ขาดทุนสะสมเกินทุน คืออะไร แนวทางแก้ไขในบทความนี้

ขาดทุนสะสมเกินทุน คืออะไร แนวทางแก้ไขในบทความนี้

คนทำธุรกิจมีกุมขมับหากเจอกับการขาดทุนสะสมเกินทุนใครที่ไม่ค่อยเก่งเรื่องบัญชียิ่งจะต้องหาความรู้เพิ่มเติม เพราะเรื่องบัญชีกับการทำธุรกิจนั้นมันเป็นของคู่กัน เป็นเจ้าของกิจการเองก็ควรจะต้องรู้ แต่ถ้าถามว่าเราจ้างพนักงานบัญชีมาอยู่แล้วหรือจ้างบริษัททำบัญชีทำให้ ไม่รู้ก็ได้ จะเป็นอะไรไหม มันก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่มันดีกว่าเยอะหากเรารู้ที่มาที่ไปของเงินในบริษัทตัวเองทุกบาท แต่ในเมื่อกำลังเจอกับปัญหานี้อยู่จะทำอย่างไร มีแนวทางการแก้แบบไหนได้บ้าง ที่จะช่วยให้ธุรกิจยังคงอยู่ต่อได้ แน่นอนว่ามันไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกทั้งหมดเสียทีเดียว เพราะการทำธุรกิจมันต้องมองหลายอย่าง มีหลายมุมมาประกอบกัน ติดตามอ่านกันได้เลย

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    มาทำความเข้าใจขาดทุนสะสมเกินทุนคืออะไรเจ้าของกิจการต้องรู้

    การทำธุรกิจแบบมีความรู้ด้านบัญชีด้วยนั้นจะทำให้สามารถจัดการบริหารเงินต่าง ๆ ในธุรกิจตัวเองได้คล่องมากขึ้นเมื่อเทียบกับการไม่รู้อะไรเลยจะเน้นขาย เน้นหาลูกค้า หากำไร ทำตลาดอย่างเดียวเลย โดยไม่ได้ดูงบ ไม่ดูบัญชี ปัญหาการขาดทุนสะสมเกินทุนมันเกิดขึ้นได้ และมันเกิดขึ้นแล้วกับหลายกิจการ นักบัญชีรู้กันดี ขาดทุนสะสมเกินทุนคืออะไร ความหมายทางด้านบัญชีก็คือ เป็นภาวะที่กิจการหรือธุรกิจนั้น ได้มีการขาดทุนแบบไม่หยุดเลย ขาดทุนไปเรื่อย ๆ ขาดทุนบ่อยมาก ขาดทุนแบบสะสมกันไปจนรวมกันแล้วมันมากกว่าเงินทุนจดทะเบียนที่เจ้าของกิจการได้จ่ายนั่นเอง

    มายกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น เช่น คุณได้ก่อตั้งธุรกิจและมีการจดทะเบียนไว้ที่เงินทุนจำนวน 1 ล้านบาท ในปี 64 แต่ว่า 3 ปีต่อมานั้นตลอดระยะเวลานั้น ๆ ก็มีกำไรบ้าง แต่ว่าขาดทุนบ่อยมาก ขาดทุนเรื่อย ๆ ดูในงบกำไรขาดทุนของบริษัทคุณเองได้เลย พอเข้ามาในระยะปีที่ 3 ปรากฏว่าตัวเลขการขาดทุนมันเกิน 1 ล้านไปเยอะมาก ยอดขาดทุนสะสมอยู่ที่ 2.5 ล้าน แต่ทุนที่จดทะเบียนไว้มีเพียงล้านเดียว มันก็เกินมาถึง 1.5 ล้านเลย แบบนี้แหละที่เรียกขาดทุนสะสมเกินทุนนั่นเอง ยิ่งถ้ากิจการนั้นมีหนี้สิ้นเยอะ แต่ว่าทรัพย์สินน้อย แบบนี้กำลังแย่เลย

    อะไรคือสาเหตุที่หลายธุรกิจต้องเจอกับภาวะขาดทุนสะสมเกินทุน

    มันไม่มีใครที่ริเริ่มกิจการมาเพื่อเจ๊งแน่นอน แต่สิ่งที่เจ้าของกิจการหลายคนพลาดคือการไม่ยอมดูบัญชีธุรกิจตัวเองเลย ว่าเงินไปไหนไปกับอะไรบ้าง แต่มันก็ไม่ได้เกี่ยวกับภายในองค์กรอย่างเดียว เพราะว่าปัจจัยหลายอย่างก็ส่งผลให้เกิดภาวะขาดทุนสะสมเกินทุนได้เหมือนกัน ฉะนั้นแล้วแต่ละบริษัทจะต้องทำการวิเคราะห์และหาสาเหตุกันอย่างลงลึกและละเอียดมาก ๆ เพื่อดูว่ามันเป็นเพราะอะไรบ้าง เพื่อจะหาทางแก้ได้ตรงจุด ปัญหาที่พอจะยกตัวอย่างได้ที่เป็นสาเหตุของการขาดทุนแบบนี้มีดังนี้

