดมูลค่าของสิ่งต่าง ๆ ในงบการเงินได้

    บทสรุป

    แน่นอนว่าเรื่องรายละเอียดและการใช้ TFRS มาตรฐานรายงานทางการเงินแบบนี้มันไม่ง่ายเลย แต่ถ้าหากอยู่ในแวดวงธุรกิจและทำธุรกิจยังไงก็ต้องให้ความสำคัญ เป็นตัวบ่งชี้หลาย ๆ อย่างที่ทำให้อ่านธุรกิจได้เลย โดยเฉพาะใครที่จะต้องพึ่งพานักลงทุนเป็นหลักหรือธุรกิจที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ หากใช้มาตรฐานนี้ สำหรับใครที่จะทำธุรกิจ ทำงานบัญชี การศึกษาเรื่องมาตรฐานรายงานทางการเงินสากลตัวนี้จำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจ เป็นตัวหนึ่งที่จะทำให้งบการเงินดูง่ายขึ้น นักลงทุนอ่านง่ายและเพิ่มโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจได้อีกด้วยนะ แต่ว่า TFRS มีหลายฉบับที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน อย่าลืมศึกษาอย่างละเอียดเสมอจะได้ลดความผิดพลาดลงไป อย่าลืมให้เวลาและใส่ใจในการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ได้จริง📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