ในยุคสมัยที่ใคร ๆ ที่อยากจะเป็นประธานบริษัทแบบนี้ การ“จดทะเบียนบริษัท”ก็จะได้รับความนิยมไม่น้อยเลย มันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแน่นอน หลาย ๆ คนที่ไม่ได้ทำงานประจำ ออกมาเป็นเจ้าของกิจการ มาทำอาชีพฟรีแลนซ์ แล้วมีรายได้ต่อปีเยอะ ก็เริ่มมีคำถามตามมาในหัวว่าควรจะจดบริษัทดีไหม เพราะมันเกี่ยวข้องกับเรื่องของบัญชีและภาษีด้วย เพราะถ้าหากไม่จดแล้วจ่ายแบบบุคคลธรรมดาก็แพงเอาเรื่องเหมือนกัน พอมาเป็นในรูปแบบบริษัทการคิดอัตราภาษีก็อีกแบบหนึ่ง และที่แน่นอนคือมันแยกเงินของบริษัทกับเงินส่วนตัวได้ชัดเจนกว่าและง่ายต่อการจัดการเวลาต้องทำบัญชีด้วย แต่การจดทะเบียนนั้นมี 2 ประเภทหลัก ๆ สนใจแบบไหนมาดูรายละเอียดกัน
2 ประเภทการจดทะเบียนบริษัทที่จำเป็นต้องรู้
ก่อนอื่นต้องถามตนเองว่าอยากจะทำงานกี่คน ถ้าอยากทำคนเดียวก็จดทะเบียนได้เหมือนกัน หรืออยากทำ 2 คนขึ้นไปก็ได้อีก แต่ว่าจะต้องเลือกจดให้ถูกประเภทด้วย ถ้าจะจดแบบบุคคลธรรมดาหรือเรียกว่า จดทะเบียนพาณิชย์ ก็เลือกเลยว่าจะทำคนเดียวหรือหลายคน ถ้าหากเป็นการจดทะเบียนบริษัทแบบนิติบุคคล ก็อาจจะต้องหลายคนหน่อย มาดูว่ารายละเอียดแต่ละประเภทมีอะไรบ้างดังนี้
- การจดทะเบียนพาณิชย์หรือจดทะเบียนบุคคลธรรมดา คืออะไร
สำหรับการจดทะเบียนแบบนี้ส่วนมากจะเหมาะกับคนที่ทำอาชีพอิสระ อย่างเช่น การขายของออนไลน์ การทำธุรกิจขนาดเล็ก การทำงานฟรีแลนซ์ เป็นต้น เพราะว่าแบบนี้สามารถยื่นขอจดทะเบียนบริษัทแบบบุคคลธรรมดาแบบที่ ทั้งบริษัทมีแค่คนเดียวก็ได้ ทำทุกอย่างเองหมด ไม่มีพนักงาน กำไรรับเองเต็มแต่ แต่ว่าก็ต้องแบกรับในส่วนที่เป็นหนี้สินเองด้วย การจดแบบนี้ไม่ต้องยื่นส่งงบให้ตรวจสอบ แต่ถ้าหากจะเน้นความน่าเชื่อถือจะไม่สู้แบบนิติบุคคล เพราะถ้าไปยื่นกู้จะผ่านกว่า ตอนที่เสียภาษีก็จะเยอะกว่าแบบนิติบุคคลเท่านั้นเอง
- การจดทะเบียนบริษัทประเภทนิติบุคคล คืออะไร
สำหรับการจดบริษัทประเภทนี้จะต้องมีคนก่อตั้ง 2 คนขึ้นไป เวลาทำอะไร ดำเนินกิจการอะไรของบริษัทจะต้องได้รับความเห็นชอบของทุกคนแต่ทำในนามของบริษัท ซึ่งแบบนี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง เช่น SME หรือบริษัทขนาดใหญ่เลย มันดีตรงที่หนี้บริษัทจะเป็นของบริษัทไม่เกี่ยวกับเจ้าของ เสียภาษีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว จะอยู่ที่ 20% เอง เมื่อเทียบกับแบบการจดทะเบียนบริษัทแบบพาณิชย์แบบนี้จะเสียภาษีน้อยกว่า
ในส่วนของข้อเสียก็มีเหมือนกัน เป็นความยุ่งยากอย่างหนึ่งที่ทุกบริษัทจะต้องทำตามกฎหมาย เป็นเรื่องของการทำงบการเงิน รายรับ รายจ่าย บัญชี ภาษี ประกันสังคม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะขาดไม่ได้และต้องทำ และการจดบริษัทแบบนิติบุคคลยังมีแยกย่อยประเภทออกไปอีก 3 ประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัด เป็นต้น