    1. บริษัทมีรายได้ มีกำไรก็จริง แต่ว่าค่าใช้จ่ายนั้นสูงมาก ๆ และสูงติดต่อกันมายาวนานหลายปีมาก ยังไงก็ต้องเจอกับการขาดทุนจนได้ เพราะยอดใช้จ่ายมันก็คือจำนวนเงินของบริษัทที่ใช้ไป
    2. มีหนี้สิ้นมากจนกิจการเริ่มจะไปไม่ไหว มาจากการบริหารจัดการเงินในองค์ได้ไม่ดี ถ้าไม่แก้ยังไงก็ไปไม่รอดแน่นอน แน่นอนมันอาจเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะไม่มีหนี้ แต่มีน้อยหรือไม่มีเลยจะดีกว่า
    3. บางครั้งปัจจัยจากภายนอกก็มีส่วน เช่น เป็นช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ถดถอยมาหลายปี ทำให้กำไรลดลง ธุรกิจไม่ปรับตัวให้ทันสถานการณ์ เทคโนโลยีล่าช้า ไม่รู้พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ แน่นอนว่าผลประกอบการก็หายไปด้วยนั่นเอง
    4. อีกอย่างที่จะต้องคำนึงถึงตลอดคือแม้ว่าบริษัทจะมีเงินสดอยู่ มันก็ไม่ใช่ตัวยืนยันว่ามันจะไม่ขาดทุนสะสมเกินทุน เพราะก็ไม่รู้อยู่ดีว่าเงินสดนั้นมาจากอะไร อาจจะเก็บมาก่อน อาจจะยืม ฉะนั้นบริหารตรงนี้ให้ดีด้วย

    อย่างที่กล่าวไปว่าเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากกิจการของคุณกำลังเจอปัญหาแบบนี้อยู่ การวิเคราะห์หาต้นสายปลายเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไรเป็นสิ่งแรกที่ควรทำ และการมีบัญชีที่เก่ง การบริหารธุรกิจที่เก่งและดีมีความรู้นั้นจะช่วยให้กิจการไปได้รอดกว่าเดิม เพราะการคอยแก้ปัญหาเมื่อถึงภาวะแบบนี้บางครั้งมันอาจจะสายเกินไป กันไม่ให้มันเกิดขึ้นย่อมดีกว่า การมีคนในองค์กรที่มีความรู้ด้านการบริหารและบัญชีที่มีความสามารถอยู่ด้วย มันเป็นเรื่องที่ดีสำหรับบริษัทเลย เพราะคนเก่งที่ดีอยู่กับที่ไหนเปอร์เซ็นที่จะนำพาองค์กรประสบความสำเร็จก็ย่อมมีสูงกว่าอยู่แล้ว แต่สำหรับเจ้าของกิจการขนาดเล็ก พนักงานไม่มี นักบัญชีต้องจ้าง บางครั้งการหาความรู้ด้านการบริหาร บัญชี เพิ่มเติมมาก็ช่วยได้เหมือนกันไม่มากก็น้อยแน่นอน

    ภาวะขาดทุนสะสมเกินทุนเมื่อเกิดขึ้นแล้วมีแนวทางแก้อย่างไร

    ดำเนินกิจการมาจนทำให้ขาดทุนขนาดนี้มันหนักมาก ๆ กิจการแทบจะยืนไม่ไหวเลย หากเป็นบริษัทหรือกิจการที่ต้องอาศัยนักลงทุนยิ่งทำให้ไม่อยู่ในสายตานักลงทุนแน่ ๆ แม้กระทั่งการยื่นเรื่องของกู้จากธนาคารก็คงไม่มีที่ไหนให้เป็นแน่ มันเหมือนเอาตัวลงกองไฟไปแล้ว 90% เลย น้อยนักจะมีใครกล้าเสี่ยงลงทุนด้วย เพราะแค่ดูรายการบัญชีแล้วเห็นว่ามีภาวะขาดทุนสะสมเกินทุนทุกคนก็หันหนีไปหมดแล้ว แต่มันก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเสมอไป หลายกิจการก็ยังสู้ต่อไปได้และดีขึ้นแต่ในขั้วตรงข้ามก็ต้องหลายกิจการที่จะต้องยอมวางมือ ทางเลือกมีให้ไม่เยอะเท่าไหร่แนะนำลองดู 2 ทางนี้

