ระยะหลายปีที่ผ่านมาหากติดตามข่าวเศรษฐกิจเรื่องราวการเงินธุรกิจอยู่เป็นประจำ เราจะทราบข่าวในทำนองที่ว่าบริษัท A ได้ร่วมลงทุนหรือโยกย้ายการบริหารงานเดิมไปให้กับบริษัท B หรือบริษัท C ซึ่งกิจกรรมทางธุรกิจในเชิงนี้เรียกว่า “การควบรวมกิจการ” แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงภายในประเทศเท่านั้น บริษัทเจ้าของธุรกิจหลายประเภทในต่างประเทศเองก็มีการโยกย้ายทีมบริหารงานเดิมไปยังเจ้าของคนใหม่อยู่เป็นประจำ โดยการโยกย้ายเหล่านี้มีเหตุผลเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ ในวันนี้เราจึงยกเอาเรื่องนี้มาขยายความเพื่อสร้างความเข้าใจสำหรับคนที่ยังไม่ทราบกัน
การควบรวมกิจการ คืออะไร
รูปแบบของ การควบรวมกิจการ
- รูปแบบธุรกิจแนวนอน จะยึดหลักการรวมธุรกิจที่จัดอยู่ในลักษณะเดียวกัน มีพื้นที่ตลาดแบบเดียวกัน การควบรวมแบบนี้จะเป็นผลดีในการเพิ่มพื้นที่ตลาด มีคู่แข่งน้อยลง เพิ่มกำลังในสายการผลิต ทั้งนี้ยังได้เปรียบในด้านกำลังทรัพย์สินและบุคลากรสำหรับดำเนินธุรกิจ อีกทั้งฐานผู้บริโภคของธุรกิจที่ควบรวมจะมีความหนาแน่นมากขึ้นด้วย
- รูปแบบธุรกิจแนวตั้ง จะยึดหลักการรวมธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อกันในแง่ต้นทุนการผลิตสินค้า อย่างเช่น บริษัทผู้นำเข้าน้ำมันดิบควบรวมกับบริษัทที่เป็นเจ้าของโรงกลั่นน้ำมัน การควบรวมรูปแบบนี้จะทำให้ธุรกิจนั้นมีความครอบคลุมหลายด้าน และช่วยลดต้นทุนการผลิต
- รูปแบบธุรกิจที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง การควบรวบรูปแบบนี้จะเป็นการรวมตัวระหว่างธุรกิจที่ต่างลักษณะกัน ไม่ได้มีการเอื้อประโยชน์กันในเชิงการผลิตแต่อย่างใด แต่เน้นไปทางการสร้างธุรกิจแนวใหม่เพื่อไม่ให้ความเสี่ยงในการลงทุนของธุรกิจไปตกอยู่กับจุดใดเพียงจุดเดียว และทำให้รายรับของธุรกิจมาจากหลายช่องทาง
ผลลัพธ์ในเชิงบวกของ การควบรวมกิจการ
หลังจากที่มี การควบรวมกิจการ เรียบร้อยแล้ว เจ้าของธุรกิจทั้ง 2 ฝ่ายที่ได้ผสานกำลังทางธุรกิจเข้าด้วยกันสามารถคาดหวังผลลัพธ์ในเชิงบวกที่มักจะเกิดขึ้นได้เสมอ คือ
- เมื่อมีการควบรวมธุรกิจเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วก็จะทำให้ธุรกิจนั้นมีกำลังในการดำเนินงานมากขึ้นทั้งในด้านงบประมาณและบุคลากร ทำให้การดำเนินงานมีความราบรื่นมากว่าเดิม ทั้งนี้ยังได้เพิ่มพื้นที่ตลาดให้กับธุรกิจของตนเองโดยไม่ต้องกังวลเรื่องคู่แข่ง
- ก่อนที่ธุรกิจใดจะเข้ามาควบรวมกันต่างก็มีฐานลูกค้าเดิมของตนเองอยู่แล้ว แต่เมื่อเข้ามาควบรวมธุรกิจกันแล้วจะทำให้ได้ฐานผู้บริโภคเพิ่มขึ้นทันทีโดยไม่ต้องไปเริ่มต้นสร้างฐานผู้บริโภคใหม่
- ธุรกิจแต่ละอย่างจะมีจุดแข็งด้านบริการหรือผลิตภัณฑ์บางอย่างเป็นของตนเอง เมื่อธุรกิจได้ควบรวมกันจะสามารถดึงจุดแข็งเหล่านั้นมาช่วยเสริมสินค้าและบริการของธุรกิจใหม่ให้แข็งแรงขึ้นได้ และได้ธุรกิจที่ครบวงจรด้วย
- ช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่ายภายในองค์กร มีพื้นที่ดำเนินงานเพิ่มขึ้น เมื่อค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนลดลง ก็จะช่วยให้เกิดสภาพคล่องภายในองค์กร การดำเนินธุรกิจก็จะมีความไหลลื่น
- ธุรกิจที่ต้องการเติบโตมากกว่าที่เป็นอยู่จะมีโอกาสในการขยายวงธุรกิจเพิ่มขึ้น เพราะธุรกิจเดิมก่อนถูกควบรวมจะมีเครือข่ายคู่ค้าของตนเองอยู่แล้ว ในส่วนนี้จะช่วยเสริมให้ฐานธุรกิจที่ถูกควบรวมมีความแข็งแรง และหากเกิดวิกฤตที่ส่งผลต่อความอยู่รอดของบริษัทก็จะยังเหลือจุดยึดเหนี่ยวอยู่
ผลลัพธ์ในเชิงลบของ การควบรวมกิจการ
แม้ว่า การควบรวมกิจการ จะเป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไรก็ตาม แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีผลลัพธ์ในเชิงลบเอาเสียเลย เพราะไม่ได้มีการการันตีแบบเต็มร้อยว่าการควบรวมธุรกิจนั้นจะดำเนินการได้อย่างราบรื่นไปตลอด เพราะที่ผ่านมาตัวอย่างการควบรวมธุรกิจที่ไม่ประสบผลสำเร็จก็มีให้เห็นมากมาย ซึ่งผลลัพธ์ในเชิงลบจาก การควบรวมกิจการ ที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังได้แก่