เวลาที่เลือกว่าจะจดทะเบียนบริษัทแบบไหนดี ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าแบบไหนคุ้มค่ามากกว่ากัน แบบไหนที่คุณเองจะบริหารไหว หากจะจด 2 คนขึ้นไป แต่ละคนจะทำอะไรบ้าง หน้าที่ ตำแหน่ง จะต้องตกลงให้ชัดเจน และจ่ายให้เป็นเงินเดือนตามที่เหมาะสมตามกฎหมาย แต่ถ้าจะทำคนเดียวก็ไม่ยากเลยจดแบบพาณิชย์เลย
3 ประเภทการจดทะเบียนบริษัทแบบนิติบุคคล มีอะไรบ้าง
มาทำความเข้าใจให้มากขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการจะจดทะเบียนบริษัทแบบนิติบุคคล เพราะไม่ใช่การทำงานเพียงคนเดียว เลือกประเภทให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง มีอะไรบ้างดังนี้
- การจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ สำหรับอย่างแรกนี้จะเป็นธุรกิจที่เป็นแบบเจ้าของกิจการทุกคน จะมีสิทธิ์ได้รับผลกำไร มีสิทธิ์จัดการ บริหารกิจการ ซึ่งเจ้าของบริษัทจะต้องมี 2 คนขึ้นไป มันดีตรงที่ทุกคนทำอะไรได้เท่ากันหมด สิทธิ์ทุกอย่างเท่ากันทุกอย่าง แต่ว่ามันจะมีข้อเสียตรงที่ หนี้สินก็ต้องแบกรับกันทุกคนด้วย แม้ว่าจะมีทุนจดบริษัทเท่าไหร่ แต่ถ้าหนี้สินบริษัทเยอะเกินทุนก็ต้องแบกรับช่วยกัน รับผิดชอบทั้งหมดร่วมกันนั่นเอง
- การจดทะเบียนบริษัทแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด ประเภทนี้ยังมีแยกออกไปอีกคือเป็นแบบหุ้นส่วนจำกัด และ หุ้นส่วนแบบไม่จำกัด เวลาขอจดทะเบียนจะต้องมีเจ้าของหุ้นส่วน 2 คนขึ้นไป ทุนจดทะเบียนไม่มีการกำหนดว่าต้องขั้นต่ำเท่าไหร่ หากเลือกแบบหุ้นส่วนจำกัดคือ ก็จะสอบถามการทำงานของบริษัท ออกความเห็น ให้คำปรึกษา มันดีตรงที่การแบกรับภาระหนี้ของบริษัทจะเป็นแบบจำกัดให้ไม่เกินวงเงินลงทุนของตนเอง แต่ว่าข้อเสียคืออำนาจการตัดสินใจไม่มีเลย ใช้แรงตัวเองทำงานก็ไม่ได้
หากเป็นการเลือกจดทะเบียนบริษัทแบบหุ้นส่วนไม่จำกัด มันจะดีตรงที่ยังมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ของบริษัท การทำงาน การดำเนินการต่าง ๆ แล้วยังมีสิทธิ์สูงสุดในการตัดสินใจด้วย แต่ว่าสิ่งที่ต้องรับตามมาด้วยคือหากบริษัทมีหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินการจะต้องรับแบบไม่จำกัดด้วย หนี้เยอะ น้อย เท่าไหร่ก็จะต้องรับผิดชอบ และบางครั้งมันอาจจะเกินเงินที่ลงทุนไว้ด้วย