    • ยังคงอยากไปต่อกับธุรกิจเดิมนี้อยู่แม้ต้องเจอภาวะขาดทุนสะสมเกินทุนแค่ไหน แนวทางที่จะช่วยแก้ได้ก็จะมีเป็น การเพิ่มทุน หรือการเพิ่มทุนลดทุนเป็นการล้างขาดทุนสะสมนั่นเอง หรือหาทางเพิ่มรายได้เข้ามายังบริษัทให้ได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งจะต้องวางแผนและหาทางดูหรือจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ลดได้ ลดต้นทุนอะไรที่มันลดได้ อะไรที่ตัดได้ก็ตัดออกไปก่อน หรือจะลองมาปรับโครงสร้างราคา ปรับกำไรขั้นต้นดู กรณีหนี้เยอะมาก ๆ ก็ให้เจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้ดู เป็นหนี้ใคร ธนาคารไหนไปคุยเลย แล้วให้ทำการวางแผนงบการสำหรับธุรกิจล่วงหน้าเอาไว้ มีแผนแล้วก็ค่อย ๆ ทำตามแผนไปเลย
    • ส่วนอีกทางเลือกหนึ่งก็คือ ปล่อยมือ ทิ้งธุรกิจนี้ไปเลย เริ่มใหม่ เอาใหม่ หากมีหนี้สินจะเคลียร์ยังไง ทรัพย์สินจะจัดการยังไง แล้วปิดตัวลงไปอย่างเลี่ยงไม่ได้เลย หากยังมีกำลังใจอยากจะทำธุรกิจใหม่ก็เริ่มใหม่เลย จดทะเบียนบริษัทใหม่ แม้จะเริ่มนับ 1 อีกครั้ง มันก็ไม่ได้เสียหายอะไร ทุกคนก็พลาดกันได้ทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าปัญหาของบริษัทเดิมอาจยังไม่หมดไปทันที อย่าลืมหาทางเครียร์ให้ดี โดยเฉพาะหนี้สิน เพราะถ้าปล่อยดอกเบี้ยอาจสูงและมันยังตามหลอกหลอนเราไปได้ตลอดเวลาแม้ว่ากิจการนั้นจะหยุดไปแล้วก็ตาม เพราะเจ้าหนี้ยังไงก็คือเจ้าหนี้อยู่ดี

    หากจะหาแนวทางที่มันแก้ไขได้แบบ 100% ในนี้มันคงยาก เพราะว่าเราไม่ได้เห็นกิจการของคุณมาว่าเป็นแบบไหน ดำเนินการอย่างไร บัญชี งบการเงิน หนี้สิน ทรัพย์สิน ต่าง ๆ เป็นแบบไหน และคุณสามารถประชุมหาทางแก้ ปรึกษานักบัญชี นักบริหารเก่ง ๆ ได้ เพื่อหาทางรับมือว่าจะเอาอย่างไรดีกับกิจการที่กำลังเจอการขาดทุนสะสมเกินทุนอยู่แบบนี้

    บทสรุป

    ธุรกิจที่กำลังเข้าขั้นวิกฤตจะเจ๊งเมื่อเจอกับการขาดทุนสะสมเกินทุนมากไป หากไม่ยอมทำอะไรเลยยังไงก็กลับมาปกติและมีกำไรยากมาก ๆ บริหารแบบขาดทุนมาเรื่อย ๆ เป็นระยะเวลาหลายปีแบบไม่มีแผนรองรับเลยมันกู้แทบไม่กลับ แต่ก็ยังพอมีทาง จะเพิ่มทุน จะตัดรายจ่าย ตัดอะไรที่ไม่จำเป็นต่อกิจการออก หาทางเพิ่มรายได้ หรืออะไรก็ได้ที่จะทำให้หน้าบัญชีกลับมาปกติได้ ให้รีบลงมือทำเลยหากคุณยังอยากจะดำเนินกิจการนี้ต่อ และถ้ามันเกินทุนมาไม่มากยังพอมีทางก็ยังอยากเชียร์ให้ไปต่อ แต่ถ้ามันเกินทุนจดทะเบียนไปเยอะมาก ๆ บางครั้งการยอมปล่อยมือแล้วหาทางเริ่มนับใหม่อาจเป็นทางออกที่ดีกว่าก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้มีอำนาจบริหารธุรกิจดังกล่าวได้เลยว่าจะสรุปแบบไหนดี 📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