ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจและจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนมาสักระยะเวลาพอสมควร มีประสบการณ์การทำธุรกิจสูงต้องการที่จะขยายงานรับงานโครงการขนาดใหญ่ขึ้นและโครงการกับภาครัฐก็ต้องมีการประมูลประกวดราคากัน แต่จะติดตรงที่เงินทุน เทคโนโลยีขององค์กรยังขาดประสิทธิภาพในการรับงานนั้นๆ ช่องทางกฎหมายช่องทางหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปรับงานขนาดนั้นได้เราเรียกว่า “กิจการร่วมค้า” (Joint Venture) ในเนื้อหานี้เราจะมาทำความเข้าใจ
ความหมายของกิจการร่วมค้า
กิจการร่วมค้า หมายถึง การร่วมกันทำสัญญาและร่วมลงทุนของธุรกิจ ซึ่งในการร่วมลงทุนจะต้องมีองค์กรธุรกิจเริ่มตั้งแต่ 2 ธุรกิจขึ้นไป สิ่งที่ธุรกิจนำมาลงทุน อาทิ เงินทุน เทคโนโลยี ที่ดิน อาคาร ทรัพย์สิน หรือบุคลากรแรงงาน ต้องกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานและวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจน หากเกิดความเสียหายทางการค้าก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เมื่อดำเนินงานการค้าแล้วมีกำไรก็ต้องจัดสรรแบ่งตามสัดส่วนของธุรกิจที่ร่วมกันตามสัดส่วนที่ได้ลงทุนกันไว้และถ้าโครงการนั้นทำเสร็จสิ้นก็จะถือว่ากิจการร่วมค้านั้นยุติลงในการร่วมมือกันจัดตั้งกิจการร่วมค้า จะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นนิติบุคคลร่วมด้วย เช่น บุคคลธรรมดากับนิติบุคคล หรือนิติบุคคลกับนิติบุคคล
รูปแบบของกิจการร่วมค้า
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 46 การบันทึกบัญชีรูปแบบของกิจการร่วมค้า แบ่งออกได้ 3 รูปแบบดังต่อไปนี้
1. การดำเนินงานควบคุมร่วมค้า (Jointly Controlled Operations)
ง่ายๆ คือ หุ้นส่วนที่เริ่มก่อตั้งทุกคนจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด แต่ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้จะจดเป็นนิติบุคคลหรือจะไม่จดก็ได้ทางกฎหมาย ถ้าจดทะเบียนเราจะเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลในทางกฎหมาย
2. สินทรัพย์ที่ควบคุมร่วมกัน (Jointly Controlled Assets)
การดำเนินงานรูปแบบนี้จะเหมือนรูปแบบแรกคือไม่มีการจัดตั้งกิจการร่วมค้า เป็นหน่วยงานตามกฎหมายแต่จะแฝงการร่วมค้าอยู่ในกิจการเดิม แต่ร่วมค้าที่ลงทุนร่วมในแต่ละรายนำทรัพย์สินของตนมาให้ผู้ร่วมลงทุนรายอื่นๆ ใช้ร่วมกันหรือเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์สิน ซึ่งการบันทึกบัญชีและแสดงรายการของการร่วมค้าจะแสดงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานปกติ
3. กิจการที่ควบคุมร่วมกันหรือกิจการร่วมค้า (Jointly Controlled Entities)
การดำเนินงานรูปแบบนี้ เป็นการจัดตั้งกิจการร่วมค้าที่เป็นไปตามกฎหมาย สามารถแยกออกจากกิจการเดิมมาตั้งใหม่
ซึ่งการตั้งกิจการร่วมค้าขึ้นใหม่จะมีสัญญาที่ต้องระบุให้ผู้ร่วมค้าทุกรายมีอำนาจร่วมกันในกิจการร่วมค้านั้นๆ ในการบันทึกบัญชีและงบการเงิน สามารถมีสินทรัพย์ ก่อหนี้สินและมีรายได้ ค่าใช้จ่ายเป็นของตนเองได้ ต้องมีผู้จัดทำบัญชีและงบการเงินของกิจการเองตามมาตรฐานบัญชีเช่นเดียวกับกิจการทั่วไป
ผลประโยชน์ที่ได้จากการจดจัดตั้งกิจการร้านค้า
- การระดมเงินทุนและแบ่งปันทรัพยากรระหว่างองค์กรกัน
- แชร์ส่วนที่ขาดหายบางอย่างให้กับอีกธุรกิจ มักจะเกิดกับธุรกิจที่ใกล้เคียงและเอื้อต่อกัน
- ลดความเสี่ยงในการขาดทุนเมื่อดำเนินงาน ทางบริษัทก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีในส่วนเงินปันผล
- ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการดำเนินงาน
- จ่ายภาษีน้อยลง
- ร่วมจัดตั้งกันง่ายและเลิกจัดตั้งง่ายไม่เสียเวลา
ข้อเสีย
- อาจต้องเปิดเผยความลับแก่ผู้ร่วมทุนเพื่อให้ธุรกิจที่ทำร่วมกันดำเนินไปในทิศทางที่กำหนด
- การส่งมอบเทคโนโลยีภายในที่คิดค้นภายในองค์กรให้แก่ผู้ร่วมทุน
- อาจพบปัญหาในการดำเนินงานในแง่ความเป็นเจ้าของ
- ไม่สามารถนำผลขาดทุน ของกิจการร่วมค้าไปขอหักเป็นค่าใช้จ่ายในการยื่น ภงด.50
“กฎหมายประเทศไทยสรุปความหมายมาตรา39” แห่งประมวลรัษฎากรของกิจการร่วมค้า
- กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไร ระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ระหว่างและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลอื่น
- กิจการร่วมค้ามีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
- กิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ในความหมายตามประมวลรัษฎากร เปรียบเสมือนมีฐานะเป็น“นิติบุคคล”
- กิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ในความหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1012 มีสถานะเปรียบเสมือน ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล
บทสรุป
ในเนื้อหาเรื่องราว กิจการร่วมค้า (Joint Venture) เราได้นำมาเสนอจำแนกแต่ละเรื่องราวให้ผู้ที่สนใจจัดตั้งหรือร่วมลงทุนกัน ให้เข้าใจถึงความหมาย ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจัดตั้งกิจการร่วมค้าในครั้งนี้ ซึ่งทางเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาที่รวบรวมมาจะเป็นประโยชน์ที่สูงสุดแก่ผู้อ่านและเป็นวิทยาทานความรู้ และสามารถให้องค์กรท่านสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนหจก.ดีที่สุด™