- การจดทะเบียนบริษัทแบบบริษัทจำกัด เป็นประเภทนิติบุคคลที่เราเห็นกันเยอะเลย เจ้าของบริษัทจะต้องมี 3 คนขึ้นไป แต่ว่าปัจจุบันกฎหมายออกใหม่แล้ว ตั้งแต่ 7 ก.พ. 66 เป็นต้นไปนี้ ยื่นขอจดทะเบียนได้โดยมีเจ้าของบริษัท 2 คนขึ้นไป กิจการจะต้องใหญ่ระดับหนึ่งแล้ว จะต้องเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงด้วย จะเป็นกิจการที่มีความน่าเชื่อถือ ยื่นกู้ได้ง่าย เรื่องภาษีก็จ่ายได้ถูกกว่าแบบอื่น ๆ แต่ว่า ก็ต้องจ่าย 2 ครั้ง/ปี เมื่อเทียบงานบริหารแล้วจะยากมาก กฎหมายยิบย่อย ใครจะจดทะเบียนบริษัทจำกัดแบบนี้ความมั่นคงต้องมี จะต้องมั่นใจว่าเติบโตไปได้อีกยาวไกลด้วย
ทั้งหมดนี้เป็นประเภทของการจดทะเบียนบริษัทให้ทุกคนได้เลือกจดให้เหมาะกับกิจการของตนเอง ประเมินให้ดีว่าแบบไหนใช่ที่สุด คุ้มที่สุด ถ้าหากไม่ใช่บริษัทหรือกิจการที่ใหญ่อะไรแนะนำเป็นข้อแรกกับข้อสองก่อนเลย เพราะถ้าเป็นแบบบริษัทจำกัดนั่นหมายถึงบริษัทที่ใหญ่มากแล้ว
11 วิธีในการจดทะเบียนบริษัท ทำให้ครบทุกขั้นตอนจะได้เป็นเจ้าของบริษัทแน่นอน
มาถึงขั้นตอนและวิธีจดทะเบียนบริษัทกันแล้ว อย่าลืมว่าต้องเลือกก่อนว่าจะจดแบบไหน จะได้ยื่นถูกประเภท การจะเป็นเจ้าของบริษัทมันก็ไม่ได้ยากขนาดนั้นหากคุณหาความรู้ มีความเข้าใจที่มากพอ เพราะว่าเรื่องพวกนี้ไม่ค่อยมีใครมานั่งอธิบายกัน แล้วยังไม่ค่อยมีใครกล้าบอกคุณอีกด้วย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม มาดูกันว่า 11 วิธีที่จะต้องทำนั้นมีอะไรบ้าง
1.สิ่งสำคัญที่สุดก่อนอื่นคือการหาข้อมูลของการจดทะเบียนบริษัท เพราะเราจะต้องเลือกประเภทที่เหมาะกับกิจการของตนเองมากที่สุด เพื่อประโยชน์ของคุณเอง ฉะนั้นพอเลือกประเภทได้แล้วจะต้องศึกษาเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ประเมินให้ดีถึงข้อดี ข้อเสีย ความเสี่ยง กำไร หรือปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เพราะถ้าขั้นตอนในการยื่นเรื่องนั้นแค่วันเดียวก็เรียบร้อยแล้ว
2.เตรียมเอกสารที่จะต้องใช้ในการจดทะเบียนบริษัทให้ครบทุกอย่าง จะได้ไม่ต้องเสียเวลาหาทีละอย่าง อะไรที่จำเป็นจะต้องเซ็น มีใครเซ็นบ้าน ทำการเซ็นให้เรียบร้อย โดยเฉพาะเอกสารที่มาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งจะใช้เป็นเอกสารดังนี้
- เอกสารแบบคำรับรอง การจดทะเบียนบริษัทจำกัด
- แบบ บอจ.1 (ใบคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด)
- แบบ บอจ.2 (หนังสือบริคณห์สนธิ ที่ชำระอากรแสตมป์ 200 บาทเรียบร้อย)
- แบบ บอจ.3 (รายการจดทะเบียนจัดตั้ง)
- สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้กับผู้ที่ถือหุ้น
- สำเนาข้อบังคับที่จ่ายค่าอากรแสตมป์แล้ว 200 บาท
- สำเนารายการประชุม การตั้งบริษัท
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือผู้มอบฉันทะการประชุม เซ็นรับรองให้เรียบร้อย