- การประสบปัญหาขาดทุน การควบรวมธุรกิจจำเป็นต้องมีการวางแผนการดำเนินงานที่รัดกุม แม้จะมีข้อได้เปรียบด้านเงินลงทุนเป็นอย่างดี หากดำเนินงานโดยประมาทก็ส่งผลต่อการขาดทุนได้
- การควบรวมธุรกิจรูปแบบที่ไม่มีความสัมพันธ์กันโดยสิ้นเชิงเพื่อประโยชน์ในการสร้างธุรกิจแนวใหม่ยังมีความเสี่ยงด้านการลงทุนและผลตอบรับต่อสินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ดำเนินธุรกิจเพื่อนำพาให้ธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จ
- การควบรวมธุรกิจมีผลประโยชน์โดยตรงต่อผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจ แต่ในส่วนของพนักงานระดับปฏิบัติการอาจจะได้รับผลกระทบในจังหวะที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ซึ่งผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วยว่าจะมีการจัดระเบียบบุคลากรอย่างไรให้ให้ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่สุด
ตัวอย่าง การควบรวมกิจการ ในประเทศ
ช่วงก่อนหน้านี้เกิดปรากฏการณ์ควบรวมกิจการภายในประเทศของกลุ่มธุรกิจใหญ่หลายประเภท ซึ่งเป็นแรงสั่นสะเทือนทางธุรกิจพอสมควร โดยกลุ่มธุรกิจที่ได้ทำการควบรวมกิจการไปเมื่อไม่นานนี้ ได้แก่
- เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ได้เข้าซื้อกิจการทั้งหมดของสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ (SF) โดยทั้ง 2 บริษัทนั้นต่างก็เป็นผู้ดูแลธุรกิจศูนย์การค้าที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของประเทศ
- ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) จัดสรรการถือหุ้นกับ โทเทิล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) เพื่อจัดตั้งบริษัทใหม่ที่จะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคม
- SCBX ในเครือธนาคารไทยพาณิชย์เข้าซื้อหุ้น 51% ใน Bitkub เป็นการลงทุนเพื่อปูทางการเติบโตด้านธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และยกระดับองค์กรให้มีความสากล
- Lotus โยกย้ายธุรกิจไปอยู่ภายใต้การดูแลของ MAKRO ซึ่งส่งผลให้ MAKRO มีความน่าเชื่อถือในสายตาของนักลงทุนมากขึ้น โดยการร่วมมือกันครั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่สะดวกกว่าเดิม และช่วยยกระดับสินค้าไทยให้ขึ้นไปอยู่ในระดับสากล
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบรวมกิจการที่ผ่านมา
เห็นได้ว่าในปี 2566 ที่ผ่านมาเกิดการควบรวมของธุรกิจระดับแนวหน้าของประเทศไทยหลายธุรกิจ ซึ่งมีปัจจัยมาจากภาวะอิ่มตัวทางธุรกิจบ้าง ภาวะการขาดทุนจากสถานการณ์โรคระบาดบ้าง การมองเห็นช่องทางการเติบโตที่ส่งผลถึงธุรกิจในอนาคตบ้าง หรือความต้องการยกระดับสินค้าและบริการให้ขึ้นไปอยู่ในระดับสากลบ้าง ซึ่งการโยกย้ายหุ้นส่วนในธุรกิจเดิมไปยังธุรกิจใหม่ที่ถูกควบรวมอยู่ตลอดและมีมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนเรียกได้ว่าเป็นกระแสทางธุรกิจไปแล้ว
บทสรุป
การควบรวมกิจการ เป็นอีกแนวทางหนึ่งเพื่อความอยู่รอดของเจ้าของธุรกิจ โดยปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์เหล่านั้นก็เพื่อการเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ พร้อมทั้งขยายโอกาสในการลงทุนส่งผลต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจในอนาคตนั่นเอง แต่ถึงอย่างนั้นการควบรวมธุรกิจทุกรูปแบบก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน ผู้ที่ต้องการรวมธุรกิจเองก็ต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ในแง่ต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน เพราะการดำเนินธุรกิจมีความผกผันอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องมีแผนการรับมือกับผลกระทบที่จะตามมาอยู่เสมอ📌Station Accout – เรารับทำบัญชีมาตรฐานสูงสุด™