ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทยทำได้ไหมเรามีคำตอบ

ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย

โดยมากเมื่อเห็นชาวต่างชาติเดินทางมาที่เมืองไทยกิจกรรมหลัก ๆ คือการมาท่องเที่ยว โดยข้อมูลนี้อิงจากรายได้หลักของประเทศซึ่งครองอันดับหนึ่งในเรื่องของการสร้างรายได้ให้กับประเทศมาโดยตลอด ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2561 ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 3.08 ล้านล้านบาท  นับว่าเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีรายได้สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากการท่องเที่ยวแล้วในเรื่องเศรษฐกิจประเทศไทยเองเป็นหนึ่งในความสนใจที่ “ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย” เพื่อลงทุนทำธุรกิจเนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรที่พร้อมสนับสนุนในเรื่องของการทำธุรกิจแทบจะทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่ แรงงาน หรือทรัพยากรบุคคล การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศก็เข้มแข็งตอบโจทย์ในเรื่องของความสามารถทางด้านการลงทุน ทั้งหมดนี้ช่วยเอื้อให้เหล่านักลงทุนที่เป็นคนต่างประเทศเลือกเข้ามาปักหลักทำธุรกิจในประเทศไทย

หลายคนคงสงสัยว่าบุคคลที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทยสามารถเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยได้ด้วยหรือ? ขออธิบายว่ามีบางองค์กรที่มีผู้ก่อตั้งหรือคณะกรรมการบริษัทเป็นชาวต่างชาติหรือสามารถเป็นเจ้าของเองได้  โดยการที่ ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย เกิดจากการที่ทางการรัฐไทยเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนของชาวต่างชาติสามารถสร้างประโยชน์และเม็ดเงินจำนวนมหาศาลให้กับประเทศที่ยินยอมให้ลงทุน  นอกจากนี้การสนับสนุนให้ ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทยนั้น ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศมีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้น จึงกล่าวได้ว่าชาวต่างชาติสามารถเข้ามาจดนิติบุคคลบริษัท ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องโดยรัฐไทยอนุญาต

สารบัญ
    Add a header to begin generating the table of contents

    ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

    แน่นอนว่าเมื่อ ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎของการทำธุรกิจของประเทศนั้น ๆ ด้วย ในระเบียบของการจดทะเบียนบริษัท ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย คนเดียวหรือหลายคนรวมกันสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49 เปอร์เซ็นต์ของทุนจดทะเบียน จะต้องมีบุคคลสัญชาติไทย 1 คนหรือหลายคนรวมกันถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนไม่ต่ำกว่า 50เปอร์เซ็นต์ของทุนจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนแบบนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็นบริษัทสัญชาติไทยสามารถประกอบกิจการทางธุรกิจได้ทุกอย่างตามกฎหมายกำหนด

    ทั้งนี้กรณีที่ ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย แล้วนักลงทุนต่างชาติท่านนั้นมีความประสงค์ต้องการถือหุ้น เป็นจำนวน 50 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์กรณีนี้ต้องมีการขอใบอนุญาตเพิ่ม (Boiหรือใบธุรกิจต่างชาติ) จึงจะสามารถดำเนินการทางธุรกิจในประเทศไทยต่อไปได้ โดยสามารถเลือกบริษัทที่ดำเนินการจดทะเบียนแบบนี้อีกอย่างได้ว่าเป็นบริษัทต่างด้าว 

    เมื่อชาวต่างชาติหันมาทำธุรกิจในไทยจะดีอย่างไรบ้าง

    แน่นอนว่าเมื่อมีการหลั่งไหลของคนสัญชาติอื่นเข้ามาในประเทศไทย สิ่งแรกที่เราจะได้รับจากการลงทุนจาก ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย คือเม็ดเงินมหาศาลที่จะนำมาลงทุนกับพื้นที่ของไทย มีการเช่าซื้อพื้นที่ มีการจ้างงานกับสถานประกอบการนั้นๆ ประชาชนคนในประเทศจะมีงานทำได้ง่ายขึ้น การลงทุนของ ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย จะทำให้เกิดความเจริญในพื้นที่นั้น ๆ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เป็นแหล่งธุรกิจได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้นักลงทุนรายย่อยเองก็สามารถเข้ามาเปิดธุรกิจเพื่อสนับสนุนแรงงานในพื้นที่เช่น ร้านอาหาร ร้านนวด ห้องพักห้องเช่า ฯลฯ เหล่านี้ถือเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับธุรกิจรายย่อยที่เป็นคนในประเทศเองด้วย

    นอกจากนี้ในเรื่องของการแลกเปลี่ยน คนไทย จะมีโอกาสได้ใช้ภาษาที่แตกต่างและหลากหลายมากขึ้น นับเป็นโอกาสอันดี ที่จะได้เรียนรู้และพัฒนาความสามารถ ของ แรงงานไทย การที่ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทยไม่เพียงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วิธีคิดวิธีการบริหารจัดการเป็นการเปิดทรรศนะให้กว้างขึ้นสำหรับนักบริหารและคนทำงาน ในด้านของวัฒนธรรมมารยาทธรรมเนียมการปฏิบัติตัวเหล่านี้ก็สามารถเรียนรู้ได้จากการที่มี ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ด้วยเช่นกัน

    และการที่ ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ไม่ได้หมายความว่าไทยจะเสียประโยชน์ไปเสียทั้งหมด เพราะมีกฎหมายในเรื่องของภาษีที่บังคับให้ ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ต้องดำเนินการเสียภาษีให้กับรัฐไทยเช่นเดียวกัน

    ธุรกิจต้องห้ามชาวต่างชาติลงทุนอย่างเด็ดขาด!