- แบบ บอจ.5 (บัญชีรายชื่อของผู้ถือหุ้นบริษัท)
- แบบ ว. (วัตถุประสงค์)
- แบบ ก. (รายละเอียดกรรมการ)
- ใบแจ้งผลจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
หลักฐานการเห็นชอบที่จะตั้งบริษัทนี้เพื่อประกอบธุรกิจ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบหากมีคนต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทนั้น ๆ จะต้องมีหุ้นไม่เกิน 50% หรือจะเอามาเป็นเพียงกรรมการร่วมก็ได้ และอย่าลืมแสดงเอกสารให้ครบ และจะต้องมีเอกสารของผู้ถือหุ้นคนไทยตอนที่ขอจดทะเบียนบริษัทด้วย ส่วนนี้ธนาคารจะเป็นคนออก จะต้องแนบมาในรายการเอกสารที่จะต้องส่งด้วย
3.ชื่อบริษัทตั้งหรือยัง เพราะจะต้องใช้ในการยื่นขอจดทะเบียนบริษัทด้วย ซึ่งเราจะต้องทำการจองชื่อไว้ก่อน มันจะไปซ้ำกับบริษัทอื่นไม่ได้ เวลาคิดชื่อจะต้องตั้งให้ดี เลี่ยงชื่อที่อาจจะก่อปัญหาในอนาคต กฎง่าย ๆ คือจะต้องไม่ใช่ชื่อที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ชื่อประเทศ ชื่อกระทรวง กรม ชื่อทางราชการอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งสามารถจองชื่อบริษัทได้ที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เข้าแบบออนไลน์ได้เลย และจองได้ 3 ชื่อที่ไม่ซ้ำกัน เผื่อชื่อบริษัทที่เราอยากได้นั้น มีคนอื่นยื่นขอจดทะเบียนบริษัทไปก่อนแล้ว ก็จะได้ซื่ออื่น ๆ ที่จองเอาไว้ใน 3 ชื่อนั้น
4.ขั้นตอนการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ แล้วนำไปยื่นกับนายทะเบียน เป็นการนำไปยื่นหนังสือที่แสดงความต้องการตั้งบริษัท ยื่นไม่เกิน 30 วัน หลังจากนายทะเบียนเซ็นเอกสาร โดยสิ่งที่จะต้องยื่นนั้นมีสิ่งเหล่านี้ ชื่อบริษัทจองชื่ออะไรไว้บ้าง ยื่นให้หมด ที่ตั้งอยู่ตรงไหน สาขา จังหวัด เลขที่ เบอร์ติดต่อ ข้อมูลสำคัญอื่น ๆ บริษัทนี้ตั้งเพื่อวัตถุประสงค์อะไรต้องแจ้ง มีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ มีพยานด้วย 2 คน พร้อมชื่อที่อยู่ ข้อบังคับ กฎ จำนวนหุ้นที่จ่ายแล้ว ไม่น้อยกว่า 25% กรรมมีใครบ้าน ที่อยู่ ชื่อ อายุ ต้องแจ้งทุกคนมีใครบ้าง เลขที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและค่าตอบแทนด้วย สัญชาติ ชื่อ จำนวนหุ้นที่ถือของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
5.ทำการเปิดให้จองหุ้นบริษัทนัดวันประชุมผู้ถือหุ้นที่มีทั้งหมดมาประชุมกัน ซึ่งพอเปิดจองแล้วคนที่มีสิทธิ์จะซื้อหุ้นนั้นเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องกรรมการหรือผู้ก่อตั้ง จะซื้อ 1 หุ้นก็ได้ จนครบตามที่เปิดจองเอาไว้ แล้วจากนั้นค่อยนัดวันที่จะประชุมต่อไป
