การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคนแม้ว่าบางคนจะยังมีรายได้ไม่เข้าเกณฑ์การจ่ายภาษีหรือแม้แต่ผู้ที่จะจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนก็จำเป็นต้องยื่นภาษีเหมือนกันหลัก ๆ แล้วคนทั่วไปก็จะต้องยื่นภาษีเงินได้ “บุคคลธรรมดา” ส่วนอัตราที่ต้องจ่ายจะเท่าไหร่นั้นก็ต้องดูว่ามีลดหย่อนไหม มีรายได้เท่าไหร่ ฯลฯ ซึ่งจะมีเกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนดเอาไว้อยู่ และสิ่งที่ทุกคนจะต้องทำคือการวางแผนภาษี หากไม่วางแผนดี ๆ เรื่องภาษีมันก็น่าปวดหัวมิใช่น้อยเลย
บุคคลธรรมดาหมายถึงอะไร ?
ในส่วนความหมายของคำนี้ก็หมายถึงคนธรรมดา มนุษย์ธรรมดาอย่างเราๆ นี่เอง แต่ถ้าในด้านของภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาก็จะเป็น ประเภทของผู้เสียภาษี ในบางกรณีก็อาจจะไม่ใช่มนุษย์ก็ได้ เช่น คนที่เสียชีวิตไปแล้วบางคนก็ยังเสียภาษีอยู่ก็เรียกว่าภาษีบุคคลธรรมดาเหมือนเดิมตามประมวลรัษฎากร เรามีดูกันว่าประเภทของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นมีแบบไหนบ้างดังนี้
1. มนุษย์ธรรมดา
มนุษย์ที่ยังตัวเป็น ๆ เลยยังมีชีวิตอยู่ ทุกคนที่เกิดมาบนโลกนี้ในประเทศนี้คือมนุษย์เหมือนกันไม่ว่าจะเพศไหนวัยใดก็ตาม รวมถึงไม่ว่าจะอาชีพไหนก็ตามหากมีเงินได้เข้ามายังไงก็ต้องเสียภาษี แน่นอนว่าแม่ชี พระ นักบวช พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์สำหรับทรัพย์สินส่วนพระองค์ ก็เสียภาษี ซึ่งทรัพย์สินส่วนนี้จะคนละส่วนกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คนละอย่างกันนะ
2. คนที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษี
ทุกคนที่มีรายได้เข้ามาก็ย่อมต้องยื่นภาษีบุคคลธรรมดานั่นเอง ซึ่งก็ยังมีภาษีบุคคลธรรมดาประเภทที่คนที่เสียชีวิตไปแล้วด้วย ซึ่งเขาเสียชีวิตระหว่างปีภาษี ซึ่งก็จะมีผู้จัดการมรดก ทายาท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตเป็นคนเสีย
ทุกคนที่มีรายได้เข้ามาก็ย่อมต้องยื่นภาษีบุคคลธรรมดานั่นเอง ซึ่งก็ยังมีภาษีบุคคลธรรมดาประเภทที่คนที่เสียชีวิตไปแล้วด้วย ซึ่งเขาเสียชีวิตระหว่างปีภาษี ซึ่งก็จะมีผู้จัดการมรดก ทายาท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตเป็นคนเสียภาษีแทน
กรณีนี้ก็คือคนที่เสียชีวิตหากมีเงินได้ระหว่างปีภาษีก็นับเป็นผู้เสียภาษีเช่นกัน หากตีความเป็นผู้เสียชีวิตจะสิ้นสภาพแล้วจึงไม่ใช่คนธรรมดาอีก เงินได้ที่เกิดขึ้นในปีนั้นก็ไม่มีภาระภาษี ซึ่งการตีความแบบนี้มันไม่ถูก กฎหมายเลยออกมาให้ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยแม้จะเสียไปแล้วก็ตาม หากเสียในปีภาษี
3. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
อาจจะต่อเนื่องมาจากคนที่เสียชีวิตไประหว่างปีภาษีที่ผ่านมาแล้วมรดกที่มียังไม่ได้แบ่ง จนผ่านมาครบอีกปีภาษีกองมรดกนั้นยังมีรายได้เข้ามา แม้ว่าเจ้าของจะจากไปแล้วก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ยังได้รับค่าเช่า ได้ค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น กฎหมายเลยให้กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งนี้อยู่ในประเภทของผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดาด้วย เพื่อความรอบคอบของกฎหมายภาษีจะไม่ตีความว่าเป็นผู้ที่สิ้นสภาพไปแล้ว
4. ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
ในส่วนนี้จะเป็นห้างหุ้นส่วนแบบไม่มีการจดทะเบียน ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อแสวงหาผลกำไร ทำให้มีรายได้เกิดขึ้นโดยตกลงแบ่งกำไรกัน ฉะนั้นแล้วพอมีเงินได้ภาษีก็จะต้องเสียอย่างแน่นอน แต่เพราะว่าไม่ได้จดทะเบียนเลยไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมายไทย ประมวลรัษฎากรเลยจัดให้อยู่ในบุคคลธรรมดา
5. คณะบุคคล
โดยจะเป็นกลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่ได้ตกลงกันทำกิจกรรมหรือทำอะไรสักอย่างที่เป็นการหารายได้เข้ามา แต่ว่าจะไม่ได้แบ่งกำไรกัน ซึ่งต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญและแน่นอนว่าพอมีเงินได้เข้ามาก็ต้องเสียภาษีไปตามหน้าที่เช่นกัน และคณะบุคคลไม่ใช่นิติบุคคลก็เลยเป็นประเภทภาษีบุคคลธรรมดา แม้ว่าจะเรียกว่าคณะก็ตาม แต่เมื่อไหร่ที่มีการแบ่งกำไรกันก็จะกลายเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนั่นเอง
เงินได้พึงประเมินคืออะไร ?
สำหรับคนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็จะมีเงินได้พึงประเมิน ซึ่งจะเป็นเงินของบุคคลใด ๆ หรือหน่วยภาษีใดที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. ของปีใด ๆ หรือเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ซึ่งก็จะมี เงิน ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินที่ได้รับจริง ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้จะเป็นที่ได้รับจริง (เกณฑ์เงินสด) แล้วก็ยังมีเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ และเครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น
เงินที่จะต้องยื่นภาษีนั้นก็จะเป็นเงินที่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะคำนวณภาษีออกมาแล้วจะมีภาษีที่ต้องชำระไหมก็ตาม ซึ่งจะมีเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำผู้ที่มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี สำหรับบุคคลธรรมดาหรือผู้ที่เสียชีวิตแล้วนั้น หากเป็นเงินได้จากเงินเดือนอย่างเดียวก็อยู่ที่ 120,000 บาทสำหรับคนโสดและ 220,000 บาทสำหรับคนที่สมรสแล้วเงินได้ประเภทอื่นถ้าโสดจะอยู่ที่ 60,000 หากสมรสแล้วจะอยู่ที่ 120,000 บาท สำหรับประเภทบุคคลธรรมดาที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคลหรือไม่ได้จดทะเบียน รวมถึงคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท และสำหรับกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท ก็ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ (บาท) | ช่วงเงินได้สุทธิของแต่ละขั้น | อัตราภาษี (ร้อยละ) |
---|---|---|
1 – 150,000 | 150,000 | ได้รับยกเว้น |
150,001 – 300,000 | 150,000 | 5 |
300,001 – 500,000 | 200,000 | 10 |
500,001 – 750,000 | 250,000 | 15 |
750,001 – 1,000,000 | 250,000 | 20 |
1,000,001 – 2,000,000 | 1,000,000 | 25 |
2,000,001 – 5,000,000 | 3,000,000 | 30 |
5,000,001 บาทขึ้นไป | - | 35 |
หมายเหตุ : เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท ยังคงได้รับยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่470) พ.ศ.2551
ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ที่ไหนบ้าง ?
ปัจจุบันสามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้แล้วเพียงแค่มีอินเตอร์เน็ตสะดวกมากขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย สำหรับคนที่ไม่สะดวกจะยื่นแบบออนไลน์ก็มีหลากหลายช่องทางให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ซึ่งจะมีช่องทางดังต่อไปนี้
- สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกว่า สํานักงานสรรพากรเขต/อําเภอ) สําหรับการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ผู้มีเงินได้สามารถยื่นแบบฯ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง (สรุปก็คือไปสรรพากรนะ)
- ที่ทำการไปรษณีย์ จะต้องยื่นระหว่างวันที่ 1 มกราคา – 31 มีนาคมเท่านั้น ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์การยื่นแบบรายการแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบนี้คือ
- ผู้ที่มีเงินได้ มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
- ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน พร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค.หรือ ง.) หรือ ธนาณัติ (ตามจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระทั้งจํานวน) โดยส่งไปยัง “กองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากร เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธินเขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400”
- กรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียนไปรษณีย์เป็นวันรับแบบและชําระภาษีและจะส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ยื่นแบบฯ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
- กรณีผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลําเนา อยู่ในต่างจังหวัด หรือประสงค์จะขอ ชําระภาษีเป็นงวด จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยส่งทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนไม่ได้
- ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทาง Internet ในเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ www.rd.go.th
หรือจะยื่นผ่าน Rd smart tax application ก็ตามสะดวกเลย ค้นหาคำว่ายื่นภาษีผ่านเน็ตหรือยื่นภาษีออนไลน์ก็จะเจอได้ง่ายมาก
บทสรุป
เรื่องของภาษีค่อนข้างละเอียดมากเหมือนกันฉะนั้นอย่าลืมวางแผนภาษีให้ดีในแต่ละปีจะได้ยื่นภาษีได้แบบสบายใจไม่มีปัญหา มนุษย์ทุกคนที่มีเงินได้ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม จะเด็ก ผู้ใหญ่ อาชีพไหน ยศอะไร สถานะไหนหากมีเงินได้ก็ต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนที่มีเงินได้เข้ามาเยอะก็มีหลายช่องทางที่ช่วยลดหย่อนได้และเงินได้พึงประเมินบางกรณีก็ได้รับยกเว้นภาษี ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้มากขึ้นคุณจะวางแผนภาษีได้ดีและได้จ่ายภาษีในราคาที่เหมาะสม ภาษีคือเงินที่จะไปพัฒนาชาติเรามันเป็นหน้าที่ทุกคนไม่ควรละเลย📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนหจก.ดีที่สุด™