    แม้ว่าจะมีธุรกิจที่หลากหลายเปิดให้เลือกลงทุนในประเทศไทยได้ แต่ทางรัฐบาลไทยได้จำกัดประเภทธุรกิจที่ไม่อนุญาต ให้ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ดำเนินการโดยเด็ดขาด โดยประเภทธุรกิจที่ห้ามมีอยู่ 3 ประเภทดังต่อไปนี้ 

    1. ธุรกิจต่อไปนี้ที่ห้ามไม่ให้ ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ด้วยเหตุผลพิเศษ เช่น การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ การทำนา ทำไร่ ทำสวน การเลี้ยงสัตว์ การทำป่าไม้ การแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ การทำการประมง การสกัดสมุนไพรไทย การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศและการค้าที่ดิน 
    2. ธุรกิจต่อไปนี้ที่ห้าม ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ลงทุนเกี่ยวกับความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศ ห้ามทำธุรกิจ อันมีผลกระทบต่องานศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศชาติ
    3. ธุรกิจต่อไปนี้ที่ห้าม ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ดำเนินการลงทุนเกี่ยวกับอาชีพที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมหรือความสามารถที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว

    อ่านมาขนาดนี้คุณคงสบายใจได้แล้วว่าจะไม่มีชาวต่างชาติคนไหนเข้ามาแย่งอาชีพหรือเป็นคู่แข่งทางการค้าอย่างแน่นอน แต่อย่างใดก็ตามคุณก็ควรพัฒนาธุรกิจของตัวเองให้ทันต่อเหตุการณ์และตรงตามความต้องการของผู้บริโภคให้ได้

    ขั้นตอนการจดทะเบียนเมื่อชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย

    อันดับแรกให้ทำการจองชื่อบริษัท ตรวจสอบชื่อบริษัทที่จะจัดตั้งต้องไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้ว โดย ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย สามารถจองชื่อบริษัทได้ 2 วิธี

    1.คุณสามารถดำเนินการจองชื่อสถานประกอบการ ผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตหรือสำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่

    1. คุณสามารถดำเนินการจองผ่านอินเตอร์เน็ตโดยเข้าไปสมัครสมาชิกที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยตรง

    ทั้งนี้ท่านสามารถทำการจองชื่อสำหรับใช้จดทะเบียนบริษัทได้ทั้งหมด 3 ชื่อ  ซึ่งนายทะเบียนจะพิจารณาชื่อตามลำดับ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ภายใน 30 วัน หากล่าช้ากว่านั้นต้องทำการจองชื่อบริษัท ใหม่

    โดยการจดทะเบียนบริษัทของ ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย จะต้องมีผู้ก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จัดทำคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ์เพื่อนำไปจดทะเบียน ในระหว่างนั้นให้ผู้ก่อการจัดตั้งการจองซื้อหุ้นจนครบและนัดประชุมเพื่อตั้งบริษัท  และแต่งตั้งกรรมการบริษัท  จากนั้นผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อ โดยกรรมการบริษัทจะต้องจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทและเอกสารประกอบ โดยนำไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือนนับจากการประชุมตั้งบริษัท เมื่อยื่นเอกสารแล้วให้รอการพิจารณา หากผ่านการพิจารณาจากนายทะเบียนแล้วก็ทำการชำระค่าธรรมเนียมและรับเอกสาร เท่านี้แสดงว่าบริษัทของ ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ได้รับการจดทะเบียนอย่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว

    บทสรุป

    ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าการที่ ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย สามารถเป็นเปิดบริษัทได้ 2 รูปแบบคือบริษัทที่ชาวต่างชาติมีหุ้นไม่เกิน 49 เปอร์เซ็นต์ บริษัทลักษณะนี้เรียกว่าบริษัทสัญชาติไทย แต่หากชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนถือหุ้นเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป จะถือว่าเป็นบริษัทต่างด้าวบริษัทนั้นจะต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าวด้วย นอกจากนี้การเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาตินั้นเป็นการส่งเสริมการพัฒนาประเทศชาติและแรงงานของประเทศไปในตัว ในส่วนของธุรกิจต้องห้าม ก็มีเพียง 3 ประเภทคือ ถ้าไม่ให้ลงทุนด้วยเหตุผลพิเศษ ถ้าไม่ให้ลงทุนเกี่ยวกับความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศ งานทางด้านศิลปวัฒนธรรม งานที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสุดท้ายเป็นธุรกิจที่ห้ามทำเกี่ยวกับอาชีพที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันกับชาติอื่น ๆ โดยขั้นตอนในการจดทะเบียนบริษัทนั้นมีความเหมือนกับการจดทะเบียนบริษัททั่ว ๆ ไปเพียงแต่เอกสารอาจซับซ้อน และต้องตรวจสอบอย่างละเอียด ด้วยเพราะเป็น ชาวต่างชาติเปิดบริษัทในไทย นั่นเอง📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™

    สำนักงานบัญชีคุณภาพ