6.ทำการประชุมทุกคนในบริษัท บุคลากรทุกคนจะต้องเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัทอย่างตรงกัน หลังจดทะเบียนบริษัทแล้วต้องประชุมเลย เรื่องกฎระบบ การทำงาน การประกอบกิจการต่าง ๆ การเลือกคณะกรรมการ และอื่น ๆ ที่จำเป็นจะต้องทำให้เสร็จ
7.อีกหนึ่งฝ่ายที่จะต้องคัดเลือกมาทำหน้าที่คือการรับรองงบการเงิน คัดเลือกผู้สอบบัญชี เพราะมันสำคัญต่อบริษัทอย่างมาก หากการเงินภายในมีปัญหามันยากมากที่บริษัทจะเติบโตอย่างดี
8.คณะกรรมการบริษัทมีใครบ้างจะต้องทำการประชุมและจัดตั้งขึ้นมา กรรมการส่วนนี้จะทำหน้าที่จัดเก็บค่าหุ้นบริษัท 25% ของราคาหุ้นจริงให้ครบ เพื่อจะได้ยื่นขอจดทะเบียนบริษัทได้อย่างไม่มีปัญหา ซึ่งสิ่งนี้จะต้องเรียบร้อยใน 3 เดือน หลังประชุม ถ้าช้าก็ต้องจัดขึ้นมาประชุมกันใหม่อีกรอบ
9.การจดทะเบียนบริษัทมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จะต้องชำระด้วย ซึ่งจะมีรายการเหล่านี้ มีเป็นค่าหนังสือรับรอง 40 บาท/รายการ ค่ารับรองสำเนาเอกสารคำขอจดทะเบียน 50 บาท ค่าใบสำคัญในการแสดงการจดทะเบียน 100 บาท อากรแสตมป์ 200 บาท ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ 500 บาท และค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทจำกัด เป็นจำนวนเงิน 5000 บาท รวมแล้วเป็นเงินเท่าไหร่ลองคำนวนกันดูได้เลย
10.ทำการรับหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทและใบสำคัญ เป็นเอกสารทางกฎหมายเพื่อการทำธุรกิจ พอได้เอกสารนี้มาแล้วก็แปลว่าทุกอย่างเรียบร้อยดี ซึ่งใบสำคัญนี้ไปขอได้ที่นายทะเบียน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตพื้นที่ของคุณ
11.สำหรับใครที่สงสัยว่าจะไปยื่นขอจดทะเบียนบริษัทที่ไหนได้บ้าง ก็จะมีผ่านการใช้บริการจากสำนักงานบัญชี รวดเร็ว ไม่ยาก แต่อาจจะต้องเสียเงินเพิ่มเยอะหน่อยเพราะมีคนดำเนินการให้ หรือจะไปยื่นขอจดเองที่เว็บ DBD e – Registration แบบออนไลน์และสุดท้ายก็นำเอกสารทั้งหมดเดินทางไปที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลย วันเดียวเสร็จ
บทสรุป
การจดทะเบียนบริษัทนั้นมีความยากง่ายในแบบของมัน มันอาจจะยากและดูวุ่นวายในตอนเตรียมเอกสาร แต่ถ้าเลือกจะทำบริษัทแล้วก็ต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในการทำงานด้วย เพราะระบบบริษัทมันต่างจากการทำงานด้วยตัวคนเดียวแน่นอน หากคุณอยากจะจดบริษัทบ้างก็วิเคราะห์และประเมินดูรายได้ งาน กำไร และอื่น ๆ ดูว่า เหมาะกับการจดทะเบียนในประเภทไหน จากนั้นก็ลงมือทำตามขั้นตอนกันได้เลย มันไม่ได้ยากขนาดนั้น หากใจคุณอยากจะทำและมีหลาย ๆ อย่างพร้อม การทำเป็นระบบบริษัทก็มีอะไรดี ๆ รออยู่ 📌Station Accout – เรารับจดทะเบียนบริษัทดีที่สุด™